View Full Version : Zen in the Art of Archery
เมื่อเช้าเพิ่งเอามาอ่านครับ :p
http://www.4shared.com/get/D17bUt46/Zen_in_the_Art_of_Archery.html
มีบทความที่พูดถึงหนังสือเล่มนี้ด้วย
http://www.thezensite.com/ZenEssays/CriticalZen/The_Myth_of_Zen_in_the_Art_of_Archery.pdf
ตาเกิ้น
27-12-11, 10:15 PM
ไม่เข้าใจ :confused:ของ ejom ครับ
ถ้าหมายถึงหนังสือละก้อ หนังสือเล่มนี้คือหนังสือที่ทำให้ผมอยากมายิงธนูครับ
ไม่เข้าใจ :confused:ของ ejom ครับ
ถ้าหมายถึงหนังสือละก้อ หนังสือเล่มนี้คือหนังสือที่ทำให้ผมอยากมายิงธนูครับ
ผม :confused: จริงๆเพราะอ่านหนังสือเล่มนี้ หลังจากที่เพื่อนในเว็ปบอร์ดพูดถึงหนังสือ
เล่มนี้ รวมถึงตาเกิ้นที่อ่านแล้วต้องไปหาคิวโดมาฝึกยิง ซึ่งต่อมาก็บอกว่ายิงธนูแบบใดก็เหมือนกัน
ผมดาวน์โหลดมาอ่าน แต่เนื่องว่าทักษะภาษาอังกฤษแย่ แม้จะเปิดพจนานุกรมช่วยอ่าน แต่ก็ไม่ใคร่
เข้าใจ ในหนังสือฯกล่าวว่าคิวโดไม่ใช่กีฬา แต่ธนูที่เรายิงเป็นกีฬา,คิวโดเล็งยิงโดยไม่เล็ง แต่ธนูที่เรายิง
เล็งเพื่อความแม่นยำโดยเลนส์แก้วแม้กระทั่งธนูไม่ติดศูนย์เล็งยังอาศัยสิ่งอี่นช่วยเพื่อความแม่นยำ ฯลฯ
อ่านแล้วไม่เข้าใจว่าฝึกธนูเพื่อเข้าถึงเซนหรือเข้าถึงเซนเพื่อผลในการยิงธนู เซนคือแขนงของพุทธ
ซึ่ง"น่าจะ"หวังผลการบรรลุทางจิตใจ :) หรือหากเรายิงธนูแบบ"เซนๆ" แล้วจะแข่งชนะเพื่อนได้บ้าง
ตาเกิ้นอ่านแล้ว,ดร.โอ้ทอ่านแล้ว กรุณาพากย์ไทยขยายเกร็ดให้กระผมได้รู้เรื่องบ้างจะเป็นพระคุณยิ่ง
ว่า Zen in the art of Archery มันเป็นคนละเรื่องเดียวกัน(หรือเปล่า)กับธนูที่เราฝึกยิงกันอยู่ทุกวันนี้ขอรับ อิอิ :D
ตาเกิ้น
28-12-11, 11:55 AM
ขอนั่งทำใจให้สงบสักนิดแล้วจะลองเรียบเรียงดูครับ
ตอนนี้ลองอ่านอันนี้ก่อนนะครับ
ธนูชีวิต (http://www.thailandoutdoor.com/ArcheryClub/ArcheryAndLife/archeryandlife.html)
ขอบคุณคุณโอ๊ตครับ หาหนังสือเล่มนี้มานานแล้ว
ลองอยู่ที่สงบ อย่างพี่งบว่า
บางครั้งเราคิด เรื่องสอนใจตนเองและแนวทางดำเนินชีวิต อย่างมีสติ
สิ่งที่อยู่รอบๆตัวเราสอนเราได้เสมอ
เช่นเรื่องของผม
คติข้างถนน
ร้านอาหาร.แดง ดำ เป็นร้านขายข้าวแกงที่นักดำน้ำชอบไปทานตอนเช้าก่อนไปดำน้ำเสมอ ผมทานร้านนี้มาเกือบ10ปีแล้ว
ป้ายร้าน.แดง ดำ เป็นที่มองดูหาทุกครั้งที่มาทาน
สองปีที่ผ่านมา เมื่อทานข้าวเสร็จ ระหว่างนั่งรอเพื่อนๆเขาห้องน้ำ สั่งกาแฟรอ
เมื่อมอง ป้ายร้านแดงดำอีกครั้งก็พบถึงความเขลาในตัวเองและยิ้มทันที
ตัวหนังสือดำสำหรับคำว่าแดง และ ตัวหนังสือสีแดงของคำว่าดำ
การมองโดยผ่านไม่ได้พิจารณาโดยละเอียด จึงมิได้เห็นความจริงดังกล่าว เหมือน มีอติมาบังใจทำให้ไม่ได้รับรู้เลย
เพื่อน เห็นความผิดปกติ คำว่าแดง ดำ ข้างบนในตอนแรกหรือเปล่าครับ
ผมชอบยกตัวอย่างเล่าเรื่องนี้สอนนักเรียน. ให้มีสติ คิดรอบครอบ อคติทำให้มองไม่เห็นความจริงเลย
เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาก็ยังได้ไปเยือนร้านนี้อีกครั้ง...
http://th.soidb.com/pattaya/restaurant/dang-dum.html
ขอนั่งทำใจให้สงบสักนิดแล้วจะลองเรียบเรียงดูครับ
ตอนนี้ลองอ่านอันนี้ก่อนนะครับ
ธนูชีวิต (http://www.thailandoutdoor.com/ArcheryClub/ArcheryAndLife/archeryandlife.html)
....เป้าธนูไม่แปรเปลี่ยน สายลมแสงแดดอาจเปลี่ยนแปลง แต่หากมิใช่สาระสำคัญ
สิ่งที่แปรเปลี่ยนนั้นหากเป็นใจคน ...:)...การมุ่งสู่สุดยอดการยิงธนูที่แท้จริงแล้วอาจเป็นเรื่องเดียวกับการแสวงหาความสุขสงบของชีวิต...
ตาเกิ้น
1 ตุลาคม 2550 ..............ไม่ต้องบอกก็คงจะรู้กันนะครับว่า..ผมชอบมาก..
Drunken_Writer
28-12-11, 02:22 PM
ขอนั่งทำใจให้สงบสักนิดแล้วจะลองเรียบเรียงดูครับ
ตอนนี้ลองอ่านอันนี้ก่อนนะครับ
ธนูชีวิต (http://www.thailandoutdoor.com/ArcheryClub/ArcheryAndLife/archeryandlife.html)
โคตรชอบบทความนี้เลยครับพี่
ขอนั่งทำใจให้สงบสักนิดแล้วจะลองเรียบเรียงดูครับ
ตอนนี้ลองอ่านอันนี้ก่อนนะครับ
ธนูชีวิต (http://www.thailandoutdoor.com/ArcheryClub/ArcheryAndLife/archeryandlife.html)
รอครับ :)
ส่วนธนูชีวิตอ่านแล้ว แต่อ่านอีก หรืออ่านบ่อยๆก็ดีครับ :cool:
:bullseye:
:2TU: ไล้ค์ แดงดำ ด้วยขอรับ
เกี่ยวอย่างยิ่งครับ ถ้าใจว่างยิงได้ดีแน่นอน ผมยังทำไม่ได้ยิ่งนานไปยิ่งทำไม่ได้ อย่างที่พี่เต็มกะพี่งบพูดถูกแน่นอน ต้องมีเวลายิงคนเดียวเงียบๆ ดูใจตัวเอง ถ้าเคยนั่งสมาธิจะเข้าใจเลยครับ นั่งดูความคิดตัวเอง อารมณ์มันเหมือนตอนยิงธนู ใจตรงธนูก็ตรง ตอนนี้ผมเอาแค่เล็งให้อยู่อย่างเดียวก็พอแล้ว
ป.ล.เชียงใหม่ไม่ค่อยหนาวเลยครับ
ลองอยู่ที่สงบ อย่างพี่งบว่า
บางครั้งเราคิด เรื่องสอนใจตนเองและแนวทางดำเนินชีวิต อย่างมีสติ
สิ่งที่อยู่รอบๆตัวเราสอนเราได้เสมอ
เช่นเรื่องของผม
คติข้างถนน
ร้านอาหาร.แดง ดำ เป็นร้านขายข้าวแกงที่นักดำน้ำชอบไปทานตอนเช้าก่อนไปดำน้ำเสมอ ผมทานร้านนี้มาเกือบ10ปีแล้ว
ป้ายร้าน.แดง ดำ เป็นที่มองดูหาทุกครั้งที่มาทาน
สองปีที่ผ่านมา เมื่อทานข้าวเสร็จ ระหว่างนั่งรอเพื่อนๆเขาห้องน้ำ สั่งกาแฟรอ
เมื่อมอง ป้ายร้านแดงดำอีกครั้งก็พบถึงความเขลาในตัวเองและยิ้มทันที
ตัวหนังสือดำสำหรับคำว่าแดง และ ตัวหนังสือสีแดงของคำว่าดำ
การมองโดยผ่านไม่ได้พิจารณาโดยละเอียด จึงมิได้เห็นความจริงดังกล่าว เหมือน มีอติมาบังใจทำให้ไม่ได้รับรู้เลย
เพื่อน เห็นความผิดปกติ คำว่าแดง ดำ ข้างบนในตอนแรกหรือเปล่าครับ
ผมชอบยกตัวอย่างเล่าเรื่องนี้สอนนักเรียน. ให้มีสติ คิดรอบครอบ อคติทำให้มองไม่เห็นความจริงเลย
เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาก็ยังได้ไปเยือนร้านนี้อีกครั้ง...
http://th.soidb.com/pattaya/restaurant/dang-dum.html
คิดอย่างเซ็นอาจเป็นเช่นนั้น
แต่สำหรับแนวคิดลัทธิเต๋า
แดง ดำ อาจหมายถึง ในดำมีแดง และในแดงมีดำ
เหมือนอย่างสัญลักษณ์หยินหยาง หรือเปล่าครับพี่
แต่สำหรับพุทธศาสนา
มีแนวคิดเรื่อง "สมมติสัจจะ" กล่าวคือ
สมมติเรียก แดง ว่า "แดง" และสมมติเรียก ดำ ว่า "ดำ"
แต่หากว่าเราสมมติเรียก แดง ว่า "ดำ" และสมมติเรียก ดำ ว่า "แดง"
การเขียนเช่นนั้นก็จะไม่ผิดแปลกครับ
ตาเกิ้น
13-01-12, 06:47 PM
การเข้าถึงปรัชญาเซนไม่สามารถเข้าถึงได้โดยการพร่ำสอน, ศึกษา หรือ แม้แต่การวิเคราะห์วิจารย์ด้วยความฉลาดปราชเปรื่อง คิวโดและ ศิลป์เซนอื่นๆเป็นเหมือนพาหนะที่ช่วยให้ผู้ที่ฝึกฝนเข้าถึงและได้สัมผัสแก่นที่ลึกซึ่งของเซนได้โดยการฝึกรางกายและจิตใจไปพร้อมๆกัน
การฝึกคิวโดในสถาบันที่จริงจัง เริ่มจากการฝึกท่าทางที่ถูกต้อง ผู้ฝึกจะต้องดึงธนูนับร้อย, นับพัน หรืออาจจะเป็นหมื่นครั้ง โดยไม่ได้ยิงลูกธนูออกไป การตั้งใจกับการใจฝึกฝนและดึงธนูซ้ำๆนอกจากจะสร้างความจำในกล้ามเนื้อยังทำให้จิตใจนิ่งสงบเช่นเดียวกับการนั่งสมาธิ
คิวโดเซนเซ (มาสเตอร์) นอกจากจะสอนวิธีการยิงธนู จับตามองท่าทางการยิงในทุกรายละเอียด (ลองอ่านตอนที่ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้พยายาม release ลูกธนู แต่ถูกจับได้ เรื่องนี้ผมเจอประสบการณ์จริงที่คล้ายกันเลยครับ) และยังมองลึกเข้าไปถึงจิตใจของผู้ฝึก และไม่ยอมให้นักเรีนยไปยังขั้นต่อไปจนกว่าจะพร้อมทั้งร่างกาย, เทคนิคและจิตใจ ผู้ฝึกบางคนอาจจะต้องน้าวสายธนูอยู่หลายเดือนหรืออาจเป็นปีกว่าจะได้ปล่อยธนูลูกแรก
เมื่อถึงฝึกถึงขั้นที่ได้ปล่อยลูกธนู ฟอร์มการยิงจะถูกฝังเข้าไปเป็นความจำของกล้ามเนื้อ จิตใจที่จดจ่อกับขั้นตอนการยิงมาเป็นพันเป็นหมื่นครั้งที่ไม่ใช่ผลการยิง ก็จะเริ่มใส่กระจ่างนิ่งสงบเหมือนได้สวดมนต์นั่งสมาธิ
ในที่สุดการยิงธนูจะเกิดขึ้นในสภาวะที่สงบนิ่งราวกับผิวน้ำเรียบปราศจากคลื่น ความคิดว่างเปล่าราวกับสูญญากาศ
บางคนอ่านแล้วอาจจะคิดว่าผมเพ้อเจ้อ แต่หากคุณได้ได้จริงจังตั้งสมาธิกับการยิงธนู คุณอาจจะได้สัมผัสความสงบนิ่งว่างเปล่านั้นในบางวูบของความคิด และน่าแปลกใจที่ว่าลูกธนูลูกนั้นวิ่งเข้าไปสู่กลางเป้าเองราวกับมีชีวิต
กับคำถามที่ว่าปรัชญาเซนใช้ได้กับการฝึกธนูแบบอื่นหรือไม่ อ่านแล้วคิดว่าอย่างไงล่ะครับ
การเข้าถึงปรัชญาเซนไม่สามารถเข้าถึงได้โดยการพร่ำสอน, ศึกษา หรือ แม้แต่การวิเคราะห์วิจารย์ด้วยความฉลาดปราชเปรื่อง คิวโดและ ศิลป์เซนอื่นๆเป็นเหมือนพาหนะที่ช่วยให้ผู้ที่ฝึกฝนเข้าถึงและได้สัมผัสแก่นที่ลึกซึ่งของเซนได้โดยการฝึกรางกายและจิตใจไปพร้อมๆกัน
"การเข้าถึงปรัชญาเซนไม่สามารถเข้าถึงได้โดยการพร่ำสอน, ศึกษา หรือ แม้แต่การวิเคราะห์วิจารย์ด้วยความฉลาดปราชเปรื่อง"
ประโยคนี้ผมเห็นด้วยครับ เท่าที่เคยศึกษามามีหลายตำรา และหลายผู้รู้ยืนยันตามนั้นจริงๆ
"คิวโดและ ศิลป์เซนอื่นๆเป็นเหมือนพาหนะที่ช่วยให้ผู้ที่ฝึกฝนเข้าถึงและได้สัมผัสแก่นที่ลึกซึ่งของเซนได้โดยการฝึกรางกายและจิตใจไปพร้อมๆ กัน"
ประโยคนี้มีความขัดแย้งกับประโยคแรก ... "การเข้าถึงปรัชญาเซนไม่สามารถเข้าถึงได้โดยการพร่ำสอน, ศึกษา หรือ แม้แต่การวิเคราะห์วิจารย์ด้วยความฉลาดปราชเปรื่อง" มีที่มาจากความเชื่อตามหลักปรัชญาเซนที่สอนกันต่อๆ มาว่า สมาธิสามารถเกิดเองได้ทุกอิริยาบถอยู่แล้ว เป็นธรรมชาติของมนุษย์อยู่แล้ว สมาธิจึงไม่จำเป็นต้องสอน ยิ่งสอนยิ่งได้น้อย, ยิ่งสอนยิ่งคับแคบ ... ยิ่งจำกัด เซนจึงไม่เน้นไปที่รูปแบบของการทำให้เกิดสมาธิ (คือไม่เน้นการสอนว่าต้องทำอะไร ต้องทำอย่างไรจึงจะเกิดสมาธิ) แต่จะเปิดกว้างให้รับรู้, เรียนรู้เองตามธรรมชาติโดยไม่มีขอบเขตจำกัด
สรุปว่า ประโยคที่สองนี้เป็นความรู้สึกส่วนตัวของผมเองนะครับ ที่รู้สึกว่าไม่ค่อยจะเซนสักเท่าไหร่
การฝึกคิวโดในสถาบันที่จริงจัง เริ่มจากการฝึกท่าทางที่ถูกต้อง ผู้ฝึกจะต้องดึงธนูนับร้อย, นับพัน หรืออาจจะเป็นหมื่นครั้ง โดยไม่ได้ยิงลูกธนูออกไป การตั้งใจกับการใจฝึกฝนและดึงธนูซ้ำๆนอกจากจะสร้างความจำในกล้ามเนื้อยังทำให้จิตใจนิ่งสงบเช่นเดียวกับการนั่งสมาธิ
คิวโดเซนเซ (มาสเตอร์) นอกจากจะสอนวิธีการยิงธนู จับตามองท่าทางการยิงในทุกรายละเอียด (ลองอ่านตอนที่ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้พยายาม release ลูกธนู แต่ถูกจับได้ เรื่องนี้ผมเจอประสบการณ์จริงที่คล้ายกันเลยครับ) และยังมองลึกเข้าไปถึงจิตใจของผู้ฝึก และไม่ยอมให้นักเรีนยไปยังขั้นต่อไปจนกว่าจะพร้อมทั้งร่างกาย, เทคนิคและจิตใจ ผู้ฝึกบางคนอาจจะต้องน้าวสายธนูอยู่หลายเดือนหรืออาจเป็นปีกว่าจะได้ปล่อยธนูลูกแรก
เมื่อถึงฝึกถึงขั้นที่ได้ปล่อยลูกธนู ฟอร์มการยิงจะถูกฝังเข้าไปเป็นความจำของกล้ามเนื้อ จิตใจที่จดจ่อกับขั้นตอนการยิงมาเป็นพันเป็นหมื่นครั้งที่ไม่ใช่ผลการยิง ก็จะเริ่มใส่กระจ่างนิ่งสงบเหมือนได้สวดมนต์นั่งสมาธิ
ในที่สุดการยิงธนูจะเกิดขึ้นในสภาวะที่สงบนิ่งราวกับผิวน้ำเรียบปราศจากคลื่น ความคิดว่างเปล่าราวกับสูญญากาศ
บางคนอ่านแล้วอาจจะคิดว่าผมเพ้อเจ้อ แต่หากคุณได้ได้จริงจังตั้งสมาธิกับการยิงธนู คุณอาจจะได้สัมผัสความสงบนิ่งว่างเปล่านั้นในบางวูบของความคิด และน่าแปลกใจที่ว่าลูกธนูลูกนั้นวิ่งเข้าไปสู่กลางเป้าเองราวกับมีชีวิต
เคยตั้งใจดูตาเกิ้นซ้อมยิงธนูหลายครั้ง ในหลายช่วงเวลาและโอกาส แอบจำเอาเทคนิคการยิงไปใช้หลายอย่าง ผมเชื่อว่าในช่วงเวลานั้น สมาธิและความสงบนิ่งได้เกิดขึ้นแล้วในตัวของตาเกิ้นจริงๆ
กับคำถามที่ว่าปรัชญาเซนใช้ได้กับการฝึกธนูแบบอื่นหรือไม่ อ่านแล้วคิดว่าอย่างไงล่ะครับ
ตอบคำถามของตาเกิ้นว่าผมคิดอย่างไร ... ผมเชื่อในเรื่องการฝึกทำซ้ำจนถึงขั้นเกิด Muscle Memory ว่านำมาใช้แล้วได้ผลจริงกับการยิงธนูและกีฬาประเภทอื่นๆ ช่วงเวลาที่มีสมาธิและความสงบนิ่งเกิดขึ้นกับตัวเองบ่อยๆ แต่ยังไม่เคยถึงขั้นปล่อยให้ตัวเองเกิดความคิดว่างเปล่าในขณะที่ยิงครับ
สรุปว่า ความรู้สึกส่วนตัวของผมเอง (อีกนั่นแหละ) ที่รู้สึกว่าวัตถุประสงค์ของการยิงธนูแบบคิวโดต่างไปจากการยิงธนูประเภทอื่น จึงน่าจะรับเอามาใช้ได้เพียงบางส่วนเท่านั้น
ตาเกิ้น
13-01-12, 10:15 PM
ผมไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญเรื่องเซนหรอกครับ หนังสือเซนก็ไม่เคยอ่านแม้แต่เล่มเดียว เวลาที่ได้สัมผัสได้เรียนคิวโดก็เพียง 4 วัน หากแต่ถ่ายทอดสู่กันฟังถึงเนื้อหาในหนังสือเล่มนี้ตามความเข้าใจครับ
ผู้เขียนชึ่งเป็นชาวต่างชาติ (เยอรมัน) เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยในญี่ปุ่น ต้องการจะศึกษาปรัญชาเซน แต่เพื่อนชาวญี่ปุ่นแนะนำให้เขาเลือกที่จะฝึกฝนศิลปเซนแขนงใดแขนงหนึ่งเพื่อจะเข้าใจเซน สาเหตุหนึ่งก็เป็นเพราะพื้นฐานความคิดที่แตกต่างอย่างสิ้นเชิง
ผมไม่คิดว่าการใช้ศิลปเป็นพาหนะจะขัดแย้งกับความที่ว่าปรัชญาเซนไม่สามารถเข้าถึงได้โดยการพร่ำสอนศึกษานะครับ เพราะในทางเดียวกันในศาสนาพุทธ ก็ไม่สามารถบรรลุได้โดยการอ่านทำความเข้าใจพระธรรมคำสอน แต่หากแต่ละบุคคลต้องปฏิบัติด้วยตัวเองไปทีละขั้น ไม่ใช่ทุกคนจะรับรู้ได้เองเห็นได้เอง ศิลปของเซนจึงเป็นเหมือนอุบายช่วยให้คนเดินทางเข้าไปจุดที่ใกล้ขึ้น
เขียนไปก็คงไม่ถูกนักแถมอายตัวเองอีก เพราะผมไม่ใช่คนที่ศึกษาหรือเคร่งศาสนาแต่อย่างใดเลย
แลกเปลี่ยนความคิดกันนะครับพี่ ;)
ตาเกิ้นมีเวลาที่ได้สัมผัส - ได้เรียนคิวโดมา 4 วัน ก็ยังนับได้ว่ามากกว่าผมอยู่ 4 วันล่ะครับ
Kyudo จากประสบการณ์ของผมในตอนนี้เป็นเพียงประสบการณ์จากการดูคลิ๊ปใน YouTube ยังคงมองเห็นแต่ในแง่ของศิลปที่สวยงามแขนงหนึ่ง และเทคนิคการยิงบางส่วนที่จำเอามาใช้เท่านั้น ส่วนเรื่องแนวความคิดในเชิงปรัชญายังเข้าไม่ถึงครับ เนื่องจากยังไม่มีแรงบันดาลใจให้ศึกษาอย่างจริงจัง และมีความแตกต่างกันหลายอย่างในเรื่องวัตถุประสงค์ในการยิงธนู
แต่ถ้ามันมีโอกาสที่จะได้เรียนรู้ โอกาสมันก็จะผ่านมาให้เห็นเอง เหมือนเมื่อวันที่ย้อนกลับไปสักครึ่งปีกว่าๆ ในตอนที่เห็นท่าใช้ฝ่ามือดันเสาของตาเกิ้น ตั้งแต่นั้นความสนใจของผมเลยติดพันอยู่กับหนังสือ Shooting the Stickbow และ Precision Archery
โอกาสหน้าจะหาเวลาไปสนามเพื่อขอความรู้เพิ่มเติม และคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันครับ
ตาเกิ้น
13-01-12, 11:36 PM
ไปเชียงใหม่คราวหน้่จะเอาหนังสือคิวโดขึ้นไปฝากพี่ครับ ถ้าได้ขับรถขึ้นไปจะเอาคันยูมิไปยิงด้วยกันครับ;)
ลึกซึ้งๆ จอมยุทธทั้งสอง :)
วิชาเกาทัณฑ์ของลูกเต่าน้อยยังห่างไกลจากที่ท่านทั้งสองกล่าวถึงยิ่งนัก
ปล.เคยฟังมา..จากพระรูปหนึ่งว่า จิตใจเป็นคนละสิ่งกับความคิด
และรับรู้สิ่งต่างๆได้ทีละอย่าง ทำงานลักษณะมัลติทาสกิ้ง เพียง
แต่เร็วกว่าคล้อคสปีดของคอมพิวเตอร์มากหลายเท่า น่าจะเร็วกว่าแสงด้วย
จึงเหมือนกับเรารู้สิ่งต่างๆพร้อมๆกันได้
ดังนั้นบางครั้งจิตใจจะรับรู้การเคลื่อนไหวของร่างกาย(เช่นรู้การเดิน
ในการเดินสมาธิจงกรมหรือรับรู้ลมหายใจเข้าออกในการนั่งสมาธิ)โดย
ปราศจากความคิดย่อมเกิดขึ้นได้ จากความพยายามจดจ่อในสิ่งๆนั้นในทางตรงข้ามจิตใจอาจรับรู้ไปกับความคิดเลื่อนลอยไปกับฝันกลางวัน
จนไม่รับรู้สิ่งที่ร่างกายกำลังทำอยู่(เช่นเดินใจลอยไปชนเสา หรือแม้กระทั่งขับรถเลยบ้าน :) )
ผมเข้าใจว่าเซนเป็นนิกายหนึ่งของศาสนาพุทธ น่าจะมีแนวคิดนี้เช่นกัน
ดังนั้นสภาวะที่พรานเกิ้นพูดถึงก็เกิดขึ้นได้ อาจมีนักกีฬายิงธนูหลายท่าน
ใช้สภาวะนี้ทิ้งความกดดันในการแข่งขันได้ โดยปล่อยให้ศักยภาพทางกายทำงานไป
ปล.2 ขอกลับไปอ่านธนูชีวิตอีกรอบนะขอรับ
ท่านพี่ๆทั้งสอง คุยกันได้น่าสนใจและน่าติดตามมากครับ
ถ้าจะคุยกันเพิ่มเติมจากนี้ จะเป็นประโยชน์มากเลยทีเดียวครับ:2TU:
ตาเกิ้น
26-01-12, 07:39 AM
มีอีกคำหนึ่งซึ่งน่าสนใจมากและถูกเอ่ยถึงในหนังสือเล่มนี้ คือคำว่า "purposeless"
เมื่อผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ฝึกยิงธนูมานานนับปีและถึงขั้นให้ปล่อยลูกเข้าสู่เป้าแล้ว ฝึกมาเรื่อยๆอีกเป็นเวลานานมากจนหมดความอดทน วันหนึ่งจึงเข้าไปพบอาจารย์ด้วยอารมณ์โกรธ
"ทำไมถึงไม่มีการสอนให้เล็งยิง ถ้าหากให้ผมยิงเรื่อยเปื่อยเช่นนี้และหวังว่าจะให้ยิงโดนเป้าได้ ก็แสดงว่าปิดตาก็ต้องยิงได้ซิครับ" (ผมจำคำพูดจริงๆไม่ได้แต่อันนี้แต่งเอาเองครับ;))
อาจารย์ไม่พูดอะไรมาก เพียงแต่บอกว่าให้มาเจอกันหลังเลิกเรียนตอนค่ำๆ
ในตอนค่ำนั้น อาจารย์จุดเทียนเล่มหนึ่งให้ผู้เขียนเอาไปตั้งที่สุดสนาม (สนามธนู Kyudo ยาวประมาณ 30 เมตร) มองเห็นริบหรี่ อาจารย์ยิงธนูออกไปหนึ่งลูก แสงเทียนนั้นดับวูบไปทำให้สนามมืดสนิท อาจารย์จึงยิงธนูออกไปอีกหนึ่งลูก แล้วให้ผู้เขียนออกไปเก็บลูกธนูมา
ลูกธนูลูกที่สองนั้นเสียบลูกแรกอยู่แบบ robinhood shot
ก็เลยหายสงสัยกันไป
อ่านดูแล้วหลายคนอาจจะรู้สึกว่าเหลือเชื่อ แต่ผมว่าเป็นไปได้มาก จากที่ผมได้รับการบอกเล่า การฝึกฝน Kyudo นั้นแยกออกไปเป็นสองสาย สายหนึ่งสอนเทคนิคการยิง ไม่ต่างกับการยิงธนูประภทอื่นๆมากนัก มีการสอนเล็งการปล่อยการยิง แต่อีกสายหนึ่งเน้นการยิง Kyudo เพื่อการทำสมาธิ ทำใจให้ว่าง purposeless แล้วยิงโดยไม่มุ่งหวัง ซึ่งถ้าเทียบกับทฤษฏีการยิงธนูสมัยใหม่แล้วเรื่องนี้เป็นไปได้จากการทำใจให้ว่างแล้วปล่อยให้จิตใต้สำนึกทำการยิงแทน
คิดว่ายังไงกันครับ Purposeless
ยังไม่ได้คิดอะไร... :)
แต่ตาเกิ้นสะกดคำผิดนะขอรับ
มีอีกคำหนึ่งซึ่งน่าสนใจมากและถูกเอ่ยถึงในหนังสือเล่มนี้ คือคำว่า "purposeless"
คิดว่ายังไงกันครับ Purposeless
นานมากแล้วตอนที่เริ่มหัดยิงปืน ได้รับคำบอกเล่ามาว่า "ให้ค่อยๆ ลากไกเข้ามาหาตัวจนกระทั่งกระสุนลั่นออกไปโดยไม่รู้ตัว" ก็เริ่มฝึกกันในแนวทางนั้นมาเรื่อย แต่ในเวลานั้นยังคงไม่เข้าใจความหมายที่แท้จริงของการค่อยๆ ลากไกปืนฯ และมีคำถามที่ติดอยู่ในใจตลอดเวลาว่า การเล็งกับการลั่นไก แยกการฝึกออกจากกันได้อย่างเด็ดขาดจริงหรือ, จะทำอย่างไรให้กระสุนลั่นออกไปได้ในจังหวะที่ศูนย์ทาบอยู่บนเป้า ... อะไรทำนองนั้น
แล้วเกมส์การแข่งขัน IPSC ก็มาถึงเมืองไทย เกมส์นี้เน้นที่การยิงแบบต่อเนื่อง ความแม่นยำและเวลาที่ใช้ในการยิง กับเกมส์ประเภทนี้การที่จะค่อยๆ ลากไกใช้ไม่ได้ผล ก็ได้รับคำบอกเล่ามาว่าให้ฝึก Muscle Memory ฝึกไปเรื่อยๆ จนกระทั่งสัมผัสได้กับ Sweet Spot บนเป้า
หลังจากการฝึก Muscle Memory ผลการยิงดีขึ้นเรื่อยๆ แต่ก็มีหลายช่วงเวลาที่ในใจรู้สึกว่า "ยังขาดอะไรไปบางอย่าง" เหมือนกับว่าเดินมาถูกทางแล้วแต่ยังคงหาวิธีที่จะพาตัวเองไปให้ถึงจุดหมายปลายทางไม่ได้
ตอนนี้เลิกแข่ง IPSC แล้วครับ หันมาฝึกยิงธนูแทนการยิงปืน ช่วง 1 ปีที่ฝึกยิงธนู นอกจากรู้สึกชอบกีฬาประเภทนี้แล้ว ได้คำศัพท์เพิ่มเข้ามาให้เกิดความอยากที่จะค้นหาอยู่เรื่อยๆ อย่างเช่น Back Tension, Surprise Release ฯลฯ เช้าวันนี้ได้คำว่า Purposeless จากตาเกิ้นมาช่วยเพิ่มความสงสัยอีกคำหนึ่ง
Purposeless ... ในความหมายของ Eugene Herrigel ที่เขียนเอาไว้ในหนังสือเรื่อง Zen in the Art of Archery ผมยังไม่กล้าพูดอย่างเต็มปากเต็มคำว่าผมเข้าใจ
Purposeless ... Surprise Release ... Sweet Spot ... ผลไม้สุกปลิดจากขั้วเมื่อถึงเวลา ......
คำเหล่านี้จะมีความหมายเหมือนกันไม๊ มีความแตกต่างกันยังไง ช่วงบ่ายๆ พอมีเวลาว่างพอมีเวลาว่างอยู่บ้าง จะหยิบคันธนูออกไปที่สนามหลังบ้านเพื่อค้นหา
ในความคิดของผมขณะที่กำลังพิมพ์ข้อความนี้ บางที่ ... บางทีนะ ...ที่สุดแล้ว Purposeless อาจจะเป็นอะไรที่คล้ายกับบางสิ่ง หรือบางเรื่องราวที่เราทำอยู่แล้วเป็นกิจวัตรประจำวัน ทำอยู่แล้วแล้วโดยธรรมชาติ เพียงแต่เราละเลยไม่ได้ให้ความสนใจกับมัน เช่น การกระพริบตา ระบบป้องกันอย่างหนึ่งของร่างกายที่มีไว้เพื่อป้องกันดวงตาของเราจากการระคายเคือง ซึ่งเราไม่จำเป็นต้องตั้งใจที่จะทำ
ตาเกิ้น
26-01-12, 11:53 AM
Purposeless ผมก็ไม่แน่ใจนักว่าผมจะเข้าใจอย่างถ่องแท้ครับ (สะกดก็ยังผิดเป็นบางครั้ง)
แต่การยิงธนู Compound ผมฝึกยิงให้การน้าวสายเข้า Anchor ไปจนถึงการลั่นไกให้เป็นอัตโนมัติ การเล็งเป็นเพียงการมองไปที่เป้าไม่ได้เพ่งไม่พยายามควบคุมศูนย์ให้ตรงนิ่งแล้วลั่นไก ไม่มุ่งหวัง ทำใจให้ว่าง ปล่อยให้ลูกธนูลั่นไปเอง
แต่ยังไม่ได้ทุกครั้งนะครับ
ธนูเป็นกีฬาที่แปลก หากอยากเป็นอยากได้ จะยิงไม่ได้ดีครับ
ตามอ่านกระทู้นี้มาตลอด แต่ไม่ได้โพสอะไรครับ เพราะคิดว่าตนยังห่างจากเซน / พุทธ / และธนู มากนักครับ
พยายามอ่านหนังสือเล่มนี้มาหลายหนแล้ว ทั้งเวอร์ชั่นกระดาษ และตอนหลังบนไอแพรด.. แต่ก็ไม่เคยอ่านจบครับ อาจจะอย่างที่ตาเกิ้นบอก (สำหรับผม) หนังสือเซนเป็นหนังสือที่แปลก หากอยากอ่านให้จบ จะอ่านไม่ได้ครับ
เรื่อง Purposeless อ่านแล้วทำให้นึกถึงตำนานของพระอานนท์ครับ ว่าหลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพานแล้ว พระอานนท์ทรงเพียรเป็นอย่างหนัก เพื่อจะให้เป็นพระอรหันต์ก่อนงานสังคายนา เพียรฝึกตนอย่างไรก็ไม่สำเร็จ เมื่อจนหมดความตั้งใจและล้มตัวลงนอน ท่านก็กลายเป็นพระอรหันต์ครับ (คนที่สอนผมบอกว่า ถ้าท่านอยากเป็นพระอรหันต์ ท่านย่อมไม่ใช่พระอรหันต์)
State of Being is Purposeless ...
ได้ข้อคิดเยอะมากขอรับ
พี่Prai พูดถึง การกระทำที่เป็นไปโดยธรรมชาติ
พี่ตาพรานเกิ้นพูดถึง ฝึก, อัตโนมัติ, มอง, ไม่เพ่ง, ไม่ควบคุม, ไม่มุ่งหวัง, ใจว่าง
พี่หนูเล พูดถึง หมดความตั้งใจ(อยาก) จึงเป็นอรหันต์, เพียรอย่างหนัก(แสดงว่าพระอานนท์
ท่านซ้อมมาจนเข้าใส้แล้ว พอ เพอโพสเลส ปั๊บก็ปั๋งหงายโป้ง เข้าเอ็กเลย) :p
ส่วนตอนนี้กระผม ยังไม่ได้ฝึกซ้อมและแถมยังเพอโพสฟูล ขอรับ :D
Thaiwizkid
06-11-14, 11:23 AM
Kyudo - Every Saturday morning at Hua Mark
https://www.youtube.com/watch?v=KO5PZ4HRO0U
quixote
07-11-14, 08:39 AM
เลยไปหา Load มาอ่านอยู่
Powered by vBulletin® Version 4.2.3 Copyright © 2025 vBulletin Solutions, Inc. All rights reserved.