pronthep
16-03-12, 10:05 AM
วันนี้ขอภูมิใจนำเสนอ มีดช่างพื้นบ้านไทย รูปแบบร่วมสมัย มีดใบตาย แววฟิชชิ่ง เชิญชมกันครับ
http://i1241.photobucket.com/albums/gg509/pronthep_t/Blade/01-2.jpg
มาพร้อมกับฝักไม้ลายสวยงาม รัดให้แข็งแรงด้วย เส้นหวายถัก งานประณีต ซ่อนปลายเส้นหวายได้ดี หาไม่เจอเลย
http://i1241.photobucket.com/albums/gg509/pronthep_t/Blade/02-2.jpg
ลายของฝักทั้งสองฝั่งไม่เหมือนกัน คลาสสิกไปอีกแบบ เจาะรูระบายอากาศไว้ที่ปลายฝักด้วย ลดความชื้นภายในที่อาจจะเกิดขึ้นได้
http://i1241.photobucket.com/albums/gg509/pronthep_t/Blade/03-2.jpg
เหล็กที่ใช้ทำใบมีด : spring steel
ใบมีดหน้ากว้าง : 1.25 นิ้ว
ใบมีดยาว : 6.5 นิ้ว
ปลอกรัดด้าม : Stanless Steel
ด้ามจับ : เหง้าไผ่
http://i1241.photobucket.com/albums/gg509/pronthep_t/Blade/04-2.jpg
ผมชอบเล่มนี้เพราะ มันเป็นการผสมผสานของคนสองเจนเนอเรชั่น คนทำ เป็นช่างมีดพื้นบ้าน มีฝีมือ และทักษะในการทำมีดที่ดี
คนออกแบบ ไม่ยึดติดกับงานช่างไทยเก่า โดยดีไซด์รูปแบบออกมาให้ดูร่วมสมัยมากยิ่งขึ้น แปลกตาไปกว่าเดิม แต่เมื่อนำมารวมกัน
ก็ออกมาเป็นมีดเล่มนี้ ที่ดูทันสมัย แต่แฝงไว้ด้วยความเป็นไทย ลงตัวอย่างไม่น่าเชื่อ สวยครับ ติดอยู่นิดนึง โลโก้คำว่า แวว
น่าจะเปลี่ยน รูปแบบตัวอักษร หน่อยน่าจะดีนะครับ
http://i1241.photobucket.com/albums/gg509/pronthep_t/Blade/05-2.jpg
ใบมีดไม่หนามาก เพราะถูกออกแบบมาให้แล่เนื้อ เถือหนัง แต่ปาดใบได้สวยมากครับ เท่ากันเลยทั้งสองฝั่ง
http://i1241.photobucket.com/albums/gg509/pronthep_t/Blade/06-2.jpg
ทำผิวมีดมาแบบซาติน แต่เป็นแนวยาวตามใบมีด มีชื่อเรียกเฉพาะหรือเปล่า อันนี้ผมไม่ทราบ แต่สวยแปลกตาดี
http://i1241.photobucket.com/albums/gg509/pronthep_t/Blade/07-2.jpg
มีดเข้าด้ามมาแบบ Hidden Tang ยึดหมุดหนึ่งตัว ด้ามจับใช้หง้าวไผ่ โค้งๆ ลายสวยๆมาทำ ได้ใจมากครับ
ข้อมูลว่า เหง้าไผ่ที่โค้งๆกำลังดีแบบนี้ หายากมาก ต้องชื่นชมในการหาวัสดุหล่ะครับ
http://i1241.photobucket.com/albums/gg509/pronthep_t/Blade/08-2.jpg
ขัดผิวเป็นแนวยาวตามใบมีด สะท้อนแสงแล้วสวยงามดีครับ ข้อมูล spring steel เบื้องต้นครับ
spring steel เป็นเหล็กอัลลอยต่ำ แปลว่าต้านทานสนิมได้น้อย มีทั้งแบบ คาร์บอนปานกลาง หรือ คาร์บอนสูง
แต่มี yield strength สูง คำว่า yield strength หรือ yield point เป็นจุดที่กำหนดไว้ในงานวิศวกรรม และวัสดุศาสตร์
คือ เมื่อมีแรงมากระทำต่อวัสดุ เกิดเป็นความเครียดที่ทำให้ วัสดุเริ่มบิดเบี้ยว yield point คือ การกำหนดจุดสูงสุดที่ทำให้เหล็ก ยังสามารถคืนสภาพเดิมได้
กล่าวคือ เมื่อมีแรงมากระทำต่อวัสดุดังกล่าว เกินจุด yield point แล้ว วัสดุชิ้นนั้นจะไม่กลับคืนรูปทรงเดิมได้อีกแบบถาวร
http://i1241.photobucket.com/albums/gg509/pronthep_t/Blade/09-1.jpg
spring steel มีหลายตัว ผมเดาว่าคงเป็น 1095 ละกันนะครับ ข้อมูลส่วนประกอปของเหล็ก 1095 ประกอปด้วย
มี คาร์บอน ประมาณ 0.90-1.03%
มี แมงกานีส ประมาณ 0.30-0.50%
มี ฟอสฟอรัสได้สูงสุด 0.040%
มี ซัลเฟอ ได้สูงสุด 0.050%
มีค่า Yield strength 60–75 ksi
ค่าความแข็งเฉลี่ยที่ประมาณ 48–51 HRC
ค่าความแข็งสูงสุดที่เหล็กตัวนี้ทำได้ 59 HRC
ชื่อเรียกเหล็กชนิดนี้โดยทั่วไป เรียกว่า Blue spring steel
http://i1241.photobucket.com/albums/gg509/pronthep_t/Blade/10-1.jpg
ดีไซด์โค้งเว้า ถูกใจผมเหลือเกิน อ้อ อีกเรื่อง ปลอก Stanless ที่นำไปเผาไฟหน่ะครับ ผมว่ามันคงทำให้สถานะของ Stanless เปลี่ยนไป
เพราะมันขึ้นสนิมผิวง่ายเหลือเกิน แต่ก็ไม่มีปัญหาครับ ใบมีด อบชุบมาดี สนิมยังไม่ขึ้นเลย เล่มหน้า Spyderco Karambit ครับ :)
http://i1241.photobucket.com/albums/gg509/pronthep_t/Blade/01-2.jpg
มาพร้อมกับฝักไม้ลายสวยงาม รัดให้แข็งแรงด้วย เส้นหวายถัก งานประณีต ซ่อนปลายเส้นหวายได้ดี หาไม่เจอเลย
http://i1241.photobucket.com/albums/gg509/pronthep_t/Blade/02-2.jpg
ลายของฝักทั้งสองฝั่งไม่เหมือนกัน คลาสสิกไปอีกแบบ เจาะรูระบายอากาศไว้ที่ปลายฝักด้วย ลดความชื้นภายในที่อาจจะเกิดขึ้นได้
http://i1241.photobucket.com/albums/gg509/pronthep_t/Blade/03-2.jpg
เหล็กที่ใช้ทำใบมีด : spring steel
ใบมีดหน้ากว้าง : 1.25 นิ้ว
ใบมีดยาว : 6.5 นิ้ว
ปลอกรัดด้าม : Stanless Steel
ด้ามจับ : เหง้าไผ่
http://i1241.photobucket.com/albums/gg509/pronthep_t/Blade/04-2.jpg
ผมชอบเล่มนี้เพราะ มันเป็นการผสมผสานของคนสองเจนเนอเรชั่น คนทำ เป็นช่างมีดพื้นบ้าน มีฝีมือ และทักษะในการทำมีดที่ดี
คนออกแบบ ไม่ยึดติดกับงานช่างไทยเก่า โดยดีไซด์รูปแบบออกมาให้ดูร่วมสมัยมากยิ่งขึ้น แปลกตาไปกว่าเดิม แต่เมื่อนำมารวมกัน
ก็ออกมาเป็นมีดเล่มนี้ ที่ดูทันสมัย แต่แฝงไว้ด้วยความเป็นไทย ลงตัวอย่างไม่น่าเชื่อ สวยครับ ติดอยู่นิดนึง โลโก้คำว่า แวว
น่าจะเปลี่ยน รูปแบบตัวอักษร หน่อยน่าจะดีนะครับ
http://i1241.photobucket.com/albums/gg509/pronthep_t/Blade/05-2.jpg
ใบมีดไม่หนามาก เพราะถูกออกแบบมาให้แล่เนื้อ เถือหนัง แต่ปาดใบได้สวยมากครับ เท่ากันเลยทั้งสองฝั่ง
http://i1241.photobucket.com/albums/gg509/pronthep_t/Blade/06-2.jpg
ทำผิวมีดมาแบบซาติน แต่เป็นแนวยาวตามใบมีด มีชื่อเรียกเฉพาะหรือเปล่า อันนี้ผมไม่ทราบ แต่สวยแปลกตาดี
http://i1241.photobucket.com/albums/gg509/pronthep_t/Blade/07-2.jpg
มีดเข้าด้ามมาแบบ Hidden Tang ยึดหมุดหนึ่งตัว ด้ามจับใช้หง้าวไผ่ โค้งๆ ลายสวยๆมาทำ ได้ใจมากครับ
ข้อมูลว่า เหง้าไผ่ที่โค้งๆกำลังดีแบบนี้ หายากมาก ต้องชื่นชมในการหาวัสดุหล่ะครับ
http://i1241.photobucket.com/albums/gg509/pronthep_t/Blade/08-2.jpg
ขัดผิวเป็นแนวยาวตามใบมีด สะท้อนแสงแล้วสวยงามดีครับ ข้อมูล spring steel เบื้องต้นครับ
spring steel เป็นเหล็กอัลลอยต่ำ แปลว่าต้านทานสนิมได้น้อย มีทั้งแบบ คาร์บอนปานกลาง หรือ คาร์บอนสูง
แต่มี yield strength สูง คำว่า yield strength หรือ yield point เป็นจุดที่กำหนดไว้ในงานวิศวกรรม และวัสดุศาสตร์
คือ เมื่อมีแรงมากระทำต่อวัสดุ เกิดเป็นความเครียดที่ทำให้ วัสดุเริ่มบิดเบี้ยว yield point คือ การกำหนดจุดสูงสุดที่ทำให้เหล็ก ยังสามารถคืนสภาพเดิมได้
กล่าวคือ เมื่อมีแรงมากระทำต่อวัสดุดังกล่าว เกินจุด yield point แล้ว วัสดุชิ้นนั้นจะไม่กลับคืนรูปทรงเดิมได้อีกแบบถาวร
http://i1241.photobucket.com/albums/gg509/pronthep_t/Blade/09-1.jpg
spring steel มีหลายตัว ผมเดาว่าคงเป็น 1095 ละกันนะครับ ข้อมูลส่วนประกอปของเหล็ก 1095 ประกอปด้วย
มี คาร์บอน ประมาณ 0.90-1.03%
มี แมงกานีส ประมาณ 0.30-0.50%
มี ฟอสฟอรัสได้สูงสุด 0.040%
มี ซัลเฟอ ได้สูงสุด 0.050%
มีค่า Yield strength 60–75 ksi
ค่าความแข็งเฉลี่ยที่ประมาณ 48–51 HRC
ค่าความแข็งสูงสุดที่เหล็กตัวนี้ทำได้ 59 HRC
ชื่อเรียกเหล็กชนิดนี้โดยทั่วไป เรียกว่า Blue spring steel
http://i1241.photobucket.com/albums/gg509/pronthep_t/Blade/10-1.jpg
ดีไซด์โค้งเว้า ถูกใจผมเหลือเกิน อ้อ อีกเรื่อง ปลอก Stanless ที่นำไปเผาไฟหน่ะครับ ผมว่ามันคงทำให้สถานะของ Stanless เปลี่ยนไป
เพราะมันขึ้นสนิมผิวง่ายเหลือเกิน แต่ก็ไม่มีปัญหาครับ ใบมีด อบชุบมาดี สนิมยังไม่ขึ้นเลย เล่มหน้า Spyderco Karambit ครับ :)