PDA

View Full Version : ข้อมูลเก่าครับ บิล โมแรนด์



uuong
18-08-11, 05:40 PM
http://i260.photobucket.com/albums/ii7/uuong/Bill.jpg
เก็บความเรื่อง “ บิล โมแรนด์” แปลโดย อาจารย์ วสัน (WASAN)
ในปีค.ศ.1973 ณ เมืองเฟรดอริค บิล โมแรนด์ ตั้งอกตั้งใจที่จะสร้างมีดเล่มหนึ่ง มีดที่ทำด้วยฝีมือของเขาเองเพียงคนเดียว มีดที่ทำจากโลหะที่จะสร้างชื่อเสียงให้กับเขาในระยะเวลาต่อมา คือเขาพยายามสร้างมีดจากเหล็ก”ดามัสกัส” ซึ่งเป็นเหล็กที่นักทำดาบในยุคกลางนิยมใช้กัน (ความรู้เรื่องนี้มาจากเอเชีย) เหล็กชนิดนี้มีทั้งความเหนียวและความแข็งแกร่งผสมผสานกันอย่างลงตัว บิล โมแรนด์ ได้รับการยกย่องในเวลาต่อมาว่า “บิดาแห่งเหล็กดามัสกัส สมัยใหม่” บิล เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2006 ณ โรงพยาบาล เฟรดอริคเมมโมเรียล
ขณะมีอายุได้ 80 ปี กว่า 60 ปีที่บิลได้สร้างมีดขึ้นมาและหลายเล่มที่เป็นที่โปรดปรานของกษัตริย์อับดุลเลาะห์ที่ 2 แห่งจอร์แดน และถูกใจนักแสดงอย่างเช่นซิลเวสเตอร์ สตอลโลน เขาสร้างมีดแต่ละเล่มด้วยความพิถีพิถัน ด้วยวัสดุชั้นดี นับตั้งแต่การตีขึ้นรูป การชุบอบ หรือแม้กระทั่งการประดับด้วยการฝังเส้นเงินเป็นลวดลายต่างๆ สลักเสลาให้เกิดความสวยงาม จนถึงการเย็บซองหนังด้วยฝีมืออันปราณีต เขาทำทุกอย่างได้อย่างดีเลิศ 25 ปีก่อนหรือกว่านั้น มีดของเขาตกราคาเล่มละ 500 ดอลลาร์ แต่ตอนนี้มีดโบวีเล่มหนึ่งอาจมีราคาถึง 30,000 ดอลลาร์ ด้วยบุคคลิกที่เป็นกันเอง มีความเชื่อมั่นในตนเอง ชายผู้รักการเล่าเรื่องตลกขบขันผู้นี้ วิลเลียม เอฟ โมแรนด์ จูเนียร์ ถือกำเนิดที่เมือง เฟรดอริค ณ ฟาร์มโคนมของบิดา เขาเริ่มทำมีดตั้งแต่อายุ 12 ปี “ เขาบอกผมในครั้งหนึ่งว่า ตอนนั้นเขาขโมยเครื่องมือจากบิดาของเขาเองเพื่อที่จะนำมาทำมีด” เจย์ เฮนดริคสัน เพื่อนเก่าของบิลเล่าให้ฟังโรงเรียนเป็นเรื่องน่าเบื่อสำหรับบิล เขาชอบที่จะเดินทางไปตกปลา ดักจับสัตว์ตามริมฝั่งแม่น้ำโมโนเคซี มากกว่า และเขาก็อ่านหนังสือเกี่ยวกับมีดทุกเล่มที่เขาพบ ที่วอชิงตันนี้เองที่เขาเริ่มสร้างเตาเผาเหล็กเตาแรกของเขาในฟาร์มในขณะที่เขาอยู่ในวัยหนุ่ม“ หลังสงคราม(โลกครั้งที่2) มีเพียงไม่กี่คนที่รู้เรื่องราวเกี่ยวกับการตีมีด” เฮนดริคสันกล่าว
“เขาไม่ต้องการให้มันสูญหายไป”
ในช่วงปีค.ศ.1950 เขาเริ่มขายมีดของเขาโดยผ่านแค็ตตาล็อค ซึ่งในยุคนั้นมีช่างทำมีดเพียงไม่กี่คนที่ใช้วิธีการนี้ ในปีค.ศ.1960 เขาขายฟาร์มของครอบครัวและตั้งโรงตีเหล็กของเขาขึ้นมาบิล เริ่มสนใจที่จะนำเอาขบวนการทำเหล็กดามัสกัสขึ้นมาทำใหม่ ซึ่งก็เริ่มขึ้นในช่วงท้ายของปีค.ศ.1960 เหล็กดามัสกัสนี้ชนเผ่าเยอรมันรู้จักการทำในช่วงประมาณหนึ่งพันปีแรกๆ ต่อมาชาวเยอรมันในปัจจุบันก็รู้แต่เพียงขั้นตอนเลาๆเท่านั้น ในอเมริกาไม่มีช่างทำมีดคนใดมีความรู้ในเรื่องนี้ ซึ่งนับว่าเป็นอันตรายอย่างมากต่อการสูญหายความรู้นี้ไป“ เขารู้แต่เพียงว่าเป็นการหลอมโลหะเข้าด้วยกันเท่านั้น นั้นคือวิธีการที่เขาทำในฟาร์ม” เฮนดริคสันกล่าว “มันเป็นสิ่งที่ต้องใช้เวลาอย่างมาก มีบางอย่างที่ไม่ค่อยสมบูรณ์นัก และมีข้อผิดผลาด” เหล็กดามัสกัสทำจากเหล็กหลายชนิดหลอมตัวกันแล้วตีขึ้นรูปเป็นแผ่นให้เรียบ บิลใช้ความพยายามในการตีพับ ตีทบชั้นเหล็กชั้นแล้วชั้นเล่าด้วยค้อนกว่า 8 ครั้งซึ่งจะทำให้เกิดชั้นเหล็กมากกว่า 500 ชั้นการเป็นผู้นำในเรื่องการทำมีดด้วยเหล็กดามัสกัสทำให้เขาเปรียบเสมือนเป็นศิลปิน ซึ่งเขาก็ออกจะผิดหวังเล็กน้อย บิล ชอบที่จะเห็นมีดของเขาถูกใช้งานตามหน้าที่ๆมันถูกสร้างขึ้นมามากกว่านำไปตั้งแสดงโชว์เพื่อความสวยงามเพียงอย่างเดียว
มีดของเขาเล่มหนึ่งทำจากสะเก็ดดาวตก “ ผมพยายามตีสะเก็ดดาวตกให้เป็นแผ่นเรียบแต่มันก็เริ่มแตกเพราะมีสิ่งสกปรกอยู่ภายใน” บิลเล่าเรื่องราวของการตีมีดจากสะเก็ดดาวตกของเขาลงในเวบไซด์ของ
สมาคมเอบีเอสว่า” ผมต้องตีเหล็กพับทบมาราวสิบครั้งก่อนจะสอดเหล็กW-2 เข้าไปในส่วนกลางเพื่อที่จะทำคม” (ตีเหล็กที่ได้จากสะเก็ดอุกกาบาตให้เป็นเปลือกแล้วใส่ใส้กลางด้วยเหล็ก W-2) ซิลเวสเตอร์ สตอลโลน ได้ยินชื่อเสียงของช่างทำมีดแห่งเมืองเฟรดอริค ในช่วงท้ายปีค.ศ.1980 จึงได้สั่งให้เขาทำมีดที่วิจิตรที่สุดเท่าที่บิลจะทำให้ได้ “ ผมเลยทำมีดต่อสู้จากเหล็กดามัสกัส เป็นมีดสไตล์เอเชีย ด้ามจับนั้นมีการฝังเส้นลวดเงินยาวกว่า 30ฟุต ราคามีดเล่มนั้นราว 7,000 เหรียญ” กษัตริย์อับดุลเลาะห์ที่2 แห่งจอร์แดน มาเยี่ยมโรงตีเหล็กของเขาในปีคศ.1990 ท่านสั่งให้เขา ทำมีดต่อสู้เล่มเพรียวงามขึ้นเล่มหนึ่ง ด้ามทำจากไม้เมเปิล ประดับประดาด้วยลวดลายเงิน “เล่มนั้นราคาราว 3,000 เหรียญ” บิลบอก “ท่านให้นาฬิกาสวิสผมหนึ่งเรือน ท่านเป็นคนดีมาก ผม ไม่เคยพบกษัตริย์องค์นี้มาก่อน แน่นอน ตอนนั้นท่านยังเป็นเจ้าชายอยู่” บิล โมแรนด์ เป็นผู้ก่อตั้งสมาคม เอบีเอส หรือ American Bladesmithing Society ขึ้นในปีค.ศ.1976 และได้จัดตั้งโรงเรียนฝึกสอนการตีมีดขึ้นในปีค.ศ.1988 ในกรุงวอชิงตัน เหตุผลที่เขาเลือกบริเวณนี้เพาะว่าสถานที่นี้มีตำนาน เชื่อมโยงกับช่างทำมีดผู้หนึ่งที่ชื่อ เจมส์ แบล็ค ซึ่งได้ทำมีด
เล่มหนึ่งให้กับจิม โบวีช่างทำมีดที่ต้องการจะได้ชื่อเสียงเป็น” สุดยอดฝีมือ” ที่โรงเรียนของโมแรนด์ จะต้องสามารถตีมีดจากเหล็กดามัสกัสได้ ความคมของมีดจะต้องตัดเชือกวนิลาขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 นิ้ว
และมีดเล่มนั้นจะต้องรักษาความคมถึงขนาดโกนขนบนแขนได้ และจะต้องถูกบิดให้เป็นมุม 90 องศาได้โดยไม่หัก
เมื่อถึงจุดสูงสุด บิลทำมีดเพียง 40 เล่มต่อปีเท่านั้น ในปีที่ผ่านมาเขาก็ทำมีดไปเพียงโหลหรือกว่านั้น เขายังคงขายมีดได้เรื่อยๆทุกปีเฉพาะในงานที่ได้รับเชิญไปโชว์ในซานดิอาโกเท่านั้น ภรรยาของเขา มากาเร็ต โมแรนด์ เสียชีวิตในปีค.ศ.2001ถึงตอนนี้เขาก็ไม่เหลือใครอีกแล้ว
บิล มีความประสงค์ที่จะยกโรงตีเหล็กและเครื่องมือทั้งหลายให้กับ Federic Country Landmarks
Foundation .
“ ผมอยากเห็นมันถูกใช้งานครับ” เขาบอก.