View Full Version : การยิงธนูกับ Back Tension
FredBob
17-05-12, 08:19 PM
จริงหรือเปล่าครับที่ว่าถ้าไม่รู้จักใช้ Back Tension ในการยิงธนูจะไม่มีวันเก่งได้
Back Tension มันคืออะไรครับ พยายามอ่านจากหลายแห่งแล้วยังงงอยู่ จำเป็นสำหรับการยิงแบบ Instinctive shooting ด้วยหรือเปล่าครับ แล้วจะรู้ได้อย่างไรครับว่าเราได้ใช้หรือไม่ได้ใช้ Back Tension ในการยิงครับ ขอบคุณครับ
siriwut
17-05-12, 09:25 PM
ครูต้นเคยบอกผมว่า มีนักธนูอยู่คนหนึ่งเป็นคนที่กำลังแขนไม่มาก ไม่สามารถน้าวสายธนูได้อย่างมีประสิทธิภาพ เขาจึงคิดค้นการใช้กล้ามเนื้อส่วนหลังมาทดแทนจนกลายมาเป็นมาตรฐานการยิงธนูจนถึงทุกวันนี้ และนักธนูผู้นั้นได้รับการขนานนามว่าเป็นบิดาแห่ง back tension
กล้ามเนื้อแขน ข้อมือ ถือว่าเป็นกล้ามเนื้อขนาดเล็กเมื่อเทียบกับขนาดของร่างกาย หากต้องการกำลังที่มากขึ้นต้องจัดหากล้ามเนื้อส่วนอื่นมาเพิ่มเติม ความจริงแล้วแนวคิดแบบนี้มีมานานแล้วครับ
ตัวอย่างเช่น clip ด้านล่าง
http://www.youtube.com/watch?v=2mxwIC8lrv0&feature=related
เป็นหมัดหนึ่งนิ้วที่เลื่องชื่อของ บรูซ ลี ทำอย่างไรที่ทำให้หมัดที่อยู่ห่างจากวัตถุเพียง 1 นิ้ว มีอานุภาพการจู่โจมมาก เคล็ดลับคือไม่ได้ใช้กล้ามเนื้อแขน แต่ใช้พลังทั้งร่างกายรวมไว้ด้วยกันครับ จากที่เห็นภายนอกอาจไม่ได้เคลื่อนไหวมาก แต่จริง ๆ แล้วมันเคลื่อนไหวอยู่ภายใน จึงเรียกว่ากำลังภายในครับ
แบคเทนชันเป็นพื้นฐานของการยิงธนูทุกชนิดครับ โดยเฉพาะคันปอนด์หนัก อย่างธนูศึก ใช้แขนดึงไม่ไหวแน่ๆ
การใช้แบคเทนชันจะสะท้อนออกมาให้เห็นในฟอลโลทรูครับ
http://i84.photobucket.com/albums/k40/s_issara/th_shoot-1.jpg (http://s84.photobucket.com/albums/k40/s_issara/?action=view¤t=shoot-1.mp4)
jackagee
17-05-12, 10:24 PM
เรื่องนี้ยากจริงๆครับ
ผมเอง กว่าจะรู้ตัวว่า ไอ้ที่ทำอยู่ มันไม่ใช่ Back Tension อย่างแท้จริง
ก็ปาเข้าไปหลายปีครับ เพิ่งมาเข้าใจและพบเจอด้วยตัวเองจริงๆก็ไม่นานมานี้เอง
ที่ว่า หากไม่ใช้มัน ก็ไม่มีวันยิงธนูเก่ง ก็มีส่วนจริงอยู่มากครับ
เพราะการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อหลังมีความมั่นคงกว่ากล้ามเนื้อแขนและมือ ครับ
หากใช้นิ้ว,มือ, แขน เป็นหลักในการควบคุมการยิง โอกาศพลาดมีมากกว่าเยอะ
นิ้ว,มือ,แขน ทำหน้าที่(ออกแรง)แค่เพียงพอต่อการน้าวและเล็งเท่านั้น
(โดยเฉพาะนิ้วมือที่ฮุกสาย ต้องไม่เกร็งนะครับ ออกแรงแค่พอฮุกสายไม่ให้หลุดมือเท่านั้น)
และใช้กล้ามเนื้อหลัง เป็นส่วนที่ทำหน้าที่หลักในการยิงครับ(ออกแรงและควบคุม)
การจะหาการเคลื่อนไหวนี้เจอได้ ต้องใช้เวลาจริงๆครับ ต้องตั้งสมาธิทุกลูกในการฝึก
เรื่อง Back Tension นี้ หากจะให้อธิบายกันละเอียด กระทู้นี้ ยาวแน่ๆ ครับ
เดี๋ยวคงมีอีกหลายท่านมาช่วยกันตอบ โค้ชต้นน่าจะอธิบายได้ละเอียดกว่าผมมาก
ผมใช้วิธีฝึก เพื่ิิอไม่ให้ลืมการเคลื่อนไหวนั้น แบบนี้ครับ
- อยู่ว่างๆ ที่บ้าน หรือที่ออฟฟิส ก็ทำท่ายิง แล้วตั้งสมาธิกับกล้ามเนื้อหลังว่ามันเคลื่อนไหวยังไง
การทำท่าเปล่า ไม่มีแรงกระทำใดๆ ทำให้เรารู้สึกถึงการเคลื่อนไหวของเราเองได้ดีครับ
- ดึงยางยืด อันนี้ช่วยได้ดีจริงๆครับ ยางยืดน้ำหนักเบา ทำให้มีแรงกระทำกับกล้ามเนื่้อ
ทีนี้ เราก็จะจับความรู้สึกได้ดีขึ้นเรื่อยๆครับ
- ตอนซ้อมยิงจริง ผมจะให้ความสำคัญกับ ฟอลโลว์ ทรู มากครับ เพราะอะไร ??
เพราะฟอลโลว์ ทรู เป็นตัวบอกเราครับว่า ขั้นตอนก่อนหน้านี้ เราพลาดอะไร และ อะไรที่ใช่
ค่อยๆลองดูนะครับ
ที่สำคัญ ฝึกกับสิ่งที่น้ำหนักเบาให้บ่อยๆครับ เช่น ดึงยางยืด หรือ คันฝึกหัดน้ำหนักเบา
อย่างรีบเร่งกับคันน้ำหนักมาก เพราะเราจะโหนน้ำหนักมาก พาลจะเกร็งกล้ามเนื้อมากไป
ก็ยิ่งจะหาไม่เจอไปกันใหญ่ครับ
อ่อออ อีกอย่าง หากฝึกยิงกับคันตัวเอง แล้วรู้สึกว่า เมื่อปล่อยลูกออกไปแล้ว รู้สึกลื่นไหล เบาสบายไม่่โหน
สายตีดังหนักแน่น ฟอลโลว์ ทรู สวยเป๊ะๆ .... นั่นล่ะครับ เชื่อผมเถอะว่าคุณเริ่มเจอการเคลื่อนไหวของ Back Tension แล้ว
ลองดูครับ :):)
FredBob
17-05-12, 10:31 PM
ขอบคุณคุณ Jackagee มากๆๆครับ สงสัยคงต้องฝึกอีกนานเลยเรา Follow Through นี่ผมก็ทำน่ะครับ แต่ไม่เห็นมันบอกอะไรเลยครับ
jackagee
17-05-12, 11:06 PM
ต่อนะครับ เพลินดี แบ่งกันครับ อยากเห็นหลายๆท่านยิงเก่งๆ
ข้อมูลที่มี ก็แบ่งกันครับ (รีเคิร์ฟ นะครับ)
จริงๆ ผมอยากจะเขียนเร่ืองฟอร์มการยิงอย่างละเอียด
โดยเอาความรู่้ที่ได้จากโค้ชต้น,โค้ชคิม,การลักจำ,การอ่าน,การพูดคุยแลกเปลี่ยน,บวกกับการฝึกฝนเอง
แล้วเอามาแบ่ง เผื่อว่าเป็นประโยชน์ในวงกว้าง
เทคนิคเล็กน้อยที่เจอเองแล้วได้ผล บางทีกลับไปอ่านก็ร้องอ๋อว่า เค้ามีของเค้าอยู่แล้ว เราลืมเอง ฮ่า ๆ ๆ ๆ
อะไรทำนองนี้ เผื่อบางคนอ่านแล้วจะได้ประโยชน์บ่้าง อย่างน้อยหากยิงดีขึ้น ก็มีความสุขขึ้น ครับ
ก็ถือโอกาศใช้กระทู้นี้ก็แล้วกันครับ ซึ่ง หลายๆท่านก็เสริมได้นะครับ โดยเฉพาะโค้ชต้น :D
เรีื่อง Back Tension บางที เราก็อาจใส่ใจกับกล้ามเนื่อหลังอย่างเดียว
ซึ่งจริงๆแล้วมีอีกหลายจุดครับ ที่สัมพันธ์กัน และต้องใส่ใจมากทีเดียว
เพ่ืิอที่จะให้กล้ามเนื้อหลัง ทำงานได้มีประสิทธิภาพครับ
จากการซ้อมของผมเอง พบว่า แองเคอร์ พอยท์ มีส่วนสัมพันธ์โดยตรงกับ Back Tension ครับ
เมื่อไหร่ ที่ผมเข้าแองเคอร์พอยท์ ไม่สนิท หรือที่หลายท่านพูดว่า แองเคอร์พอยท์ "ลอย" น่ะครับ
จะทำให้การใช้กล้ามเนื้อหลังไม่ได้ผล เพราะ ทั้งแขน และมือที่น้าวสาย มัวแต่เกร็งรับแรงอยู่น่ะครับ
และจะทำให้การยิงลูกนั้น ถูกควบคุมโดยมือ และแขน ครับ โอกาศพลาดมีสูงมาก
และเมื่อไหร่ ที่ผมเข้า แองเคอร์พอยท์ แนบแน่น มันเหมือนกับว่า มือที่น้าวสายของผมมีที่พักพิงแล้ว
จะออกแรงก็แค่ฮุกสายเอาไว้เท่านั้น การยิิง จึงใช้กล้ามเนื้อหลังได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
เมื่อมั่นคงกว่า โอกาศพลาดก็น้อยกว่าครับ
อย่าให้การพลาดเล็กๆน้อยๆนั้น มาก่อกวน Back Tension ของเรานะครับ
นั่นอย่างแรก แล้วมีอะไรอีกล่ะ......
เยอะครับ เยอะจริงๆ ผมจะไปทีละนิดนะครับ
ท่านใด จะเสริม หรือติงตรงไหน ก็เชิญนะครับ :D:D
นิ้วที่ฮุกสาย
คงไม่ต้องอธิบายอะไรมากถึงตำแหน่งของสายบนนิ้วนะครับ
แต่ความสำคัญของมันคือ เราฮุกสายไว้อย่างไร,งอนิ้วเท่าไหน ให้อยู่แบบนั้นไปตลอดจนกว่าจะปล่อยสายครับ
ลองคิดดูนะครับ เราน้าวสายเข้าแองเคอร์พอยท์แล้ว แล้วใช้ Back Tension ในการปลดคลิ๊กเกอร์
Back Tension ทำงานก็จริงอยู่ แต่ปลายหัวลูกไม่ได้เคลื่อนถอยมาเลย เพราะบางที นิ้วที่ฮุกสายอยู่มันคลายออกน่ะครับ
ระยะทางของหัวลูกจึงไม่เดินทางมาอย่างที่ควรจะเป็น
ลองดูนะครับ นิ้วที่ฮุกสาย งออย่างไร ฮุกอย่างไร ให้อยู่อย่างนั้นตลอดครับ
ส่วนตัวผมเอง จะฮุกสายแบบ Deep Hook ครับ เพราะมันมั่นคงที่สุดเท่าที่ได้ลองมา:D
ใครที่ไม่ได้ Deep Hook แบบผม แล้วจะลองดูก็ได้นะครับ ไม่ต้องกลัวครับว่าการปล่อยสายจะไม่ Clean
เพราะเมื่อคุณใช้ Back Tension ได้ดีแล้ว สายจะหลุดออกไปแบบ Clean มากๆ ครับ
ไหล่ของข้างที่ถือคัน ถอยย่นเข้ามามากเกินไป หรือไม่ก็ไม่มีแรงค้ำ
สั้นๆนะครับ ท่องไว้ ว่า รักษาตำแหน่งของไหล่นั้นให้ต่ำเข้าไว้ ตลอดที่ทำการยิง ครับ
อันนี้ ฝึกไม่ยากครับ แต่จะยากมาก็อีตอนเราหมดแรงครับ
ฉะนั้น ข้อนี้ คือเราต้องรักษาความฟิตของเราเอาไว้ด้วยครับ การใช้ เวท เทรนนิ่ง ก็ได้ผลครับ
เห็นมั๊ยครับ มันมีส่วนสัมพันธ์กันมากจริงๆ ที่ผมว่ามา แค่เล็กน้อยเท่านั้น
ซึ่งในแต่ละอย่างทีว่านั้น ก็มีรายละเอียดปลีกย่อยอีกมากเช่นกัน
ท่านอื่น สามารถเอาไปขยายเพื่ิอเพิ่มความเข้าใจก็ได้นะครับ
แล้วเดี๋ยวว่างๆ ค่อยมาต่ออีกครับ
:bowarrow::bowarrow::D
jackagee
17-05-12, 11:21 PM
ขอบคุณคุณ Jackagee มากๆๆครับ สงสัยคงต้องฝึกอีกนานเลยเรา Follow Through นี่ผมก็ทำน่ะครับ แต่ไม่เห็นมันบอกอะไรเลยครับ
ของผมเป็นแบบนี้ครับ คือการประมวลข้อมูลของการยิง เพื่อจำ หรือ ปรับ ในการยิงลูกต่อไป
เช่น คันหลุดออกไปแบบเอียงๆ ก็เป็นเรื่องของกริ๊ป, ปล่อยแล้วตัวโย้ แสดงว่า บาลานซ์ไม่ดี อะไรทำนองนี้ครับ
ลองอ่าน วงรอบการยิง ของปรมาจารย์ท่านนี้ดูครับ มีการแปลเป็นภาษาไทยไว้แล้วด้วย
ที่ผมหมายถึงนี้คือ ข้อ 12 ครับ :D
http://www.kslinternationalarchery.com/Technique/KSLShotCycle/KSLShotCycle-Thai.html
FredBob
17-05-12, 11:31 PM
ของผมเป็นแบบนี้ครับ คือการประมวลข้อมูลของการยิง เพื่อจำ หรือ ปรับ ในการยิงลูกต่อไป
เช่น คันหลุดออกไปแบบเอียงๆ ก็เป็นเรื่องของกริ๊ป, ปล่อยแล้วตัวโย้ แสดงว่า บาลานซ์ไม่ดี อะไรทำนองนี้ครับ
ลองอ่าน วงรอบการยิง ของปรมาจารย์ท่านนี้ดูครับ มีการแปลเป็นภาษาไทยไว้แล้วด้วย
ที่ผมหมายถึงนี้คือ ข้อ 12 ครับ :D
http://www.kslinternationalarchery.com/Technique/KSLShotCycle/KSLShotCycle-Thai.html
ขอบคุณมากครับ จะลองศึกษาและพยายามทำความเข้าใจดูครับ เผื่อจะมีครั้งนึงในชีวิตกะเค้าบ้าง :)
HELLBOY
18-05-12, 02:12 AM
http://a6.sphotos.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-ash3/550877_3905550527346_1536771031_3227411_1998277153_n.jpg
ทิ้งไว้ให้ิคิดเล่นๆกันก่อนนะครับ วันนี้ดึกแล้ว :p
Follow Through นี่ผมก็ทำน่ะครับ แต่ไม่เห็นมันบอกอะไรเลยครับ
ฟอลโลทรู ไม่ใช่สิ่งเรา"ทำ"นะครับ แต่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากการกระทำก่อนหน้านั้น ว่ามีการส่งแรงไปทิศไหน จุดไหน น้ำหนักเท่าไหร่ อย่างไร เหมือนการดึงเชือกให้ตึง แล้วตัดออก การเคลื่อนที่ของเชือก มือ แขน จะบอกว่าเราเคยดึงเชือกในทิศทางไหน ออกแรงอย่างไร
ฟอลโลทรูเป็นสิ่งที่เราต้อง"สังเกต"ครับ การเกิดฟอลโลทรูมีหลายลักษณะ อาจเกิดจากแบคเทนชัน แบคเทนชันบางส่วน หรือไม่ใช่ก็ได้
จุดหนึ่งที่พอสังเกตได้ด้วยตัวเอง คือจะรู้สึกได้ว่ากระดูกสะบักสองข้าง เคลื่อนเข้าหากันในจังหวะฟอลโลทรู (ดูรูปครูต้นประกอบ) ซึ่งผมเองก็เพิ่งปรับเปลี่ยนวิธีรีลีสเพื่อให้เกิดฟอลโลทรูลักษณะแบบนี้เมื่ออาทิตย์ที่แล้วนี้เอง ทำให้รู้ว่าเมื่อก่อนหน้านี้ ตัวเองยังไม่ได้ใช้กล้ามเนื้อหลังอย่างเต็มที่ :confused:
http://i84.photobucket.com/albums/k40/s_issara/th_shoot2.jpg (http://s84.photobucket.com/albums/k40/s_issara/?action=view¤t=shoot2.mp4)
FredBob
18-05-12, 10:29 AM
ขอบคุณคำแนะนำทุกท่านน่ะครับ
การยิง instinctive นั้น ฟอร์มต้องนิ่ง เบสิคต้องดีในระดับหนึ่งครับ จึงจะมีการปรับระเบียบร่างกายกับสายตาให้เข้ากันได้
แบคเทนชัน จะช่วยให้ฟอร์มนิ่งดีขึ้น จังหวะรีลีสดีขึ้น และที่สำคัญ ช่วยให้ซ้อมได้จำนวนลูกมากขึ้น ซึ่งจำเป็นสำหรับการฝึก instictive ครับ
แลกเปลี่ยนกันนะครับ
ผมน้าวสายแบบ swing draw เหมือนกัน
trick ที่ผมใช้ในการฝึกให้ใช้กล้ามเนื้อหลังน้าวสายก็คือ นึกภาพว่ามือหนึ่งดึงสาย มือหนึ่งดันคัน เพื่อพยายามจะสร้างช่องว่างให้แทรกตัวเข้าไปตรงกลาง อธิบายไม่ได้ว่าเป็นเพราะอะไร แต่ทำอย่างนี้แล้วได้ผล แรงที่ดึงสายจะถูกถ่ายไปที่กล้ามเนื้อหลัง เวลาเข้าแองเคอร์แล้วนิ่งกว่า
จังหวะรีลิสผมไม่ได้ใช้หลังดึงต่อ แต่คง back tension ไว้และปล่อยแบบ dead release คือคลายนิ้วให้สายดึงตัวออกไปเอง ผลคือมือจะถอยมานิดหนึ่งตามหลักกลศาสตร์ จุดที่มือหยุดเคลื่อนที่จะเป็นจุดที่ผมเช็ค follow through
1.การใช้ธนูแรงน้าวมากเกินตัว จะต้องใช้ความพยายามน้าวสายมาก ทำให้ภาระไปอยู่กับแขนจนไม่พบแบ้คเทนชั่น..
2.เคยเห็นโค้ชคิม ทำท่าล้อนักกีฬา น้าวสายมาเข้าแองเคอร์ แล้ว ปล่อยสาย แล้วจึงตีศอก แสร้งว่าฉันก็มีโฟลโลวทรูนะ :)
Powered by vBulletin® Version 4.2.3 Copyright © 2025 vBulletin Solutions, Inc. All rights reserved.