PDA

View Full Version : ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิศสุนัขบ้า ทั้งให้ตัวเองและสัตว์เลี้ยง กันหรือยังครับ



Stars Under The Sky
14-07-12, 12:19 PM
เนื่องด้วย ว่าผมเพิ่งไปรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิศสุนัขบ้า (Rabies) มา ก็เลยศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับโรคนี้มาบ้าง จึงพบว่า โรคพิศสุนัขบ้า แม้จะดูเป็นเรื่องไกลตัว จำนวนผู้ติดโรคนี้ในแต่ละปีมีในประเทศไทย มีค่อนข้างน้อยมาก แต่ก็ยังมีอยู่ และถ้าป่วยด้วยโรคนี้แล้ว เสียชีวิตแน่นอน 100% และเสียชีวิตแบบทรมานด้วย จึงเป็นการดีที่ควรจะป้องกันไว้ก่อนนะครับ ด้วยการรับการฉีดวัคซีนป้องกัน

ขอนำข้อมูลมาร่วมแบ่งปัน ดังนี้

1) โรคพิศสุนัขบ้า ติดต่อได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด ทั้ง สุนัข แมว ม้า วัว ลิง ค้างคาว หรือ คน

2) โรคพิศสุนัขบ้า ติดต่อผ่านทางน้ำลายเข้าสู้ร่างกาย โดยการถูกกัด หรือ ข่วน จนบาดแผลมีเลือดไหล จากสัตว์ที่มีเชื้อ

3) หากถูกกัด หรือ ข่วน แต่ไม่มีเลือดไหล ยังมีโอกาสติดเชื่อได้บ้าง

4) หากน้ำลายสัตว์ที่มีเชื้อกระเด็นเข้าตา เยื่อบุตา หรือช่องปาก ก็มีโอกาสติดเชื้อได้

5) หากถูกสัตว์เลีย แต่ร่างกายไม่มีบาดแผล ไม่สามารถติดเชื่อได้

ุ6) เมื่อเชื้อโรคเข้าไปในร่างกาย จะค่อยๆเดินทางสู่ระบบประสาท และ สมอง และแพร่เชื้อในสมอง ไปสู่กระดูกสันหลัง ส่งผลให้ระบบประสาทที่ทำงานควบคุมกล้ามเนื้อสำคัญๆในร่างกายถูกทำลาย

ึ7) หากคนได้รับเชื่อไวรัสพิศสุนัขบ้า จะใช้เวลาประมาณ 1 เดือน ถึง 1 ปี ก่อนที่ร่างกายจะแสดงอาการออกมา (โดยส่วนมาก แสดงอาการภายใน 3 เดือน)

8) เมื่อร่างกายแสดงอาการป่วยแล้ว ผู้ป่วยจะมีอาการทรมานมาก และผู้ป่วยจะเสียชีวิตแน่นอน ภายในไม่กี่วัน หลังจากแสดงอาการ (แม้ในอดีต เคยมี คนไข้หนึ่งหรือสองคนเคยรอดชีวิต)

9) โรคพิศสุนัขบ้า ติดต่อได้ทุกฤดู แต่จะพบได้มากบ่อยที่สุดคือในหน้าร้อน


ทางป้องกัน

1) ทางป้องกันที่ดีที่สุด คือการรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิศสุนัขบ้า โดยจะฉีด สามเข็ม ภายในเวลา หนึ่งเดือน ฉีดได้เลย ไม่ต้องรอให้โดนสุนัขกัดก่อน ฉีดให้ทั้งตัวเอง และสัตว์เลี้ยง

2) หากไม่ได้รับการฉีดวัคซีนมาก่อน แล้วถูกสัตว์ที่มีแนวโน้มว่าจะเป็นโรคพิศสุนัขบ้ากัด ต้องรีบได้รับการฉีดเซรุ่ม ซึ่งเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันแบบเฉียดพลัน

3) เซรุ่ม มีราคาแพงกว่า วัคซีนมากๆ เพราะฉะนั้น ไม่ต้องรอโดนสัตว์กัด ไปฉีดวัคซีนป้องกันไว้ก่อนได้เลย เชื่อผม

4) ตักเตือนเด็กๆในการเล่นกับสัตว์ ผู้ป่วยโรคพิศสุนัขบ้า โดยส่วนใหญ่คือเด็กเล็ก เพราะเด็กชอบเล่นกับสัตว์และเมื่อโดนสัตว์กัด หรือ ข่วนเป็นแผลเล็กๆ มักไม่บอกใคร

5) เลี้ยงสัตว์เลี้ยงในอาณาบริเวณบ้านของตนเอง เมื่อพาสัตว์เลี้ยงออกนอกบ้าน ควรมีเจ้าของดูแลอย่างใกล้ชิด เพราะสัตว์เลี้ยง โดยเฉพาะสุนัข อาจไปกัดกับสุนัขตัวอื่นนอกบ้าน เมื่อไร ก็ได้


แนวโน้ม สัตว์ที่อาจมีเชื้อพิศสุนัขบ้า

1) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิต เป็นพาหนะ นำเชื้อโรคพิศสุนัขบ้าได้ทั้งหมด สำหรับในประเทศไทย หลักๆเลยคือ สุนัข รองลงมา คือ แมว

2) ท่ามกลางสุนัขและแมวจรจัด จำนวนมากที่มีอยู่ทั่วประเทศ สุนัขและแมวจรจัด ทุกตัวมีโอกาสที่จะมีเชื้อโรคพิศสุนัขบ้าได้ทั้งหมด

3) แม้แต่ สุนัขที่มีเจ้าของ ยังเป็นโรคพิศสุนัขบ้าเลย กว่าครึ่งของผู้เสียชีวิตในประเทศไทยคือ โดนสุนัขที่มีเจ้าของกัด แต่มีเชื้อโรคพิศสุนัขบ้า เพราะเจ้าของไม่เคยพาสุนัขไปฉีดวัคซีน

4) แม้สุนัขและแมวจะไม่ได้แสดงอาการป่วย ก็ไม่ได้หมายความว่าพวกมันจะไม่มีเชื้อพิศสุนัขบ้า สัตว์ที่มีเชื้อโรคพิศสุนัขบ้า อาจจะยังมีอาการปกติดีอยู่ ประมาณ 7-10 วัน ก่อนแสดงอาการ แต่ในระยะนี้ มันสามารถแพร่เชื้อผ่านทางน้ำลายได้แล้ว

5) หากถูกสัตว์กัด แต่สามารถติดตามสัตว์ตัวนั้นได้ เช่น สัตว์แถวบ้าน สัตว์คนรู้จัก ควรจะจับสัตว์นั้นขังกรง ให้ข้าวให้น้ำตามปกติ เป็นเวลา 7-10 วัน สังเกตุอาการ ถ้าสัตว์ไม่แสดงอาการป่วยอะไร ภายใน 10 วัน แสดงว่ามันไม่มีเชื้อพิศสุนัขบ้า

6) ถ้าสัตว์ตัวนั้นยากต่อการติดตาม เช่น สัตว์จรจัด หรือ สัตว์ป่า ให้ถือว่ามีโอกาสติดเชื้อพิศสุนัขบ้า และควรพบแพทย์โดยด่วน


ผมคิดว่า หลายๆคน รวมถึงผมด้วย ที่คิดว่าโรคพิศสุนัขบ้า โดยเฉพาะในเมืองอย่างกรุงเทพ คงเป็นเรื่องไกลตัวมากๆ อย่างผม ตั้งแต่เกิดมา ก็ยังไม่เคยพบเคยเห็นสุนัขตัวไหนที่เป็นโรคพิศสุนัขบ้าเลย ไม่เคยได้ยินว่าคนรู้จักทั้งใกล้ตัว ไกลตัวคนไหน เคยเสียชีวิตเพราะโรคพิศสุนัขบ้ามาก่อน จำนวนผู้ป่วยเสียชีวิตทั่วประเทศในช่วงหลังๆ มีประมาณ 5-10 คนต่อปี มีอยู่ปีหนึ่งที่ไม่นานมานี้ เยอะหน่อยคือ 25 คน แต่ก็ยังถือว่าน้อยมากๆ แต่ถึงจะน้อยยังไง ก็ยังถือว่ามีอยู่ อย่างในกรุงเทพ ก็ยังมีการตรวจพบสุนัขที่มีเชื้อพิศสุนัขบ้าอยู่ตลอด และเมื่อเป็นแล้ว ไม่มียารักษา และผู้ป่วยจะเสียชีวิตแน่นอน ก็จึงอยากรณรงค์ให้ทุกท่าน ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิศสุนัขบ้าไว้ก่อนนะครับ

ทั้งหมดนี้คือข้อมูลจากการศึกษาส่วนตัว ที่นำมาบอกกล่าวกัน หากต้องการทราบรายละเอียดมากกว่านี้ โปรดปรึกษาแพทย์ หากใครมีข้อแนะนำเพิ่มเติม สามารถแบ่งปันกันได้ครับ