Stars Under The Sky
04-08-12, 12:31 PM
ขอนำข่าว แปลมาจาก The New York Times วันที่ 3 สิงหาคม 2012 รายงานโดย Sam Borden
ในขณะที่นักกีฬายิงธนูหนึ่งร้อยกว่าชีวิตกำลังแข่งขันกันชิงเหรียญทองโอลิมปิคที่ลอนดอนเป็นเวลาแปดวัน แต่นักยิงธนูอันดับหนึ่งของโลกอีกคน รีโอ ไวล์ด อายุ 39 ปี กลับต้องนั่งดูทีวีอยู่ที่บ้านที่ไอดาโฮ และโอลิมปิคคราวหน้า เกรงว่าเขาก็คงทำได้แค่นั่งดูโอลิมปิคอยู่ที่บ้านอีก
ปัญหาคือธนูที่ไวล์ดใช้ ธนู Compound ในโอลิมปิคธนูที่ใช้แข่งขันคือ Recurve ซึ่งมีโครงสร้างที่เรียบง่าย ซึ่งต้องอาศัยร่างกายของนักธนูในการน้าวสายและต้านแรงดึง แต่ธนู Compound ใช้เทคโนโลยีที่สูงกว่า มีการใช้รอก หรือแคม ในการแบกรับแรงน้าวสาย เพื่อแบ่งเบาภาระของนักยิงธนู
ปกติแล้ว ธนูสองประเภทนี้ จะจัดแข่งควบคู่กันในการแข่งขันใหญ่ๆทั่วโลก หลายรายการ ยกเว้นแต่โอลิมปิค
ทันทีที่การแข่งขันยิงธนูที่โอลิมปิลอนดอนเพิ่งจบสิ้นลง ผู้คนก็เริ่มถามว่าต้องทำอย่างไรถึงจะนำธนู compound เข้ามาเฉิดฉายแสงในโอลิมปิคได้ นักยิงธนู compound อย่างไวล์ดหวังว่าสักวันเขาจะได้แข่งในโอลิมปิค แต่เขาก็รู้ดีว่าคณะกรรมการโอลิมปิคสากลเปลี่ยนแปลงช้ามาก
"พวกเราก็เหมือนเป็นลูกหน้าตาน่าเกลียดที่โดนเก็บมาเลี้ยง" ไวล์ดให้สัมภาษณ์ "มันเป็นเรื่องที่ตลกมาก เพราะธนู compound เป็นที่นิยมมากขึ้นเร็วกว่าธนู Recurve เสียอีก ใครๆเขาก็หยิบธนู compound มายิงกันเยอะแยะ แล้วปัญหามันอยู่ที่ตรงไหน?"
ไวล์ดกล่าวต่อ "เหตุผลมันฟังดูไม่เข้าท่าเลย กีฬาอื่นๆเขาก็ใช้เทคโนโลยีใหม่ๆกันทั้งนั้น ธนูคือกีฬาประเภทเดียวที่ไม่ยอมเปิดรับสิ่งใหม่ๆ แบบบอกว่า โอ้ เสียใจด้วย ธนูคุณมันสมัยใหม่เกินไป"
ทอม ดีเลน เลขาอะไรสักอย่างของสมาคยิงธนูโลก FITA บอกว่า มีความพยายามที่จะผลักดันให้ธนู compound เข้าไปบรรจุในการแข่งขันโอลิมปิคในอนาคต แต่ว่าทางคณะกรรมการโอลิมปิคสากล I.O.C. อ้างว่า การแข่งยิงธนู compound และ recurve ดูเหมือนกันมากเกินไป
เพื่อที่หักล้างเหตุผลนี้ จึงได้มีการปรัปการแข่งขันให้มีความแตกต่างระหว่างการยิงธนูทั้งสองประเภท เพื่อที่จะได้เห็นชัดๆมากขึ้นว่าธนูสองประเภทแตกต่างกันอย่างไร อย่างแรก ตอนนี้ธนู Recurve ยิงแข่งขันกันที่ระยะ 70 เมตร ในขณะที่ compound ยิงแข่งขันกันที่ระยะ 50 เมตร การนับคะแนนในรอบดวลก็แตกต่างกัน Recurve ใช้ระบบ set point ในขณะที่ compound นับคะแนนทุกลูกต่อเนื่อง
"Recurve เป็นการแข่งขันของฟอร์มการปล่อยลูกที่ดี เรื่องเล็งไม่ค่อยสำคัญ แต่ Compound ต้องเล็งและแม่นยำมากกว่า" ดีแลนกล่าว "เป็นการแข่งขันที่ไม่เหมือนกัน"
ดีแลนบอกว่า ความเป็นจริงก็คือธนู Compound จะต้องได้บรรจุเข้าไปในโอลิมปิคไม่วันใดก็วันหนึ่ง แต่เขาไม่มั่นใจว่าจะทันโอลิมปิคปี 2016 หรือไม่ ไวล์ดอีกด้านหนึ่งไม่เชื่อว่ามันจะเกิดขึ้น เขาสงสัยว่ากลุ่มคนที่มีอำนาจหน้าที่ได้ตั้งใจผลักดันเรื่องนี้กันจริงๆหรือเปล่า
"คนมีอำนาจในวงการยิงธนู เป็นพวกคนหัวโบราณทียิงธนู recurve ผมคิดว่าพวกเขากลัวว่าถ้าธนู compound ได้เข้ามาแล้ว ธนู recurve จะค่อยๆหายไป" ไวล์ดกล่าว
สิบกว่าปีที่แล้ว ไวล์ดเคยพยายามที่จะเปลี่ยนมายิง Recurve เพื่อความฝันที่จะได้ไปแข่งที่โอลิมปิค แต่เขาไม่ผ่านรอบคัดเลือก และกลับมายิง compound อีกครั้ง ซึ่งเขาถนัดกว่า เขายืนยันว่า ธนู compound คืออนาคตของกีฬา ดีแลนเองก็กล่าวว่าธนู compound เติบโตอย่างเห็นได้ชัด
ในอดีต การแข่งขันยิงธนู compound มักจะมีจัดขึ้นเฉพา่ะแค่ในสหรัฐและบางประเทศในยุโรป แต่ในตอนนี้ 40 ประเทศ จาก 150 ประเทศ ซึ่งเป็นสมาชิกกับ FITA มีการจัดแข่งขันยิงธนู compound และ ดีแลนเชื่อว่าตัวเลขจะสูงขึ้นเรื่อยๆ เมื่อประเทศในเอเซียหลายประเทศหันมายิงธนู compound เพิ่มขึ้น การแข่งขันธนู compound จะได้รับการบรรจุเข้าสู่มหกรรมกีฬา Asian Games ปี 2014 เป็นครั้งแรก
โอลิมปิคกำลังตามเขาไม่ทันหรือเปล่า ดี ไวล์ด พ่อของรีโอ ซึ่งเคยเป็นนักยิงธนู compound แชมป์โลกเหมือนกันกล่าว เขาได้ชักจูงให้ลูกชายเริ่มยิงธนูตอนรีโออายุ 12 ตอนนี้ 27 ปีผ่านไป รีโอ ไวล์ด และนักยิงธนู compound คนอื่นๆทั่วโลก ยังคงทำได้แค่นั่งดูเฉยๆ
"ผมรักโอลิมปิค รักมาตลอด ผมขอแค่มีโอกาสได้ไปแข่งที่นั่น ถ้ามันเกิดขึ้นจริงคงจะเป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่เกินกว่าที่จะคิดได้" ไวล์ดกล่าว
. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .
การแปลอาจจะมีการย่อบ้า่งเล็กน้อย บางส่วนอาจจะมีแปลผิดบ้าง สามารถไปอ่านข่าวของจริงได้ตาม link นี้นะครับ
http://www.nytimes.com/2012/08/04/sports/olympics/no-room-at-olympics-for-an-archers-dominant-bow.html?_r=1
ในขณะที่นักกีฬายิงธนูหนึ่งร้อยกว่าชีวิตกำลังแข่งขันกันชิงเหรียญทองโอลิมปิคที่ลอนดอนเป็นเวลาแปดวัน แต่นักยิงธนูอันดับหนึ่งของโลกอีกคน รีโอ ไวล์ด อายุ 39 ปี กลับต้องนั่งดูทีวีอยู่ที่บ้านที่ไอดาโฮ และโอลิมปิคคราวหน้า เกรงว่าเขาก็คงทำได้แค่นั่งดูโอลิมปิคอยู่ที่บ้านอีก
ปัญหาคือธนูที่ไวล์ดใช้ ธนู Compound ในโอลิมปิคธนูที่ใช้แข่งขันคือ Recurve ซึ่งมีโครงสร้างที่เรียบง่าย ซึ่งต้องอาศัยร่างกายของนักธนูในการน้าวสายและต้านแรงดึง แต่ธนู Compound ใช้เทคโนโลยีที่สูงกว่า มีการใช้รอก หรือแคม ในการแบกรับแรงน้าวสาย เพื่อแบ่งเบาภาระของนักยิงธนู
ปกติแล้ว ธนูสองประเภทนี้ จะจัดแข่งควบคู่กันในการแข่งขันใหญ่ๆทั่วโลก หลายรายการ ยกเว้นแต่โอลิมปิค
ทันทีที่การแข่งขันยิงธนูที่โอลิมปิลอนดอนเพิ่งจบสิ้นลง ผู้คนก็เริ่มถามว่าต้องทำอย่างไรถึงจะนำธนู compound เข้ามาเฉิดฉายแสงในโอลิมปิคได้ นักยิงธนู compound อย่างไวล์ดหวังว่าสักวันเขาจะได้แข่งในโอลิมปิค แต่เขาก็รู้ดีว่าคณะกรรมการโอลิมปิคสากลเปลี่ยนแปลงช้ามาก
"พวกเราก็เหมือนเป็นลูกหน้าตาน่าเกลียดที่โดนเก็บมาเลี้ยง" ไวล์ดให้สัมภาษณ์ "มันเป็นเรื่องที่ตลกมาก เพราะธนู compound เป็นที่นิยมมากขึ้นเร็วกว่าธนู Recurve เสียอีก ใครๆเขาก็หยิบธนู compound มายิงกันเยอะแยะ แล้วปัญหามันอยู่ที่ตรงไหน?"
ไวล์ดกล่าวต่อ "เหตุผลมันฟังดูไม่เข้าท่าเลย กีฬาอื่นๆเขาก็ใช้เทคโนโลยีใหม่ๆกันทั้งนั้น ธนูคือกีฬาประเภทเดียวที่ไม่ยอมเปิดรับสิ่งใหม่ๆ แบบบอกว่า โอ้ เสียใจด้วย ธนูคุณมันสมัยใหม่เกินไป"
ทอม ดีเลน เลขาอะไรสักอย่างของสมาคยิงธนูโลก FITA บอกว่า มีความพยายามที่จะผลักดันให้ธนู compound เข้าไปบรรจุในการแข่งขันโอลิมปิคในอนาคต แต่ว่าทางคณะกรรมการโอลิมปิคสากล I.O.C. อ้างว่า การแข่งยิงธนู compound และ recurve ดูเหมือนกันมากเกินไป
เพื่อที่หักล้างเหตุผลนี้ จึงได้มีการปรัปการแข่งขันให้มีความแตกต่างระหว่างการยิงธนูทั้งสองประเภท เพื่อที่จะได้เห็นชัดๆมากขึ้นว่าธนูสองประเภทแตกต่างกันอย่างไร อย่างแรก ตอนนี้ธนู Recurve ยิงแข่งขันกันที่ระยะ 70 เมตร ในขณะที่ compound ยิงแข่งขันกันที่ระยะ 50 เมตร การนับคะแนนในรอบดวลก็แตกต่างกัน Recurve ใช้ระบบ set point ในขณะที่ compound นับคะแนนทุกลูกต่อเนื่อง
"Recurve เป็นการแข่งขันของฟอร์มการปล่อยลูกที่ดี เรื่องเล็งไม่ค่อยสำคัญ แต่ Compound ต้องเล็งและแม่นยำมากกว่า" ดีแลนกล่าว "เป็นการแข่งขันที่ไม่เหมือนกัน"
ดีแลนบอกว่า ความเป็นจริงก็คือธนู Compound จะต้องได้บรรจุเข้าไปในโอลิมปิคไม่วันใดก็วันหนึ่ง แต่เขาไม่มั่นใจว่าจะทันโอลิมปิคปี 2016 หรือไม่ ไวล์ดอีกด้านหนึ่งไม่เชื่อว่ามันจะเกิดขึ้น เขาสงสัยว่ากลุ่มคนที่มีอำนาจหน้าที่ได้ตั้งใจผลักดันเรื่องนี้กันจริงๆหรือเปล่า
"คนมีอำนาจในวงการยิงธนู เป็นพวกคนหัวโบราณทียิงธนู recurve ผมคิดว่าพวกเขากลัวว่าถ้าธนู compound ได้เข้ามาแล้ว ธนู recurve จะค่อยๆหายไป" ไวล์ดกล่าว
สิบกว่าปีที่แล้ว ไวล์ดเคยพยายามที่จะเปลี่ยนมายิง Recurve เพื่อความฝันที่จะได้ไปแข่งที่โอลิมปิค แต่เขาไม่ผ่านรอบคัดเลือก และกลับมายิง compound อีกครั้ง ซึ่งเขาถนัดกว่า เขายืนยันว่า ธนู compound คืออนาคตของกีฬา ดีแลนเองก็กล่าวว่าธนู compound เติบโตอย่างเห็นได้ชัด
ในอดีต การแข่งขันยิงธนู compound มักจะมีจัดขึ้นเฉพา่ะแค่ในสหรัฐและบางประเทศในยุโรป แต่ในตอนนี้ 40 ประเทศ จาก 150 ประเทศ ซึ่งเป็นสมาชิกกับ FITA มีการจัดแข่งขันยิงธนู compound และ ดีแลนเชื่อว่าตัวเลขจะสูงขึ้นเรื่อยๆ เมื่อประเทศในเอเซียหลายประเทศหันมายิงธนู compound เพิ่มขึ้น การแข่งขันธนู compound จะได้รับการบรรจุเข้าสู่มหกรรมกีฬา Asian Games ปี 2014 เป็นครั้งแรก
โอลิมปิคกำลังตามเขาไม่ทันหรือเปล่า ดี ไวล์ด พ่อของรีโอ ซึ่งเคยเป็นนักยิงธนู compound แชมป์โลกเหมือนกันกล่าว เขาได้ชักจูงให้ลูกชายเริ่มยิงธนูตอนรีโออายุ 12 ตอนนี้ 27 ปีผ่านไป รีโอ ไวล์ด และนักยิงธนู compound คนอื่นๆทั่วโลก ยังคงทำได้แค่นั่งดูเฉยๆ
"ผมรักโอลิมปิค รักมาตลอด ผมขอแค่มีโอกาสได้ไปแข่งที่นั่น ถ้ามันเกิดขึ้นจริงคงจะเป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่เกินกว่าที่จะคิดได้" ไวล์ดกล่าว
. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .
การแปลอาจจะมีการย่อบ้า่งเล็กน้อย บางส่วนอาจจะมีแปลผิดบ้าง สามารถไปอ่านข่าวของจริงได้ตาม link นี้นะครับ
http://www.nytimes.com/2012/08/04/sports/olympics/no-room-at-olympics-for-an-archers-dominant-bow.html?_r=1