View Full Version : Draw Force Curve
มาเปิดกระทู้เสวนาเรื่อง Draw Forve curve ครับ
ขออนุญาติ นำ ความเห็น เรื่อง Draw force curve ของ Dr. Oat มาเกริ่นขึ้นนะครับ
กราฟแรงดึง ของสปริงธรรมดา จะเป็นประมาณนี้ครับ ระยะเพิ่มหนึ่งส่วน ใช้แรงเพิ่มหนึ่งส่วน ความสัมพันธ์เป็นเส้นตรง
http://www.freewebs.com/johnske/linearforce-draw.jpg
ลองโบว์ จะเป็นประมาณนี้ครับ โดยรวมจะเหมือนสปริง คือเป็นเกือบเส้นตรง แต่จะเก็บพลังงานได้ดีกว่าสปริงนิดนึง (กราฟโค้งเหนือเส้นตรง) แต่เมื่อถึงจุดหนึ่ง จะเกิดอาการดื้อของคัน คือเพิ่มแรงเข้าไป แต่ไม่ค่อยได้ระยะดึง เป็นอาการที่นักทำธนูเรียกว่าสแตค ช่วงที่สแตคอยู่ที่กี่นิ้ว ขึ้นกับความยาวลิ้มครับ
http://www.freewebs.com/johnske/longbowforce-draw.jpg
รีเคิรฟ จะมีการเก็บพลังงานได้ดีกว่าลองโบว์ แต่ก็แลกด้วย forgivingness ที่ต่ำกว่า (ไม่แสดงในกราฟ) ช่วงที่สแตคจะอยู่ที่กี่นิ้ว ขึ้นกับการออกแบบหูและความยาวลิ้มครับ
http://www.freewebs.com/johnske/recurveforce-draw.jpg
ของแถม กราฟของคอมปาวด์ที่มีรอกทดแรง จะเห็นช่วงท้ายๆ ใช้แรงเพียงนิดเดียวในการรั้งสาย และหลังจากนั้นก็จะดื้อสนิทไปเลย นักยิงคอมปาวด์เรียวว่าวอลล์ และหลายๆคนชอบคุณลักษณะแบบนี้
http://www.freewebs.com/johnske/compoundforce-draw.jpg
http://imageshack.us/a/img692/6839/bracedfulldrawcombined2.jpg
http://imageshack.us/a/img822/4066/p10100131024x768.jpg
http://imageshack.us/a/img837/6375/fdcblanktemplate2.jpg
การตัดสินใจ ในความรู้สึกของการน้าวสายว่า นุ่ม ไม่นุ่ม สมูท ไหลลื่น เป็นความรู้สึกส่วนบุคคล ซึ่งอาจไม่เหมือนกัน
แต่ในเชิงวิชาการ น่าจะเป็นข้อมูลดิบ ประกอบการตัดสินใจ หรือการตีความนั้น
เรื่องบางคันดึงหนัก กระด้าง เวลาปล่อยสายไปแล้ว แรงหายไปไหนหมด ?
ทำเครื่อง เช็คตรวจวัด อย่างไร...
siriwut
09-10-12, 10:16 AM
แล้ววัสดุที่ใช้ทำ limb มีผลด้วยหรือไม่ครับ :confused:
เนื่องจากเห็นที่ขายกันอยู่ที่วัสดุเยอะมาก
ทั้งไม้เมเปิล , ไม้ไผ่ , ไม้วอลนัท , ไฟเบอร์กลาส , คาร์บอน
static df curve วัดง่าย โดยวัดแรงดึงที่ระยะต่างๆ บอกได้คร่าวๆถึงพลังงานที่คันนั้นๆเก็บไว้ได้ บอกได้คร่าวๆถึงระยะน้าวที่เหมาะสม
dynamic df curve วัดยากกว่า เพราะวัดตอนปล่อยสาย บอกได้ว่าคันมีประสิทธิภาพมากน้อย แค่ไหน อาการตอนปล่อยสายน่าจะเป็นอย่างไร และไม่สามารถนำ static df curve มาทำนายได้
โดยทั่วไป df curve จะเป็นงานของข่าง เพื่อใช้ในการออกแบบคัน คันที่จำหน่ายเชิงการค้าทั่วไป มักได้รับการปรับแต่งจนได้ df curve คล้ายๆกันครับ อาจมีแตกต่างไปบ้างเล็กน้อยในคันที่มี reflex มากๆ หรือ deflex มากๆครับ
static df curve วัดง่าย โดยวัดแรงดึงที่ระยะต่างๆ บอกได้คร่าวๆถึงพลังงานที่คันนั้นๆเก็บไว้ได้ บอกได้คร่าวๆถึงระยะน้าวที่เหมาะสม
dynamic df curve วัดยากกว่า เพราะวัดตอนปล่อยสาย บอกได้ว่าคันมีประสิทธิภาพมากน้อย แค่ไหน อาการตอนปล่อยสายน่าจะเป็นอย่างไร และไม่สามารถนำ static df curve มาทำนายได้
โดยทั่วไป df curve จะเป็นงานของข่าง เพื่อใช้ในการออกแบบคัน คันที่จำหน่ายเชิงการค้าทั่วไป มักได้รับการปรับแต่งจนได้ df curve คล้ายๆกันครับ อาจมีแตกต่างไปบ้างเล็กน้อยในคันที่มี reflex มากๆ หรือ deflex มากๆครับ
กำลังคิดอยู่ว่า dynamic หรือ การวัดหลังปล่อยสายธนู ก็สำคัญ Dr.Oat คิดว่าการใช้ เครื่องวัดความเร็วลูกธนูประกอบด้วย น่าจะทำได้ไหมครับ
แล้ววัสดุที่ใช้ทำ limb มีผลด้วยหรือไม่ครับ :confused:
เนื่องจากเห็นที่ขายกันอยู่ที่วัสดุเยอะมาก
ทั้งไม้เมเปิล , ไม้ไผ่ , ไม้วอลนัท , ไฟเบอร์กลาส , คาร์บอน
เรื่อง วัสดุ เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ในความแตกต่างของ Draw force curve หรือ อาจเหมือนกัน ก็ได้
การสรุปในคำถามข้อนี้คือต้องหาข้อมูล มาตอบครับ ตอนนี้ยังไม่มี
ในเบื้องต้น ยกตัวอย่างพอสันนิฐานเกี่ยวกับเรื่องวัสดุ เช่น คาร์บอน และ ไม้ธรรมชาติ คิดว่าวัสดุประเภท คาร์บอน น่าจะคืนตัวเร็วได้ดีกว่า ไม้ธรรมชาติ ในกรณี แรงที่ full draw เท่ากัน คาร์บอนน่าจะส่งลูกออกได้เร็วกว่าครับ
...วัตถุที่มีมวลเบากว่า สามารถทำอัตราเร่งได้เร็วกว่า และใช้พลังงานน้อยกว่า วัตถุที่มีมวลหนักกว่า ในกรณีออกแรงเท่าๆกัน
ผมมีคำถามในใจเกี่ยวกับช่วง หลังการปล่อยสาย ว่าบางครั้ง วัดปอนด์ได้เต็ม แล้ว แรงหายไปไหน หมด
ส่วนตัว นึกถึงองค์ประกอบของ ลิ้ม หรืออุปกรณ์ที่ ติดไปเพิ่ม เช่น พู่เก็บเสียงที่ติดที่สาย Kisser ยางลดแรงสั่นสะเทือน
หรือ ลักษณะทางกายภาพ เช่น ความกว้าง หรือหนาของลิ้ม...น้ำ้หนักของหู ที่ต่อปลายลิ้ม....อันนี้พอเกี่ยวข้องด้วยไหมครับ
http://www.capeoutdoorsports.co.za/conversions/images/skooi4.gif
dynamic df curve วัดยากจริงๆครับ ต้องใช้เครื่องมือเฉพาะ ที่มีความไวและความแม่นยำสูง น่าจะทำเองยากครับ หรือถ้าจะวิเคราะห์จากวิดีโอความเร็วสูง ก็ต้องใช้กล้องพิเศษ
การวัดความเร็วลูก สามารถสื่อถึงประสิทธิภาพการถ่ายพลังงาน (คำนวณได้จาก static df curve) มาเป็นความเร็วลูกธนู (ซึ่งแตกต่างกันได้ ตามน้ำหนักลูก)
แต่ไม่สามารถสื่อถึงลักษณะคาแรกเตอร์ของคันตอนปล่อยลูกได้ครับ
วัสดุแต่ละชนิดที่มีสมบัติเชิงกลแตกต่างกัน รวมทั้งการออกแบบลิ้ม มีผลกับลักษณะคาแรกเตอร์ของคันจริงครับ ส่วนใหญ่แล้ว แบบและวัสดุที่ดีลงตัวมากที่สุด
ดูได้จากธนูแข่งขันรุ่นสูงๆครับ :D
สำหรับคนทำคันแบบ DIY ข้อมูลพวกนี้ก็อาจจะมีประโยชน์ในการเลือกวัสดุและออกแบบคันครับ
Thammaluk
09-10-12, 01:39 PM
ขอเข้ามาดูครับ เพราะเรื่องวิชาการนี่ไม่เหมาะกับผมเป็นอย่างยิ่งครับ
คงเหมาะกับผู้สร้างมากกว่า ไอ้ผมมันแค่ผู้ใช้ครับ :D
ขอเข้ามาดูครับ เพราะเรื่องวิชาการนี่ไม่เหมาะกับผมเป็นอย่างยิ่งครับ
คงเหมาะกับผู้สร้างมากกว่า ไอ้ผมมันแค่ผู้ใช้ครับ :D
แล้วเครื่องวัดความเร็วลูกของท่านล่ะ.....
วิโรจน์
09-10-12, 06:51 PM
ขอตอบตามความคิดของผมเอง
แรงน้าวสายเมื่อปล่อยออกไป แรงจะไปทำให้ปลายลิ้มทั้งสองและท้ายลูกเคลื่อนที่ด้วยความเร็วที่เท่ากัน
ถ้าลิ้มหนักแรงก็ถูกใช้เคลื่อนที่ลิ้มก็มากเหลือให้ลูกน้อย ลูกวิ่งช้า
ถ้าลูกเบาแรงก็เหลือที่ลิ้มมาก ลิ้มก็พังเร็ว
วัสดุไฟเบอร์กลาส และคาร์บอนมีความแข็งแรง รับแรงกดและแรงดึงได้ดี
แต่ที่ระดับความแข็งแรงเท่าๆกัน คาร์บอนจะมีน้ำหนกเบากว่า จึงทำให้ได้ประสิทธิภาพมากกว่า
แต่ไม่ว่า คาร์บอนหรือไฟเบอร์กลาส ก็ไม่อาจใช้เดี่ยวๆ ได้ต้องมีส่วนที่ยืดหยุ่นได้เข้ามาประกอบ
ซึ่งก็คือส่วน core ของลิ้ม ที่โดยมากจะเป็นไม้เพราะเป็นวัสดุที่ยืดหยุ่นสะสมพลังงานได้ในช่วงที่พอเหมาะ
เราไม่สามารถใช้ยาง (ยืดหยุ่นมาก) มาทำ core และไม่สามารถใช้อลูมิเนียม (ยืดหยุ่นน้อย) มาทำ
แม้แต่ไม้เอง ต่างชนิดความรู้สึกก็แตกต่าง
ผมว่าเรื่องตัวเลขต่างๆ มันก็เป็นข้อมูลเบื้องต้น สุดท้ายธนูก็ต้องวัดด้วยความรู้สึกของตัวเราเองอยู่ดี
กระทู้พี่น้ำนี้ น่าสนใจมากครับ ผมมีแนวคิดที่เสนอให้ลองช่วยกันวิเคราะห์
ผมว่าถ้าจะวิเคราะห์ให้รู้ ให้เข้าใจ ก็ต้องดู 2 ระดับ
ระดับ 1 โครงสร้างทางวิศวกรรมภายนอก ได้แก่ รูปร่าง ชั้นต่างๆของลิ้ม ขนาด และ รูปร่าง ....
ระดับ 2 โครงสร้างทางวิศวกรรมภายใน ได้แก่ เส้นใย พันธะโมเลกุล คุณสมบัติวัสดุ ความยืดหยุ่น การคืนตัว แรงเสียดทานภายใน ....
ดูๆไปอาจจะรู้สึกว่ายาก ผมว่ามาเริ่มต้นวิเคราะห์แบบง่ายๆ กัน ก่อนดีกว่า เริ่มต้นไหนดีล่ะ เริ่มจุดที่น่าสนใจสุด ก็คิดเรื่องของลิ้ม โดยเริ่มจากยากไปหาง่าย คือ ลิ้มชั้นเดียว หรือ เนื้อเดียว เริ่มต้นด้วยการวิเคราะห์ว่า
เมื่อหยิบไม้บรรทัดพลาสติกมาตั้งฉากกันพื้น แล้วดันให้งอไปด้านข้าง ปล่อยให้คืนตัว อะไรเป็นตัวทำให้คืนตัว แรงอัด หรือ แรงดึง ....
คำคอบ... ตอนนี้ไม่รู้ พึ่งคิดโจกย์ ถ้ามีคนสนใจ เีดี๋ยวมาต่อครับ
Thammaluk
09-10-12, 07:31 PM
แล้วเครื่องวัดความเร็วลูกของท่านล่ะ.....
อันนั้นมันก็แค่อุปกรณ์จูนธนูอีกอันหนึ่งครับ
เหมือนเครื่องชั่งหัวลูกธนู เหมือน Bow Press เหมือนหกเหลี่ยมไว้ขันโน่นนี่
อย่างผมมีธนูสำรอง ทั้ง 18 และ 50 เมตร รวม 4 คัน
พอผมปรับจูนคันนึงไว้ ลองยิงจนกลุ่มดีละ ผมก็ยิงวัดความเร็วลูกว่าได้เท่าไหร่ไว้
แล้วผมก็หยิบอีกคันมาปรับจูนให้เหมือนคันแรก ลองยิงวัดความเร็วลูก ถ้าน้อยกว่าก็ขันปอนด์เพิ่ม มากกว่าก็คลายปอนด์
อย่างนี้เป็นต้น จะได้ไม่ต้องมานั่งนึกค่าความแข็ง ค่าโน่นค่านี่ให้ปวดหัว
ผมใช้อุปกรณ์ต่างๆ ที่มีขายนำมาใช้เพื่อย่นเวลาก็เท่านั้นเองครับ
กระทู้พี่น้ำนี้ น่าสนใจมากครับ ผมมีแนวคิดที่เสนอให้ลองช่วยกันวิเคราะห์
ผมว่าถ้าจะวิเคราะห์ให้รู้ ให้เข้าใจ ก็ต้องดู 2 ระดับ
ระดับ 1 โครงสร้างทางวิศวกรรมภายนอก ได้แก่ รูปร่าง ชั้นต่างๆของลิ้ม ขนาด และ รูปร่าง ....
ระดับ 2 โครงสร้างทางวิศวกรรมภายใน ได้แก่ เส้นใย พันธะโมเลกุล คุณสมบัติวัสดุ ความยืดหยุ่น การคืนตัว แรงเสียดทานภายใน ....
ดูๆไปอาจจะรู้สึกว่ายาก ผมว่ามาเริ่มต้นวิเคราะห์แบบง่ายๆ กัน ก่อนดีกว่า เริ่มต้นไหนดีล่ะ เริ่มจุดที่น่าสนใจสุด ก็คิดเรื่องของลิ้ม โดยเริ่มจากยากไปหาง่าย คือ ลิ้มชั้นเดียว หรือ เนื้อเดียว เริ่มต้นด้วยการวิเคราะห์ว่า
เมื่อหยิบไม้บรรทัดพลาสติกมาตั้งฉากกันพื้น แล้วดันให้งอไปด้านข้าง ปล่อยให้คืนตัว อะไรเป็นตัวทำให้คืนตัว แรงอัด หรือ แรงดึง ....
คำคอบ... ตอนนี้ไม่รู้ พึ่งคิดโจกย์ ถ้ามีคนสนใจ เีดี๋ยวมาต่อครับ
เรื่องการดัดงอของวัสดุนั้น ทางวัสดุศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์เค้าศึกษาไว้เยอะพอสมควรแล้วครับ จะเป็นวัสดุเดี่ยว หรือวัสดุลามิเนต ก็สามารถทำแบบจำลองได้ค่อนข้างตรง
สำหรับลิ้มธนู ก็สรุปว่าแรงอัดฝั่งเบลลีเป็นตัวหลักที่ใช้ส่งลิ้มให้ดีดด้วยความเร็วสูง
http://www.doitpoms.ac.uk/tlplib/beam_bending/images/bend_diagram2.jpg
ปัญหาหลักๆ คือบ้านเราไม่ค่อยมีคนทำธนูมากพอครับ เลยมีข้อมูลการเปรียบเทียบเรื่องวัสดุต่างๆในเชิงวิชาการน้อยไปหน่อย :(
เรื่องการดัดงอของวัสดุนั้น ทางวัสดุศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์เค้าศึกษาไว้เยอะพอสมควรแล้วครับ จะเป็นวัสดุเดี่ยว หรือวัสดุลามิเนต ก็สามารถทำแบบจำลองได้ค่อนข้างตรง
สำหรับลิ้มธนู ก็สรุปว่าแรงอัดฝั่งเบลลีเป็นตัวหลักที่ใช้ส่งลิ้มให้ดีดด้วยความเร็วสูง
ปัญหาหลักๆ คือบ้านเราไม่ค่อยมีคนทำธนูมากพอครับ เลยมีข้อมูลการเปรียบเทียบเรื่องวัสดุต่างๆในเชิงวิชาการน้อยไปหน่อย :(
ขอบคุณมากครับ Dr. Oat ที่กรุณาหาคำตอบ คือ ผมเองยังไม่ได้เตรียมหาคำตอบเลย ติดทำงานอยู่
ผมมีเป้าหมายกว้างๆ การวิเคราะห์ดังนี้ครับ
1. วิเคราะห์วัสดุและโครงสร้างของลิ้ม เพื่อสร้างฐานข้อมูลสำหรับสร้างลิ้มที่มีแรงดีดตัวสูงสุด แรงเสียดทานต่ำสุด แข็งแรงสุด น้ำหนักเบาสุด
2. วิเคราะห์รูปร่างลิ้มแบบต่างๆ ว่าทำงานต่างกันอย่างไร ในแต่ละแบบมีควรมีอัตราส่วนอย่างไรบ้าง เช่น ช่วงดีดควรอยู่ส่วนไหน ให้ลิ้มส่วนไหนสะสมพลังงานตามระยะดึงของสาย(คือเมื่อมีการดึงสาย ส่วนของลิ้มที่เก็บพลังงานควรอยู่จุดเดียวหรือกระจายตัวไปส่วนอื่น)
3. ออกแบบคันด้วยความรู้ข้างต้น
ส่วนคำถาม จริงๆ แล้วผมเตรียมคำถามเรียงกันดังนี้ ( คำตอบยังไม่ีมีครับ :o )
ส่วนวิเคราะห์วัสดุ
1 เมื่อหยิบไม้บรรทัดพลาสติกมาตั้งฉากกันพื้น แล้วดันให้งอไปด้านข้าง ปล่อยให้คืนตัว อะไรเป็นตัวทำให้คืนตัว แรงอัด หรือ แรงดึง ....
2. ถ้าต้องการให้ไม้บรรทัดดีดตัวดีขึ้น เราควรเสริมชั้นวัสดุอื่นด้านหน้าหรือด้านหลัง หรือทั้ง 2 ด้าน วัสดุที่เสริมควรเป็นแบบยืดหยุ่นหรือไม่ยืดหยุ่น
3. ถ้าเราเพิ่มความหนาของไม้บรรทัดเป็น 2 เท่า โดย 3.1 เพิ่มความหนาโดยตรง 3.2 เพิ่มความหนาโดยใช้ความหนาเดิม 2 แผ่นประกบกัน เราจะได้แรงดีดต่างกันหรือไม่ ซึ่งจริงๆแล้วคิดว่า บางไปก็ไม่ดี หนาไปก็ไม่ดี ถ้าได้ความหนาที่เหมาะสม ถ้ามาซ้อนกัน 2 แผ่นโดยไม่ยึดกันก็น่าจะได้แรงดีดดีกว่าเพิ่มความหนาโดยตรง แต่จะมีปัญหาแรงเสียดทานระหว่างแผ่นก็จะหาวิธีเพิ่มวัสดุชั้นกลางเพื่อลดแรงเสียดทานนั้นเช่น ยาง โฟม แบบแข็ง-อ่อน หนา-บาง อันไหนดีกว่าเป็นต้น และเพิ่มชั้นมากขึ้นเพื่อต้องการแรงดีดจะเป็นอย่างไร
4. เปลี่ยนไปวิเคราะห์เรื่องความกว้างว่ามีผลต่อแรงดีดอย่างไร
5. อัตราส่วนระหว่างความหนาและความกว้าง มีความสัมพันธ์ต่อแรงดีด อย่างไร จุดที่ให้แรงดีดที่ดีที่สุด อยู่ที่อัตราส่วนเท่าไหร่
6. วิเคราะห์วัสดุต่างที่จะนำมาใช้ว่ามีคุณสมบัติ อย่างไร
ส่วนวิเคราะห์โครงสร้าง
1. ออกแบบความหนาของวัสดุตามภาระแรงเค้น โคนหนาปลายเรียว ดีกว่าความหนาคงที่ยังไง
2. ออกแบบลิ้ม long bow เวลาดึงสายพลังงานไปสะสมที่ไหนบ้าง เวลาปล่อยสาย พลังงานสูญเสียไปตรงไหนบ้าง
3. ออกแบบลิ้ม recurve เวลาดึงสายพลังานไปสะสมที่ไหนบ้าง เวลาปล่อยสาย พลังงานสูญเสียไปตรงไหนบ้าง
4. ออกแบบอย่างไร ให้ลิ้มแต่ละแบบมีแรงส่งลูกให้สัำมพันธ์กับความเร็วลูกธนู ไม่ใช่ว่าช่วงต้นส่งแรงแล้วช่วงที่เหลือสายแค่วิ่งตามลูกธนูเป็นต้น
แถมด้วยการวิเคราะห์ลักษณะ compound แต่ละแบบว่าส่งผลให้ลิ้มทำงานได้เปรียบเสียเปรียบอย่างไร
สรุปทั้งหมดนี้ มีแต่คำถามแต่ยังไม่มีคำตอบครับ กะตั้งเป้าแล้วคำตอบทีหลัง แต่ตอนนี้ขอตัวทำงานก่อน ช่วงสอบ ออกข้อสอบแกล้งเด็กก่อนครับ 3 วิชา
ปล ผมคาดว่าตัวผมเองคงตอบได้ไม่หมด หรือ ไม่ได้เลย :crying:
ขอตอบตามความคิดของผมเอง
แรงน้าวสายเมื่อปล่อยออกไป แรงจะไปทำให้ปลายลิ้มทั้งสองและท้ายลูกเคลื่อนที่ด้วยความเร็วที่เท่ากัน
ถ้าลิ้มหนักแรงก็ถูกใช้เคลื่อนที่ลิ้มก็มากเหลือให้ลูกน้อย ลูกวิ่งช้า
ถ้าลูกเบาแรงก็เหลือที่ลิ้มมาก ลิ้มก็พังเร็ว
วัสดุไฟเบอร์กลาส และคาร์บอนมีความแข็งแรง รับแรงกดและแรงดึงได้ดี
แต่ที่ระดับความแข็งแรงเท่าๆกัน คาร์บอนจะมีน้ำหนกเบากว่า จึงทำให้ได้ประสิทธิภาพมากกว่า
แต่ไม่ว่า คาร์บอนหรือไฟเบอร์กลาส ก็ไม่อาจใช้เดี่ยวๆ ได้ต้องมีส่วนที่ยืดหยุ่นได้เข้ามาประกอบ
ซึ่งก็คือส่วน core ของลิ้ม ที่โดยมากจะเป็นไม้เพราะเป็นวัสดุที่ยืดหยุ่นสะสมพลังงานได้ในช่วงที่พอเหมาะ
เราไม่สามารถใช้ยาง (ยืดหยุ่นมาก) มาทำ core และไม่สามารถใช้อลูมิเนียม (ยืดหยุ่นน้อย) มาทำ
แม้แต่ไม้เอง ต่างชนิดความรู้สึกก็แตกต่าง
ผมว่าเรื่องตัวเลขต่างๆ มันก็เป็นข้อมูลเบื้องต้น สุดท้ายธนูก็ต้องวัดด้วยความรู้สึกของตัวเราเองอยู่ดี
เป็นผู้ใช้ก็ดี ผู้สร้างก็ดี ก็ทดลองกันไป
ตัวผมเองใช้ลิ้ม F 4. 48ปอนด์เป็น คาร์บอน กับโฟม. และ F 3. 44 ปอนด์ คาร์บอนกับไม้
ความรู้สึกไม่แตกต่างกันระหว่าง ลิ้มสองชนิด โดยให้ความรู้สึกนุ่มกว่าโดยวัดปอนด์เมื่อน้าวเต็มที่ได้เต็มปอนด์
และได้ลองลิ้ม รุ่นใหม่ F7 42 ปอนด์ มันดุพอๆกัน กับ 48ปอนด์ และโดยความรู้สึกว่าเร็วกว่าแน่ๆ ที่สำคัญทำด้วยวัสดุที่เบากว่ารุ่นแรกๆ
ส่วนลิ้มไม้ลามิเนตhoyt TD 4. 44 ปอนด์ใช้มา20กว่าปี แข็งกระด้างพอๆกับ 48 ปอนด์
วัสดุใหม่ๆทำให้ลูกธนูวิ่งได้เร็วเกินตัวจริงๆ
และเรื่องวัสดุสมัยใหม่ที่ไม่ใช่ไม้ ไม่น่าเชื่อว่าทนมาก สามารถdry fire ได้พันครั้ง (ซึ่งน่าเชื่อถือได้เพราะประเทศอเมริกาอะไรที่โม้เกินจริงมีสิทธิโดนฟ้องร้องกันได้ง่ายครับ)
เคยดูวีดีโอของ Ed Scott ในการทำธนูแบบโบราณ ที่นำเอ็นสัตว์มาแช่น้ำแล้วมาแปะด้านหลังคันธนูไม้ เพื่อเสริมแรงและยืดหยุ่น เคยเห็นเอาเขาควายมาทำธนูแบบเกาหลี
อยากลองยิงธนูแบบนี้บ้างจังครับ
วิโรจน์
09-10-12, 11:37 PM
ขอบคุณมากครับ Dr. Oat ที่กรุณาหาคำตอบ คือ ผมเองยังไม่ได้เตรียมหาคำตอบเลย ติดทำงานอยู่
ผมมีเป้าหมายกว้างๆ การวิเคราะห์ดังนี้ครับ
1. วิเคราะห์วัสดุและโครงสร้างของลิ้ม เพื่อสร้างฐานข้อมูลสำหรับสร้างลิ้มที่มีแรงดีดตัวสูงสุด แรงเสียดทานต่ำสุด แข็งแรงสุด น้ำหนักเบาสุด
2. วิเคราะห์รูปร่างลิ้มแบบต่างๆ ว่าทำงานต่างกันอย่างไร ในแต่ละแบบมีควรมีอัตราส่วนอย่างไรบ้าง เช่น ช่วงดีดควรอยู่ส่วนไหน ให้ลิ้มส่วนไหนสะสมพลังงานตามระยะดึงของสาย(คือเมื่อมีการดึงสาย ส่วนของลิ้มที่เก็บพลังงานควรอยู่จุดเดียวหรือกระจายตัวไปส่วนอื่น)
3. ออกแบบคันด้วยความรู้ข้างต้น
ส่วนคำถาม จริงๆ แล้วผมเตรียมคำถามเรียงกันดังนี้ ( คำตอบยังไม่ีมีครับ :o )
ส่วนวิเคราะห์วัสดุ
1 เมื่อหยิบไม้บรรทัดพลาสติกมาตั้งฉากกันพื้น แล้วดันให้งอไปด้านข้าง ปล่อยให้คืนตัว อะไรเป็นตัวทำให้คืนตัว แรงอัด หรือ แรงดึง ....
2. ถ้าต้องการให้ไม้บรรทัดดีดตัวดีขึ้น เราควรเสริมชั้นวัสดุอื่นด้านหน้าหรือด้านหลัง หรือทั้ง 2 ด้าน วัสดุที่เสริมควรเป็นแบบยืดหยุ่นหรือไม่ยืดหยุ่น
3. ถ้าเราเพิ่มความหนาของไม้บรรทัดเป็น 2 เท่า โดย 3.1 เพิ่มความหนาโดยตรง 3.2 เพิ่มความหนาโดยใช้ความหนาเดิม 2 แผ่นประกบกัน เราจะได้แรงดีดต่างกันหรือไม่ ซึ่งจริงๆแล้วคิดว่า บางไปก็ไม่ดี หนาไปก็ไม่ดี ถ้าได้ความหนาที่เหมาะสม ถ้ามาซ้อนกัน 2 แผ่นโดยไม่ยึดกันก็น่าจะได้แรงดีดดีกว่าเพิ่มความหนาโดยตรง แต่จะมีปัญหาแรงเสียดทานระหว่างแผ่นก็จะหาวิธีเพิ่มวัสดุชั้นกลางเพื่อลดแรงเสียดทานนั้นเช่น ยาง โฟม แบบแข็ง-อ่อน หนา-บาง อันไหนดีกว่าเป็นต้น และเพิ่มชั้นมากขึ้นเพื่อต้องการแรงดีดจะเป็นอย่างไร
4. เปลี่ยนไปวิเคราะห์เรื่องความกว้างว่ามีผลต่อแรงดีดอย่างไร
5. อัตราส่วนระหว่างความหนาและความกว้าง มีความสัมพันธ์ต่อแรงดีด อย่างไร จุดที่ให้แรงดีดที่ดีที่สุด อยู่ที่อัตราส่วนเท่าไหร่
6. วิเคราะห์วัสดุต่างที่จะนำมาใช้ว่ามีคุณสมบัติ อย่างไร
ส่วนวิเคราะห์โครงสร้าง
1. ออกแบบความหนาของวัสดุตามภาระแรงเค้น โคนหนาปลายเรียว ดีกว่าความหนาคงที่ยังไง
2. ออกแบบลิ้ม long bow เวลาดึงสายพลังงานไปสะสมที่ไหนบ้าง เวลาปล่อยสาย พลังงานสูญเสียไปตรงไหนบ้าง
3. ออกแบบลิ้ม recurve เวลาดึงสายพลังานไปสะสมที่ไหนบ้าง เวลาปล่อยสาย พลังงานสูญเสียไปตรงไหนบ้าง
4. ออกแบบอย่างไร ให้ลิ้มแต่ละแบบมีแรงส่งลูกให้สัำมพันธ์กับความเร็วลูกธนู ไม่ใช่ว่าช่วงต้นส่งแรงแล้วช่วงที่เหลือสายแค่วิ่งตามลูกธนูเป็นต้น
แถมด้วยการวิเคราะห์ลักษณะ compound แต่ละแบบว่าส่งผลให้ลิ้มทำงานได้เปรียบเสียเปรียบอย่างไร
สรุปทั้งหมดนี้ มีแต่คำถามแต่ยังไม่มีคำตอบครับ กะตั้งเป้าแล้วคำตอบทีหลัง แต่ตอนนี้ขอตัวทำงานก่อน ช่วงสอบ ออกข้อสอบแกล้งเด็กก่อนครับ 3 วิชา
ปล ผมคาดว่าตัวผมเองคงตอบได้ไม่หมด หรือ ไม่ได้เลย :crying:
ผมว่านะ
คุณลองทำธนูขึ้นมาคันหนึ่งแล้วลองยิงดู
แล้วก็ทำคันใหม่ให้ดีกว่าเดิม
แล้วคุณจะตอบคำถามของคุณได้ในหลายๆ ข้อ
ง่ายกว่า เชื่อผม;)
ผมว่านะ
คุณลองทำธนูขึ้นมาคันหนึ่งแล้วลองยิงดู
แล้วก็ทำคันใหม่ให้ดีกว่าเดิม
แล้วคุณจะตอบคำถามของคุณได้ในหลายๆ ข้อ
ง่ายกว่า เชื่อผม;)
ขอบคุณมากครับ งั้นผมขอยุติกระทู้ของผมครับ
n.s.hunter
10-10-12, 01:42 AM
จากประสบการณ์ส่วนตัวครับ ลิ้มไม้ไผ่แห้งดีดตัวดี แต่ไม่เท่าลิ้มไม้ไผ่ที่ย่างไฟ ยิ่งย่างเกรียมยิ่งดี เกรียมเกินไปก็ไหม้ :p:D อันนี้น่าจะเกี่ยวกับคาร์บอนในเนื้อไม้กับความชื้นความเฉื่อย
โคนลิ้มหนาไล่เรียวบางลงไปเรื่อยๆจนถึงปลาย ถ้าเหมาะสมจะเห็นความโค้งสวยงาม ยิงดีที่สุด คันไม่สะเทือน ไม่เสียพลังงานสะสมมากเท่าปลายหนัก
คันสั้น เพิ่มแรงเครียดให้ลิ้ม ในระยะน้าวสูงสุด จะให้ความเร็วลูกธนูมากกว่าคันที่ยาวว่าในปอนด์เท่าๆกัน ในระยะน้าวเดียวกัน แต่คันยาวจะยิงแม่นกว่า
...ไม่ใช่วิชาการ เป็นความเห็นแบบบ้านๆของ Bow Maker คนหนึ่งเท่านั้นครับ:p:p:p:D
วิโรจน์
12-10-12, 05:43 PM
เป็นผู้ใช้ก็ดี ผู้สร้างก็ดี ก็ทดลองกันไป
ตัวผมเองใช้ลิ้ม F 4. 48ปอนด์เป็น คาร์บอน กับโฟม. และ F 3. 44 ปอนด์ คาร์บอนกับไม้
ความรู้สึกไม่แตกต่างกันระหว่าง ลิ้มสองชนิด โดยให้ความรู้สึกนุ่มกว่าโดยวัดปอนด์เมื่อน้าวเต็มที่ได้เต็มปอนด์
และได้ลองลิ้ม รุ่นใหม่ F7 42 ปอนด์ มันดุพอๆกัน กับ 48ปอนด์ และโดยความรู้สึกว่าเร็วกว่าแน่ๆ ที่สำคัญทำด้วยวัสดุที่เบากว่ารุ่นแรกๆ
ส่วนลิ้มไม้ลามิเนตhoyt TD 4. 44 ปอนด์ใช้มา20กว่าปี แข็งกระด้างพอๆกับ 48 ปอนด์
วัสดุใหม่ๆทำให้ลูกธนูวิ่งได้เร็วเกินตัวจริงๆ
น่าสนใจตรงนี้ครับ
อะไรทำให้ ลิ้ม 42 ปอนด์ ดุดันพอๆ กับ 48 ปอนด์
สั้นกว่าไหมครับ?
branch hight เท่ากันไหมครับ?
น้ำหนักปอนด์เมื่อเริ่มดึง พอๆกันไหมครับ?
น่าสนใจตรงนี้ครับ
อะไรทำให้ ลิ้ม 42 ปอนด์ ดุดันพอๆ กับ 48 ปอนด์
สั้นกว่าไหมครับ?
branch hight เท่ากันไหมครับ?
น้ำหนักปอนด์เมื่อเริ่มดึง พอๆกันไหมครับ?
F 7 วัสดุและน้ำหนักของ Limb เบากว่า (แรงเท่ากัน ลิ้ม F 7 มวลเบากว่า F4 ทำให้ลิ้มเคลื่อนที่เร็วกว่า)
ลิ้ม F 7 ที่ลองยิงจะใช้กับคันธนู Hoyt Riser รุ่น HPX (2012)
ส่วน F4 ที่ใช้ลองใช้กับ คันธนู Hoyt Riser รุ่น FRX (2011)
ยังไม่เคยลอง เอา F7 มาใส่ riser รุ่น FRX แต่สันนิฐานว่าน่าจะให้ผลเหมือนกัน
Riser รุ่น HPX ออกแบบช่วงมือจับ (Grip) ออกมาใกล้สายธนูมากกว่า ( น่าเรียกว่าเป็นแบบ ดีเฟร็ค เกือบคล้ายธนูแบบ ฮังกาเรียน) เมื่อวัด Brace hight จึงสั้นกว่า เมื่อวัดจากธนูรุ่นอื่นๆ แต่ จริงๆ แล้ว เท่ากัน (เพราะเรื่องตำแหน่ง Grip ของ HPX ที่เลื่อนเข้ามา หากเลื่อนกลับไปก็เท่ากัน)
ความรู้สึก เริ่มดึงทั้งสองรุ่นพอๆกันครับ ลิ้มรุ่น F7 รู้สึกเหมือนตึงตลอดเวลา(ไม่นุ่มเหมือน F4)ครับ
สงสัยอะไรอยู่ในใจอยู่ครับ อยากรู็เรื่องด้วยจังครับ
วันนี้อ่านเรื่อง การทำธนู เกี่ยวกับเรื่อง การทำ Draw weight เพิ่งรู้ว่า เขาใช้วิธี กำหนดความกว้าง ของลิ้ม ปอนด์หนัก ลิ้มกว้าง และ ปอนด์เบาก็แคบลงมา
ลิ้มสายเทรดี้ ต่างจาก ลิ้มสายแข่งขัน สายแข่งขันใช้วิธีเพิ่มความหนาของลิ้ม....
กำลังศึกษาลักษณะความยาว และ สัดส่วน ของธนู ชิ้นเดียว ของยี่ห้อต่างๆอยู่ครับ
ผมอยากลองทำคันธนูลามิเนตสักคันครับ..ไม่รู้ต้องเริ่มจากเหลาธนู ไม้ไผ่ หรือ ไม้ลานก่อนหรือเปล่าครับ
....
วิโรจน์
12-10-12, 09:04 PM
F7 เหมือนดึงตลอดเวลา F4 ดึงนุ่ม
แปลว่า F7 ปอนด์ขึ้นเร็ว แต่ F4 ปอนด์ค่อยๆ ขึ้น
แม้ระยะสุดท้าย F7 ปอนด์จะไม่สูงเท่า F4 แต่เ้แรงพอๆ กัน
หากนำลิ้มทั้งสองมาทำ Draw force curve เชื่อว่า F7 จะมีเส้นกราฟที่ชันกว่า F4
จึงได้แรงเท่ากันแม้น้ำหนักสุดท้ายจะน้อยกว่า เส้นกราฟที่ชันกว่าจะมีพื้นที่ใต้กราฟที่มากกว่า
ดังนั้นประสิทธิภาพของธนูจึงน่าจะเท่ากับพื้นที่ใต้กราฟ หาร น้ำหนักดึงระยะสุดท้าย
เปลี่ยนมาเรื่องทำธนู จากที่ผมศึกษามา เทรดดี้ก็ไม่ได้ปรับน้ำหนักปอนด์ที่ความกว้างของลิ้มอย่างเดียวนี่ครับ มีการกำหนดกันที่ความหนาด้วย
ดังตัวอย่างจาก http://www.binghamprojects.com/ เขาขายวัสดุทำธนู ไม้แผ่นที่เขาขายก็มีความกว้างแค่ 2 ขนาด คือ 2" กับ 1.75" แต่ความหนามีหลายขนาด เขาจะมีตารางแสดงว่าทำธนูแบบไหนจะต้องทำหนาเท่าไรจึงจะได้ปอนด์ตามที่ต้องการ
หากอยากทำธนูลามิเนต ก็เรียนลัดได้เลยครับ แต่ถ้าอยากทำไม้ไผ่ ไม้ลานก่อน ก็ได้ แล้วแต่ความอยาก
ไว้เจอแล้วคุยกันดีกว่าครับว่าจะเริ่มอย่างไรดี
Powered by vBulletin® Version 4.2.3 Copyright © 2025 vBulletin Solutions, Inc. All rights reserved.