PDA

View Full Version : ..... สรีกัญชัย .....



ครูหนึ่ง
08-12-12, 11:12 AM
ดาบสรีกัญชัย นับว่าเป็นศัสตราวุธในกลุ่ม เครื่องสัญญลักษณ์ มากกว่า เครื่องสังหาร มันถูกสร้างขึ้นเพื่อ การบูชาและเป็นเครื่องบรรณาการ ดาบสรีกัญชัย พบได้ตามวัฒนธรรมของ ล้านนา ล้านช้าง และ ชนกลุ่มน้อยบางกลุ่ม ซึ่งอาจจะมีลักษณะแตกต่างกันไป....

โดยความเห็นส่วนตัว ผมมองว่า ดาบสรีกัญชัย แม้ว่าจะเป็นเครื่องสัญญลักษณ์ แต่ก็มักถูกนำมาใช้ในการ ฟ้อนดาบหน้าทัพ เพื่อเป็นสิริมงคลเรียกขวัญกำลังใจและเพื่อการให้สัญญาณ ดังนั้น มันจะต้องมีลักษณะของการใช้งานหลงเหลืออยู่ อย่างน้อยก็เพื่อการ ฟ้อน เพราะคงไม่มีใครอยากเอา แท่งดัมเบิล ไปฟ้อนหน้าทัพนานๆเป็นแน่....นับเป็นเรื่องที่น่าสนใจมากในการสร้างดาบสรีกัญชัย

น้ำหนักของดาบสรีกัญชัย ถือว่า ค่อนข้างจะหนักมือ คือ เหมือนหนักทั้งเล่ม แถมยังถูกกำหนดจุดจับกลางด้ามก็ยิ่งหนักกันไปใหญ่ แต่ถ้าหากรู้จักถ่วงสมดุลให้เหมาะสม มันก็เบามือได้เมื่อยามเคลื่อนที่มัน ผมเองแม้จะ ฟ้อนดาบไม่เป็น แต่มันไม่ได้เป็นปัญหาเมื่อเทียบเคียงกับ การรำดาบของสายศรีไตรรัตน์ เพราะ รำช้ากว่ามาก....ดังนั้น หากมันผ่านการรำดาบของ สายศรีไตรรัตน์ ได้ การใช้งานฟ้อนก็ไม่มีปัญหา.....

ดาบเล่มนี้ ลูกค้าส่งใบมาให้ผมประกอบด้าม ใบดาบยาว 19.5 นิ้ว ด้ามยาว 17 นิ้ว ซึ่งเป็นด้ามสัดส่วนเดียวกับ ดาบสรีกัญชัยสมัย ร.7 เป็นงานดุนทองแดง ทุกชิ้นแยกส่วนกันหมดแบบโบราณ เพื่อให้ได้มิติมากขึ้น ด้ามจะโค้งเล็กน้อย พร้อมประกันในเพื่อความแข็งแรง ใช้ชันในการยึดและเสริมความแข็งแรงของชุดดุน และเซ็ทสมดุลให้ตกตรงปลายลายกนกแรกพอดี

นับเฉพาะการประกอบด้ามอย่างเดียวปาเข้าไป 2 วันเต็มๆ....


http://image.free.in.th/z/ik/dscf0978a.jpg (http://pic.free.in.th/id/70643a9130bcb868407f4bd701bc7496)

http://image.free.in.th/z/ii/dscf0996a.jpg (http://pic.free.in.th/id/c4027522c8b3e6d58cf277c981138ed0)

http://image.free.in.th/z/iz/dscf0990a.jpg (http://pic.free.in.th/id/5ce557ab34a25bfb443eed5d10fa5ef4)

http://image.free.in.th/z/il/dscf0988a.jpg (http://pic.free.in.th/id/ff85e217a9db41bd5150796cf0966e18)

oxic
10-12-12, 11:38 PM
สวยงามครับ ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ ครูหนึ่ง

ถ้าครูหนึ่ง เอาแต่รูปมาให้ชม ผมจะเรียกว่า ง้าวสั้นนะนี่ ^^"

ครูหนึ่ง
10-12-12, 11:51 PM
สวยงามครับ ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ ครูหนึ่ง

ถ้าครูหนึ่ง เอาแต่รูปมาให้ชม ผมจะเรียกว่า ง้าวสั้นนะนี่ ^^"

เรียก ง้าว ก็ไม่ผิดครับ เพราะ คนเหนือเขาก็เรียก ดาบง้าว ครับ

ส่วน "สรีกัญชัย" มันเป็นเพียง "สัญลักษณ์ของสิ่งศักดิ์" ครับ มันอาจจะเป็นอะไรก็ได้ ที่ถูกสมมุติขึ้นครับ

มารกิ
11-12-12, 08:13 AM
สวยดี :)

น้าหล่อ
11-12-12, 08:23 AM
แปลกตาดี ... :rolleyes:

น้าสอ
11-12-12, 08:57 AM
อย่างงาม :eek::love::eek:

พยางค์หน้า อ่านว่า สะ-หรี . . . แปลวา่ ต้นโพธิ . . .

รู้แค่นี้ :p

แวบมา
05-01-13, 01:02 AM
ครูหนึ่งใช้คำลูกครึ่งกระมังพี่ๆ เขาถึงงง

น่าจะใช้คำเมืองว่า "สรีกัญไจย" ไปเสียทางเดียวเลย
เพราะทางเหนือเขาไม่มี ช ช้าง ใช้ ครับ
ไปไหนมาไหนเขาขี่ จ๊าง กันทั้งนั้น :rolleyes:

คำคำนี้เป็นคำสมาส แยกได้ ๓ คำ เป็น "สรี" , "กัญ" , "ไจย"
คำแรกสุดอ่านว่า "สะหรี" คำต่อมาอ่านว่า "กั๋น" คำสุดท้ายอ่านว่า "ไจย หรืออีกรูปคือ จัย"

ประเด็นคำคำแรกแปลว่าอะไร
ต้องบอกก่อนว่า คำนี้มาจากภาษาแขก
แขกทางใต้รวมถึงเขมรที่รับวัฒนธรรมแขกใช้คำนี้เรียก เครื่องหมากพลู(โดยเฉพาะใบพลู)
ทางใต้ลางถิ่นก็ออกเสียงว่า "ซือรี" "ส่าหรี" หรือ "สะหรี" เช่นเดียวกันกับคนเมือง แต่เสียงวรรณยุกต์อาจต่างกันบ้าง
คำนี้เมื่อมาถึงสยามภาคกลาง เราก็ใช้เรียกทั้งต้นโพธิ์ และหมากพลู เพราะทั้งสองอย่างก็ล้วนเป็นสัญลักษณ์โดยนัยของสิ่งเดียวกัน
แต่ส่วนใหญ่ในความคุ้นเคยของคนสมัยก่อน เรามักจะใช้ตามแขกเขมรคือใช้เรียกแทนชื่อหมากพลูจนเป็นที่ยอมรับกันมากกว่า
ในระดับราชสำนักก็เช่นคำว่า พานพระศรี หรือชาวบ้านทั่วไปก็รู้จักและใช้คำ บายศรี เรียกกองข้าวรูปใบพลูในงานมงคล
ในขณะที่ต้นโพธิ์ เราก็ใช้คำว่าต้นโพธิ์ไปเลย ไม่ใคร่ใช้คำว่า ต้นศรี
อาจจะเป็นด้วยว่าคำว่าต้นสะหรีที่ชาวเหนือเรียก มาจากคำว่า ต้นศรี(มหา)โพธิ์
คนภาคกลางเราจึงอาจจะเลือกใช้คำว่า โพธิ์ ซึ่งมีความหมายเจาะจงตรงมากกว่าคำนัยอย่าง ศรี ครับ :)

ข้างบนนี้ก็เดาๆ เอาล้วนๆ ผิดถูกก็ขอโทษ โปรดอย่าได้ถือสาครับ :o