View Full Version : เทรดดี้เรื่องมาก.....ทำไมธนูน้าวหนักจัง แต่!ลูกไม่วิ่ง
Dome@259
05-02-13, 01:04 PM
:crying: ทำไมธนูน้าวหนักจัง แต่!ลูกไม่วิ่ง :crying:
บางคนพูดกันแต่น้ำหนักน้าวของธนู ใครที่บ้าพลังก็อยากได้ธนูที่ปอนด์สูงน้าวหนักๆ
โดยมีความเชื่อที่ว่าปอนด์สูงน้าวหนักลูกจะวิ่งไวกว่า (ซึ่งแนวโน้มจะเป็นเช่นนั้น)
แต่จะลืมคิดในเรื่องของประสิทธิถาพของแรงดึงและการดีดลูกธนูในคันธนูนั้นๆ
เราเรียกประสิทธิภาพนี้ว่า Comparative Efficiency ;)
ซึ่งสามารถหาได้โดยการวัดน้ำหนักการน้าวสายจริงๆของคนยิง ชั่งน้ำหนักลูกที่ใช้ยิง และวัดความเร็วลูกที่หลุดจากคันธนู
ลูกธนูที่ใช้ควรมีน้ำหนักมากหน่อยเพื่อเป็น Load ให้คันธนูส่งแรงทั้งหมดมาที่ลูกไม่เหลือแรงไปลงที่ Limb ปกติใช้ 500 gr+
เอาความเร็วลูก หารด้วย น้ำหนักน้าวจริง จะได้ตัวเลขที่บอกถึงประสิทธิภาพของธนูคันนั้น
และถ้าจะเปรียบเทียบธนูแต่ละคันให้ใช้ลูกที่น้ำหนักเท่ากัน(ใช้ลูกเดียวกัน)
และยังเอาผลมาคำนวณหาค่าพลังงานจลน์ (Knetic Enery) ไว้หาน้ำหนักลูกที่เหมาะสมได้อีกครับ
:rolleyes: ผมว่าจะทดลองทำดู มีใครสนใจทดสอบคันธนูด้วยก็ได้นะครับ
นัดกันก่อนจะได้ทำพร้อมกัน เพราะเครื่องวัดความเร็วลูกต้องขอยืมครับ
ดีครับ จะได้รู้ ความสามารถของคันธนูของเราว่าจะเหมาะสมกับลูกเบอร์ไหน ไม่ใช่ขอโตกินเส้นไว้ก่อน 555ขออภัยที่ไม่ยิงยังมาเสนอหน้าครับ:p
siriwut
05-02-13, 01:23 PM
แบบนี้ก็ต้องมีลูกธนูอยู่ชุดเดียว แล้วทดลองโดยการเปลี่ยนคันธนูนะสิครับ
เปิดสวยครับ
เทรดี้ อุปกรณ์น้อย เรื่องมากจริงๆ:p:)
โดนพาดพิง เต็มๆ แต่ผมเชื่อนะครับ ปอนด์มากลูกวิ่งเร็ว จริงๆ ถ้าใช้วัสดุในการทำลิ้ม มีคุณสมบัติ เมทะนี ดีนะ
คันธนูผมเป็น โมเดิล barebow traditional
คัน Hoyt Buffalo riser 19 นิ้ว ลิ้ม F4 หนัก 48 ปอนด์ แต่วัดได้ 58 ปอนด์ ลิ้มคาร์บอน โฟม น่าจะรับประกันเรื่องคุณภาพขิงลิ้มได้ แต่อย่างไรก็ตาม เหนือ F 4 ยังมี F7 เฮ้อ
ลูกธนู x buster 500 หัว 200 เกรน วิ่งเร็วจู้ดเลย (riser สั้น ปอนด์เพิ่ม นิ้วละ 5 ปอนด์)
ยิ่งเอาลิ้ม มาใส่ FRX ยิงด้วยลูกธนู ACE 520 วิ่งปานจรวด....อารมณ์เอามันส์...อารมณป๋า แต่งไว้คุย
ใน Class และกฎของเทรดี้แท้ๆ จึงมีกฎห้าม ใช้คันธนูที่ใช้วัสดุผสม เช่น พวก คาร์บอน โฟม (หรือคันธนูแบบลามิเนต สมัยใหม่) เพราะเอาเปรียบ พวกไม้แท้ๆ ที่เสียเปรียบในเรื่องประสิทธิภาพเรื่องวัสดุ และ แถมยังบังคับให้ใช้ลูกธนูไม้เท่านั้นอีก ..(.หรือไม่ก็เป็น คันธนูแบบชิ้นเดียว เช่น ที่ในการแข่งยิงธนูแบบ เทรดี้ที่ สิงค์โปร)
จะได้รู้ว่าควรเลือกใช้วัสดุใดในการทำคันธนูเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพตามต้องการ..
.คุณภาพและประสิทธิภาพ กับ จำนวนราคาที่ต้องจ่ายออกไปมันสมเหตุสมผลเสมอ
และอยากรู้เหมือนกันว่า คันไม้ไผ่ หรือคันไม้ เปล่าๆ กับ เอาวัสดุอื่นมา back หรือทำ belle แล้วประสิทธิภาพจะเพิ่มขึ้นมากเพียงไร
ในงาน meeting ที่ผ่านมา เห็น เอ็นสัตว์ กับเขาควาย แวบๆ ครับ
Dome@259
05-02-13, 03:35 PM
วัสดุที่ใช้ทำ limb เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ลูกธนูมีความเร็วต่างกันครับ
แต่จุดประสงค์ไม่ได้ต้องการว่า ธนูคันไหนให้ลูกไวกว่าคันไหน
เพียงแค่ต้องการวัดประสิทธิภาพของธนูแต่ละคันเท่านั้น
อย่างน้อยเราก็รู้ว่าธนูของเราเป็นอย่างไร ลูกหนักแค่ไหนถึงจะดี
ด้วยวิธีการวัดและเครื่องมือวัดที่เป็นวิทยาศาสตร์
ไม่ใช่แค่ยืนมองลูกวิ่งแล้วบอกว่าดีหรือไม่ดี
ใครสนใจจะทดสอบเอง หรือฝากให้ทดสอบคันธนูก็ได้ครับ :cool:
Thammaluk
05-02-13, 03:50 PM
ดีครับ จะได้รู้ ความสามารถของคันธนูของเราว่าจะเหมาะสมกับลูกเบอร์ไหน ไม่ใช่ขอโตกินเส้นไว้ก่อน 555ขออภัยที่ไม่ยิงยังมาเสนอหน้าครับ:p
ไปยิงปืนของเรากันต่อดีกว่าครับพี่พระราม 555
Dome@259
05-02-13, 04:12 PM
ไปยิงปืนของเรากันต่อดีกว่าครับพี่พระราม 555
:D กระทืบ LIKE เลยครับ :D:D:D
ผมขอฝากทดสอบ Bob Lee One piece recures 54" ด้วยครับ ขอบคุณครับ
FredBob
05-02-13, 05:44 PM
วัสดุที่ใช้ทำ limb เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ลูกธนูมีความเร็วต่างกันครับ
แต่จุดประสงค์ไม่ได้ต้องการว่า ธนูคันไหนให้ลูกไวกว่าคันไหน
เพียงแค่ต้องการวัดประสิทธิภาพของธนูแต่ละคันเท่านั้น
อย่างน้อยเราก็รู้ว่าธนูของเราเป็นอย่างไร ลูกหนักแค่ไหนถึงจะดี
ด้วยวิธีการวัดและเครื่องมือวัดที่เป็นวิทยาศาสตร์
ไม่ใช่แค่ยืนมองลูกวิ่งแล้วบอกว่าดีหรือไม่ดี
ใครสนใจจะทดสอบเอง หรือฝากให้ทดสอบคันธนูก็ได้ครับ :cool:
คุณโดมกำหนดวันมาได้เลยครับ ถ้าสะดวกไป ผมจะเอาธนูพร้อมลูกที่จูนมาเรียบร้อยไปร่วมทดสอบด้วยครับ
อยากทราบเหมือนกันครับพี่โดม
Dome@259
05-02-13, 06:16 PM
อยากทราบเหมือนกันครับพี่โดม
:) อยากรู้ลงชื่อไว้ครับ จะได้ทราบยอดและนัดวันอีกครั้งครับผม
รบกวนแจ้งคันธนูด้วยก็ดีนะครับ
Dome@259
05-02-13, 06:24 PM
:)รายการคันธนูที่เข้าร่วมทำการทดสอบ:)
1.) Bob Lee Takedown Recurve 40# AMO 56" (โดม)
2.) Bob Lee Takedown Recurve 41# AMO 60" (โดม)
3.) Recurve 38# AMO 68" (Bare Bow) (โดม)
4.) Bob Lee Takedown Recurve Braze 40 # AMO 58" (ปิ๊ก)
5.) Buffalo 24# (พี่น้ำ)
6.) Buffalo F4-48 # (พี่น้ำ)
7.) Buffalo F3-44 # (พี่น้ำ)
8.) FRX F4-48# (พี่น้ำ)
9.) FRX F3-44# (พี่น้ำ)
10.) bear grizzly 35# (พี่น้ำ)
11.) bob lee heavy weight 35# (พี่น้ำ)
12.) Hoyt gold medalist 44# (พี่น้ำ)
13.) Bob lee 40#56'' (คายู่)
14.) Buffalo 35#60" (คายู่)
15.) คันธนูเกาหลี (อ.โอ๊ด)
16.) Falco Storm 40 # AMO 54" (FredBob)
ขอลงชื่อก่อนเลยนะครับ
ปิ๊ก ครับ
ใช้คันธนู Takedown Recurve Braze Red 40 # Limb Length 58"
ใช้ลูกธนู Gold Tip Traditional 3555 Woodgrain
มาปูเสื่อรออ่าน:p
:crying:เสียดายอยู่ต่างจังหวัดไกลมาก ถ้าอยู่ใกล้ๆจะไปด้วยคน เพราะกำลังอยากรู้เรื่องเกี่ยวกับลูกธนูกับธนูปอนด์หนักๆ
Nam26
1.Buffalo 24#
2.Buffalo F4-48 #
3.Buffalo F3-44 #
4.FRX F4-48#
5.FRX F3-44#
6.bear grizzly 35#
7.bob lee heavy weight 35#
8.Hoyt gold medalist 44#
หมดคลังแสงแล้วครับ
ใช้เครื่องปล่อยสายหรือใช้คนปล่อยครับ
กำหนด DL เท่ากันไหมครับ
ผมเอาคันเกาหลีร่วมด้วย ถ้าคันจีนมาทัน จะเอาคันจีนเข้าด้วยครับ :)
Thammaluk
05-02-13, 09:21 PM
ใช้เครื่องปล่อยสายหรือใช้คนปล่อยครับ
กำหนด DL เท่ากันไหมครับ
ตรงนี้ละสำคัญ ;)
ผมเอาด้วยครับ
คายู่ :love:
1. Bob lee 40#56''
2. Buffalo 35#60"
Dome@259
05-02-13, 09:50 PM
:) ตอนแรกตั้งใจว่าจะปล่อยลูกเอง แต่ก็กลัวอารมณ์ในใจเวลาปล่อยเหมือนกันครับ
กำลังคิดอยู่ว่าจะทำเครื่องปล่อยลูกดีหรือไม่? ถ้าทำจะดึงและปล่อยที่ DL 28" ครับ;)
FredBob
05-02-13, 09:51 PM
ขอลองคันนอกกระแสครับ Falco Storm 54" 40 lbs ลูกธนู Goldtip traditional หนัก 360 เกรน
ไม่ได้ต้องการเทียบอะไรครับ แค่อยากรู้สปีดลูกตัวเองเฉยๆ ดังนั้นขอยิงด้วยตัวเองครับ แต่ใครอยากจะลองยิงเล่น ด้วยความยินดีครับ
อยากร่วมด้วยคนครับพี่โดม จะเอาlimb 50ไปให้พี่ช่วยยิงเพราะผมยิงไม่ไหว:(:crying::(
zonbank
06-02-13, 12:08 AM
เค้าไม่รู๊... ม่ายยยรู๊เรื่องงง..... ตีกอล์ฟดีกว่า :cool::cool:
Dome@259
06-02-13, 12:26 AM
อยากร่วมด้วยคนครับพี่โดม จะเอาlimb 50ไปให้พี่ช่วยยิงเพราะผมยิงไม่ไหว:(:crying::(
:) เอามาเลย จัดให้ตามนั้นครับ
movingbox
06-02-13, 01:55 AM
โอ๊ะโอ่ น่าสนใจๆ วันทดสอบต้องไปอยู่ดูด้วยซะแล้ว :D
Tua_Kub
06-02-13, 07:49 AM
ส่ง long bow เข้าประกวดด้วยครับ
ถ้าไม่ใช้เครื่อง เราผูก D loop แล้วใช้รีลีสปล่อยได้ไหมครับ ลูกติดสติกเกอร์ไว้ให้น้าว DL เท่าๆกัน
ยิงลูกมาตรฐาน (แปลว่าลูกที่ทุกๆคันใช้ร่วมกัน) หนักลูกนึง เบาลูกนึง สักห้ารอบสิบรอบ
หลังจากนั้นจะยิงลูกของแต่ละคนแต่ละคันด้วยก็ได้
แล้วเอาผลมานั่งดูกันครับ :)
ดีๆๆ ครับ เจ๋งไปเลยครับพี่โดม;)
Dome@259
06-02-13, 09:12 PM
ถ้าไม่ใช้เครื่อง เราผูก D loop แล้วใช้รีลีสปล่อยได้ไหมครับ ลูกติดสติกเกอร์ไว้ให้น้าว DL เท่าๆกัน
ยิงลูกมาตรฐาน (แปลว่าลูกที่ทุกๆคันใช้ร่วมกัน) หนักลูกนึง เบาลูกนึง สักห้ารอบสิบรอบ
หลังจากนั้นจะยิงลูกของแต่ละคนแต่ละคันด้วยก็ได้
แล้วเอาผลมานั่งดูกันครับ :)
:):) เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งครับ ตกลงใช้วิธีของ อ.โอ๊ด นะครับ
- ผูก D-loop
- ปล่อยด้วยรีรีส
- ลูกชุดเดียวกัน ทำการเก็บข้อมูลโดยการยิงซ้ำ
Dome@259
07-02-13, 01:00 PM
:( ตกลงนัดกันทดสอบ วันอาทิตย์ที่ 10 ก.พ. 55 ที่สนาม AT เวลา 15:00 น. :)
FredBob
07-02-13, 01:59 PM
ขออภัยคุณโดมด้วยครับ ผมติดตรุษจีน ไปไม่ได้แหงๆ ขอรอดูผลทดสอบคันธนูของท่านอื่นๆแล้วกันครับ
ขอส่งภาพ กิจกรรมการทดสอบวันนี้ก่อนนะครับ
วัดน้ำหนัก Draw weight คันธนู ด้วยเครื่องวัดปอนด์ ของ Easton
ทดสอบความเร็วลูกธนู โดยการยิง สามครั้ง แล้วหาค่าเฉลี่ย
บันทึกข้อมูลมาเพื่อวิเคราะห์
http://imageshack.us/a/img28/9072/imageqwi.jpg
http://imageshack.us/a/img11/1520/imagepeuu.jpg
http://imageshack.us/a/img856/892/imagezwl.jpg
http://imageshack.us/a/img221/5968/imagenjt.jpg
คันธนู 13 คัน มียี่ห้อ .....Bear.....Hoyt......Bob Lee......คันธนูเกาหลี และ น้ำหนัก draw weight ต่างกัน
ผลการทดลอง ดร.โอ๊ต จะมาสรุปให้ฟังกันนะครับ คอยชม แล้วคุณจะแปลกใจ !
เป็น workshop ที่สนุกมากครับ มีคันหลายยี่ห้อมาให้ทดสอบ
เสียดายที่ไม่มีคันเมดอินไทยแลนด์มาเลย
อย่างไรก็ดี
เราได้ตัวเลขที่พอจะเอามาใช้ในการประเมินคันเมดอินไทยแลนด์ในอนาคตครับ
ต้องขอขอบพระคุณพี่โดมครับ ที่ช่วยมายิงทดสอบให้
การทดสอบนี้ใช้ลูกคาร์บอนลายไม้น้ำหนักรวม 450 เกรน ของพี่โดม
โดยยิงทดสอบสามลูกเพื่อหาความเร็วเฉลี่ย
อันนี้เป็นตารางค่าตัวเลขที่ได้จากการวัดแรงดึง วัดความเร็ว และค่าที่คำนวณออกมาจากการทดสอบ จะเห็นว่าค่าเบี่ยงเบนของความเร็วที่วัดได้ ส่วนใหญ่น้อยกว่า 1% และไม่เกิน 3% ความเบี่ยงเบนเหล่านี่อาจเกิดได้หลายสาเหตุ ทั้งคนดูระยะดึง ช่วงดีเลย์ของคนดูระยะแล้วบอกคนปล่อย คนปล่อยเอง และมุมองศาการวัด อย่างไรก็ดีความเบี่ยงเบนตรงนี้ไม่มากนักเมื่อเทียบกับการยิงตามปกติของนักกีฬา จึงน่าจะเชื่อถือได้ระดับหนึ่ง
http://i84.photobucket.com/albums/k40/s_issara/speedtest.jpg
ค่าที่น่าสนใจอย่างแรก คงจะเป็นค่าความเร็วลูกต่อปอนด์ที่ใช้ดึง (fps/lb)
ซึ่งสามารถทำให้เทียบกันระหว่างคันได้คร่าวๆ ว่าคันไหนมีความคุ้มค่าแรงดึงมากกว่ากัน ซึ่งเมื่อเอามาวาดกราฟเทียบกับแรงดึงแล้ว จะเห็นอะไรบางอย่าง
คือเมื่อเพิ่มปอนด์ขึ้นไป ความคุ้มค่าหรือความเร็วที่ได้ กลับลดลง
http://i84.photobucket.com/albums/k40/s_issara/fpsDW28.jpg
ในการทดสอบความเร็วเชิงการค้า
แบบ AMO จะใช้ลูก 9 GPP และการทดสอบความเร็วแบบ IBO จะใช้ลูก 5 GPP (เบามากจนอาจเกิดความเสียหายได้ ถ้าเป็นคันวัสดุธรรมชาติ)
แต่เนื่องจากการทดสอบครั้งนี้ใช้ลูกที่น้ำหนักเท่ากันทั้งหมด ดังนั้นถ้าคำนวณโดยใช้น้ำหนักลูก แรงดึง มาคิดด้วยกัน จะได้เป็น ความคุ้มค่าหรือความเร็วที่ได้ จะสูงขึ้น เมื่อเพิ่ม GPP หรือน้ำหนักลูกต่อแรงดึง
http://i84.photobucket.com/albums/k40/s_issara/fpsGPP.jpg
ความน่าสนใจอย่างหนึ่งคือ เมื่อคิดประสิทธิภาพเชิงพลังงาน โดยคิดประสิทธิภาพการเปลี่ยนพลังงานศักย์สปริง (0.5kx2) เป็นพลังงานจลน์ (0.5mv2) กลับพบว่า ประสิทธิภาพของแต่ละคันไม่ได้ต่างกันมากนัก คืออยู่ในช่วง 50-60%
http://i84.photobucket.com/albums/k40/s_issara/EEgpp.jpg
จึงลองลากเส้นค่าประสิทธิภาพ 50% ลงในกราฟความเร็วดู ก็พบว่าแนวโน้มที่เห็นจากกราฟความคุ้มค่าของแรงดึง เป็นไปตามฟังก์ชันความเร็วที่คำนวณจากรากที่สองของพลังงานศักย์นั่นเอง :crying:
ดังนั้นการหาค่าความคุ้มค่าของแรงดึง อาจจะเอามาเทียบระหว่างคันที่ DW ต่างกันมากๆได้ไม่ดีนัก แต่ถ้าเทียบภายในคันเดียวกันเองเพื่อจูนคันจูนลูก (เช่นกรณีใส่หรือถอดพู่ลดเสียง การเปลี่ยนสเปคสาย) หรือเทียบกันระหว่างคันที่แรงดึงเท่ากันแต่โครงสร้าง วัสดุ หรือการออกแบบต่างกัน น่าจะเหมาะสมกว่าครับ
อีกประการหนึ่งคือ คันที่ทดสอบในครั้งนี้ เป็นคันที่มีจำหน่ายในทางการค้า ผลิตโดยกระบวนการและวัสดุที่ผ่านการพัฒนาปรับปรุงและลงทุนมาก ส่วนใหญ่จัดอยู่ในเกรดดีมากถึงดีเยี่ยม ตัวเลขประสิทธิภาพเชิงพลังงาน 50-60% จึงน่าจะเป็นตัวเลขเป้าหมาย ที่กลุ่มนักทำธนูในไทย ควรไปให้ถึง เพื่อเทียบกับธนูระดับสากลให้ได้ครับ :love:
Dome@259
11-02-13, 03:02 PM
:) ขอบคุณอาจารย์โอ๊ดครับ สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล หวังว่าคงเป็นประโยชน์กับผู้สร้างธนูไทยนะครับ :)
ผมว่าถ้าธนูไทยตั้งเป้าหมาย ทำสัดส่วนความเร็วลูกต่อปอนด์ธนูได้สัก 3.5 ขึ้นไปก็ดีเลยครับ
คราวหลังอาจารย์โอ๊ดลองหาการทดสอบธนูมาทำกันใหม่นะครับ เพื่อพัฒนาวงการธนูไทย :bowarrow:
อีกอย่าง มันส์มากกับการยิง ผมก็เพิ่งรู้ว่าผมปล่อยลูกแล้วค่าการเบี่ยงเบนของความเร็วลูกอยู่ประมาณ + - 1%
ถ้าผมปล่อยได้ดีกว่านี้ กลุ่มลูกผมคงดีกว่านี้แน่ :p
:2TU: งานนี้ต้องขอขอบสนามธนู Archery Thai ผู้อนุเคราะห์ให้ยืม เครื่องวัดความเร็วลูก เครื่องวัดน้ำหนักน้าว และสถานที่ในการทดสอบ :2TU:
:2TU::2TU: ขอบคุณครับ :2TU::2TU:
พี่โดมครับ พี่ยิงได้สุดยอดมากๆเลยครับ :confused::eek::)
ดูกราฟแล้วธนูปอนด์หนักๆลูกก็ไม่ได้เร็วกว่า ธนูปอนด์เบากว่า แต่สงสัยนิดนึงธนูปอนด์หนัก วิถีลูกจะวิ่งราบเรียบกว่าธนูปอนด์เบา หรือเปล่าครับ
FredBob
11-02-13, 05:35 PM
ดูกราฟแล้วธนูปอนด์หนักๆลูกก็ไม่ได้เร็วกว่า ธนูปอนด์เบากว่า แต่สงสัยนิดนึงธนูปอนด์หนัก วิถีลูกจะวิ่งราบเรียบกว่าธนูปอนด์เบา หรือเปล่าครับ
ลูกธนู 2 ลูก ยิงออกไปความเร็วตั้งต้นเท่ากัน ลูกเบาตกถึงพื้นก่อนครับ ดังนั้นวิถึลูกของลูกหนักจะราบเรียบกว่า
ลูก 2 ลูกน้ำหนักไม่เท่ากัน แต่จะยิงออกไปให้ได้ความเร็วตั้งต้นเท่ากัน ลูกหนักกว่าต้องถูกยิงออกไปด้วยธนูปอนด์หนักกว่าครับ
มันมีข้อยกเว้นอยู่เหมือนกันครับ แต่ข้อยกเว้นนั้นเหมือนแค่ต้องการจะแย้งเท่านั้นเองครับ
Dome@259
11-02-13, 05:59 PM
http://imageshack.us/a/img11/1520/imagepeuu.jpg
:) ชอบจังแนวไหล่ในภาพนี้กับธนูที่แรงน้าว 55 ปอนด์กว่าๆ โหดมากแต่ก็ทำให้ได้ปรับฟอร์มไปในตัว :)
ในภาพปล่อยลูกไปแล้วนะครับ ตัวโน้มนิดหน่อยเพราะดึงหนักมาก
Dome@259
11-02-13, 06:09 PM
http://imageshack.us/a/img221/5968/imagenjt.jpg
:bowarrow: ภาพนี้ฝากให้มือใหม่ครับ ดูที่มือถือคัน หลังมือ(ตรงสันหมัด) ทำมุมกับคันธนูประมาณ 45 องศา
กับการเซ็ตข้อศอกให้ตรงกับแนวไหล่ สายจะไม่ตีแขนเลย ไม่ต้องใช้อาร์มการ์ดด้วยครับ :D:D
ลูกธนู 2 ลูก ยิงออกไปความเร็วตั้งต้นเท่ากัน ลูกเบาตกถึงพื้นก่อนครับ ดังนั้นวิถึลูกของลูกหนักจะราบเรียบกว่า
ลูก 2 ลูกน้ำหนักไม่เท่ากัน แต่จะยิงออกไปให้ได้ความเร็วตั้งต้นเท่ากัน ลูกหนักกว่าต้องถูกยิงออกไปด้วยธนูปอนด์หนักกว่าครับ
มันมีข้อยกเว้นอยู่เหมือนกันครับ แต่ข้อยกเว้นนั้นเหมือนแค่ต้องการจะแย้งเท่านั้นเองครับ
ขอบคุณครับท่าน FredBob หายสงสัยแล้วครับ:)
Dome@259
11-02-13, 07:36 PM
;) เผื่อใครจะสงสัยว่าการทดสอบนี้อ้างอิงจากที่ไหน เชื่อถือได้หรือไม่ ;)
เราอ้างอิงการทดสอบของ Bowhunting World ที่ใช้ทดสอบเปรียบเทียบธนู Traditional ยี่ห้อต่างๆ
:p อาจารย์โอ๊ด วิเคราะห์ผลได้ละเอียดกว่าเขาอีก :p
http://i1103.photobucket.com/albums/g480/dome1603/BW_DataTableandSpecs.jpg
วิโรจน์
11-02-13, 11:29 PM
เป็นโครงการที่น่าสนใจมาก และผมก็เฝ้าติดตามผลอยู่ วิธีการทดสอบรวมถึงการคำนวณ ต่างๆ แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจค้นคว้ามาอย่างดี ถ้ามีโอกาสผมก็อยากนำธนูไทยทำของผมเข้าร่วมทดสอบด้วย
สำหรับผลการทดสอบ ธนูปอนด์เบาให้ค่า ความเร็ว/ปอนด์ ที่ดีกว่า ซึ่งอาจเหมือนกับรถ ที่วิ่ง 60 กม./ชม. กินน้ำมัน 14 กม./ลิตร แต่พอวิ่ง 120 กม./ชม. กินน้ำมัน 10 กม./ลิตร ซึ่งในความเป็นจริงเราก็คงไม่ต้องการขับรถเพื่อประหยัดน้ำมันอย่างเดียว ดังนั้นการเปรียบเทียบจึงควรเปรียบกับคันธนูที่มี นน.ปอนด์ พอๆ กัน ดังที่ ดร. โอ๊ต กล่าวไว้แล้ว
แต่หากการทดสอบกำหนดให้ ธนูแต่ละคันรับภาระน้ำหนักลูกต่อปอนด์ที่เท่าๆ กันเช่น 10 เกรนต่อปอนด์ โดยการถ่วงน้ำหนักลูกให้ได้ตามกำหนดแล้วยิงวัดความเร็ว เอาความเร็วมาเปรียบเทียบกัน น่าจะทำให้สามารถเปรียบเทียบได้ระหว่างคันธนูที่ปอนด์ต่างกัน ใช่หรือไม่ครับ
อีกประการหนึ่ง ธนูแต่ละคันมีระยะน้าวที่เหมาะสมของตัวเอง ตามที่ได้รับการออกแบบมา ดังนั้นก็น่าจะจัดให้ใช้ระยะน้าวตามภาวะปกติของคันนั้น ในการทดสอบ
อย่างไรก็ตาม ต้องขอขอบคุณทุกท่านสำหรับการทดสอบ ข้อมูลตรงนี้จะเป็นประโยชน์ในการอ้างอิง สำหรับธนูไทยทำต่อไป
ตาเกิ้น
12-02-13, 09:43 AM
ลูกธนู 2 ลูก ยิงออกไปความเร็วตั้งต้นเท่ากัน ลูกเบาตกถึงพื้นก่อนครับ ดังนั้นวิถึลูกของลูกหนักจะราบเรียบกว่า
ลูก 2 ลูกน้ำหนักไม่เท่ากัน แต่จะยิงออกไปให้ได้ความเร็วตั้งต้นเท่ากัน ลูกหนักกว่าต้องถูกยิงออกไปด้วยธนูปอนด์หนักกว่าครับ
มันมีข้อยกเว้นอยู่เหมือนกันครับ แต่ข้อยกเว้นนั้นเหมือนแค่ต้องการจะแย้งเท่านั้นเองครับ
ตามความเข้าใจเชิงฟิสิกส์ของผมที่เรื้อไปมากแล้ว ลูกธนูสองลูกที่มีความเร็วเท่ากัน วิถีของลูกธนูทั้งสองลูกจะเท่ากันครับ เพราะความเร็วแนวราบเท่ากันและความเร็วแนวดิ่งก็เท่ากันด้วย (จำการทดลองที่หอเอนเมืองปิซ่าได้มั๊ยครับ)
ในอีกด้านหนึ่ง ด้วยความเร็วต้นที่เท่ากัน ลูกธนูที่หนักกว่าจะมีพลังงานกลและโมเมนตั้มที่สูงกว่า เมื่อมีแรงต้านของลมที่เท่ากัน(ด้วยสมมุติฐานที่ว่ารูปร่างของลูกธนูทั้งสองนี้เหมือนกัน) ลูกธนูที่หนักกว่าจะมีพลังงานเหลือที่ระยะไกลออกไปมากกว่า ซึ่งอาจจะทำให้วิถีของลูกธนูต่างกันในระยะไกลๆ
เป็นการทดลองและวิเคราะห์ที่เยี่ยมมากเลยครับ
แต่สิ่งที่ต้องคำนึงถึงอีกประเด็นคือการถ่ายทอดพลังงานจากธนูไปสู่ลูกธนูครับ ด้วยลูกธนูที่น้ำหนักเท่ากัน หากลูกธนูค่อนไปทางเบา ธนูปอนด์เบาย่อมถ่ายทอดพลังงานไปสู่ลูกธนูได้เป็นเปอร์เซ็นต์ที่สูงกว่าก่อนที่ลูกจะหลุดพ้นจากสาย หากลูกธนูเบาเกินไปธนูที่ปอนด์หนักกว่าอาจจะถ่ายทอดพลังงานให้ลูกธนูยังไม่ทันหมดก็หลุดจากสายไปเสียก่อน สิ่งที่น่าทดลองอีกมุมหนึ่งคือ ใช้ธนูคันใดคันหนึ่ง เปลี่ยนน้ำหนักลูกธนูแล้ววัดพลังงานที่ได้ออกมาพล็อตกราฟดูครับ
เป็น workshop ที่สนุกมากครับ มีคันหลายยี่ห้อมาให้ทดสอบ
เสียดายที่ไม่มีคันเมดอินไทยแลนด์มาเลย
อย่างไรก็ดี
เราได้ตัวเลขที่พอจะเอามาใช้ในการประเมินคันเมดอินไทยแลนด์ในอนาคตครับ
ต้องขอขอบพระคุณพี่โดมครับ ที่ช่วยมายิงทดสอบให้
การทดสอบนี้ใช้ลูกคาร์บอนลายไม้น้ำหนักรวม 450 เกรน ของพี่โดม
โดยยิงทดสอบสามลูกเพื่อหาความเร็วเฉลี่ย
อันนี้เป็นตารางค่าตัวเลขที่ได้จากการวัดแรงดึง วัดความเร็ว และค่าที่คำนวณออกมาจากการทดสอบ จะเห็นว่าค่าเบี่ยงเบนของความเร็วที่วัดได้ ส่วนใหญ่น้อยกว่า 1% และไม่เกิน 3% ความเบี่ยงเบนเหล่านี่อาจเกิดได้หลายสาเหตุ ทั้งคนดูระยะดึง ช่วงดีเลย์ของคนดูระยะแล้วบอกคนปล่อย คนปล่อยเอง และมุมองศาการวัด อย่างไรก็ดีความเบี่ยงเบนตรงนี้ไม่มากนักเมื่อเทียบกับการยิงตามปกติของนักกีฬา จึงน่าจะเชื่อถือได้ระดับหนึ่ง
http://i84.photobucket.com/albums/k40/s_issara/speedtest.jpg
ลำดับที่ 11 Korean SMG DW 44.5#@28" ทำความเร็วเฉลี่ยได้ 177.33 fps. อ.โอ๊ตยิงแบบ Finger Release หรือใช้ Thumb Ring ครับ
FredBob
12-02-13, 10:10 AM
ตามความเข้าใจเชิงฟิสิกส์ของผมที่เรื้อไปมากแล้ว (จำการทดลองที่หอเอนเมืองปิซ่าได้มั๊ยครับ)
ในอีกด้านหนึ่ง ด้วยความเร็วต้นที่เท่ากัน ลูกธนูที่หนักกว่าจะมีพลังงานกลและโมเมนตั้มที่สูงกว่า เมื่อมีแรงต้านของลมที่เท่ากัน(ด้วยสมมุติฐานที่ว่ารูปร่างของลูกธนูทั้งสองนี้เหมือนกัน) ลูกธนูที่หนักกว่าจะมีพลังงานเหลือที่ระยะไกลออกไปมากกว่า ซึ่งอาจจะทำให้วิถีของลูกธนูต่างกันในระยะไกลๆ
เป็นการทดลองและวิเคราะห์ที่เยี่ยมมากเลยครับ
แต่สิ่งที่ต้องคำนึงถึงอีกประเด็นคือการถ่ายทอดพลังงานจากธนูไปสู่ลูกธนูครับ ด้วยลูกธนูที่น้ำหนักเท่ากัน หากลูกธนูค่อนไปทางเบา ธนูปอนด์เบาย่อมถ่ายทอดพลังงานไปสู่ลูกธนูได้เป็นเปอร์เซ็นต์ที่สูงกว่าก่อนที่ลูกจะหลุดพ้นจากสาย หากลูกธนูเบาเกินไปธนูที่ปอนด์หนักกว่าอาจจะถ่ายทอดพลังงานให้ลูกธนูยังไม่ทันหมดก็หลุดจากสายไปเสียก่อน สิ่งที่น่าทดลองอีกมุมหนึ่งคือ ใช้ธนูคันใดคันหนึ่ง เปลี่ยนน้ำหนักลูกธนูแล้ววัดพลังงานที่ได้ออกมาพล็อตกราฟดูครับ
ที่ว่า "ลูกธนูสองลูกที่มีความเร็วเท่ากัน วิถีของลูกธนูทั้งสองลูกจะเท่ากันครับ เพราะความเร็วแนวราบเท่ากันและความเร็วแนวดิ่งก็เท่ากันด้วย" อันนั้นมีข้อจำกัดว่า ให้คิดแรงที่กระทำต่อลูกธนูแรงเดียวคือแรงโน้มถ่วงโลก แต่ความเป็นจริงแล้วจะมีแรงต้านอากาศ (drag) ที่ทำกับลูกธนูตลอดเวลาของการเคลื่อนที่ ซึ่งถ้าจำไม่ผิด แรงต้านอากาศจะแปรผันตามความเร็วยกกำลัง 3 นี่คือเหตุผลนึงที่ทำไมรถยิ่งวิ่งเร็วยิ่งกินน้ำมันแบบไม่เป็นเชิงเส้น แต่จะกินแบบโฮกๆเลยทีเดียว
แรงต้านอากาศที่กระทำต่อวัตถุที่มีรูปทรงเดียวและเคลื่อนที่ด้วยความเร็วเท่ากันมีค่าเท่ากัน และ
ตามสมการ F = ma ; ในกรณีนี้ F = แรงต้านอากาศ m = น้ำหนักลูกธนู จะเห็นว่า a ซึ่งคืออัตราเร่ง (ในกรณีอัตราเร่งจะติดลบ เนีองจาก F มีทิศทางสวนกับการเคลื่อนที่ของวัตถุ) จะแปรผกผันกับน้ำหนักลูกธนู ซึ่งหมายความว่า ลูกธนูยิ่งหนัก a ยิ่งมีค่าลบน้อย (ความเร็วลดลงต่อวินาทีน้อย) ส่งผลให้วิถึลูกจะราบเรียบกว่าครับ
ลำดับที่ 11 Korean SMG DW 44.5#@28" ทำความเร็วเฉลี่ยได้ 177.33 fps. อ.โอ๊ตยิงแบบ Finger Release หรือใช้ Thumb Ring ครับ
พี่โดมเป็นคนยิง ใช้สามนิ้วเช่นเดียวกับคันอื่นครับ
แต่คันของผมมีหน้าคันแคบ ประกอบกับ brace height ต่ำกว่าคันอื่นอยู่หนึ่งนิ้ว จึงมีช่วง power stroke หรือช่วงที่สายเดินทางมากกว่าคันอื่นนิดหน่อยครับ
ตาเกิ้น
12-02-13, 11:10 AM
ที่ว่า "ลูกธนูสองลูกที่มีความเร็วเท่ากัน วิถีของลูกธนูทั้งสองลูกจะเท่ากันครับ เพราะความเร็วแนวราบเท่ากันและความเร็วแนวดิ่งก็เท่ากันด้วย" อันนั้นมีข้อจำกัดว่า ให้คิดแรงที่กระทำต่อลูกธนูแรงเดียวคือแรงโน้มถ่วงโลก แต่ความเป็นจริงแล้วจะมีแรงต้านอากาศ (drag) ที่ทำกับลูกธนูตลอดเวลาของการเคลื่อนที่ ซึ่งถ้าจำไม่ผิด แรงต้านอากาศจะแปรผันตามความเร็วยกกำลัง 3 นี่คือเหตุผลนึงที่ทำไมรถยิ่งวิ่งเร็วยิ่งกินน้ำมันแบบไม่เป็นเชิงเส้น แต่จะกินแบบโฮกๆเลยทีเดียว
แรงต้านอากาศที่กระทำต่อวัตถุที่มีรูปทรงเดียวและเคลื่อนที่ด้วยความเร็วเท่ากันมีค่าเท่ากัน และ
ตามสมการ F = ma ; ในกรณีนี้ F = แรงต้านอากาศ m = น้ำหนักลูกธนู จะเห็นว่า a ซึ่งคืออัตราเร่ง (ในกรณีอัตราเร่งจะติดลบ เนีองจาก F มีทิศทางสวนกับการเคลื่อนที่ของวัตถุ) จะแปรผกผันกับน้ำหนักลูกธนู ซึ่งหมายความว่า ลูกธนูยิ่งหนัก a ยิ่งมีค่าลบน้อย (ความเร็วลดลงต่อวินาทีน้อย) ส่งผลให้วิถึลูกจะราบเรียบกว่าครับ
:2TU:
เยี่ยมครับอธิบายได้ชัดเจนเลยครับ
เพิ่งรู้ว่าเทดดี้ก็มีเรื่องปวดหัวด้วย นึกว่ามีแต่เกือบโดน กับ ไม่โดน:D
แต่หากการทดสอบกำหนดให้ ธนูแต่ละคันรับภาระน้ำหนักลูกต่อปอนด์ที่เท่าๆ กันเช่น 10 เกรนต่อปอนด์ โดยการถ่วงน้ำหนักลูกให้ได้ตามกำหนดแล้วยิงวัดความเร็ว เอาความเร็วมาเปรียบเทียบกัน น่าจะทำให้สามารถเปรียบเทียบได้ระหว่างคันธนูที่ปอนด์ต่างกัน ใช่หรือไม่ครับ
เราสามารถต่อยอดเล่นได้อีกหลายอย่างครับ
อย่างเช่น ถ้าคิด Efficiency = Ek/Ep
เราจะได้สูตรสุดท้าย Eff. = (gpp x v2)/DL
ซึ่งอาจเอามาลองใช้หาระยะดึง(DL) หรือ gpp (น้ำหนักลูก) ที่เหมาะสมของคันแต่ละแบบหรือใช้วัสดุคนละแบบ และช่วย bowmaker ให้พัฒนางานได้เร็วยิ่งขึ้นครับ
ตาเกิ้น
12-02-13, 01:01 PM
เพิ่งรู้ว่าเทดดี้ก็มีเรื่องปวดหัวด้วย นึกว่ามีแต่เกือบโดน กับ ไม่โดน:D
ผมก็เคยคิดอย่างเดียวกันครับ
ก็ใช่ครับถ้าจะยิงอย่างเดียวคงมีแต่โดนกับไม่โดน แต่ถ้าจะสร้างธนูและพัฒนาให้ดีขึ้นคงต้องมีเรื่องปวดหัวอย่างนี้ด้วยครับ:rolleyes:
พี่โดมเป็นคนยิง ใช้สามนิ้วเช่นเดียวกับคันอื่นครับ
แต่คันของผมมีหน้าคันแคบ ประกอบกับ brace height ต่ำกว่าคันอื่นอยู่หนึ่งนิ้ว จึงมีช่วง power stroke หรือช่วงที่สายเดินทางมากกว่าคันอื่นนิดหน่อยครับ
ตอนนี้ยังนึกเหตุผลไม่ออก แต่จากค่าความเร็วเฉลี่ยที่ได้ ผมคิดว่าน่าจะมีเหตุผลอย่างอื่นประกอบด้วยที่ทำให้ธนูเกาหลีสามารถทำความเร็วสูงกว่าธนูที่มี DW ใกล้เคียงกันถึงขนาดนั้น
ตอนที่ทดสอบอาวุธปืนและกระสุน ผมยิงกระสุนปืนผ่านเครื่องวัดความเร็วเพื่อหาค่า Power Factor โดยที่แน่ใจว่ากระสุนทุกนัดวิ่งเป็นแนวเส้นตรงผ่านเครื่องวัดความเร็ว ซึ่งนั่นทำให้ได้ค่าความเร็วที่ถูกต้องตรงกับความเป็นจริง
ขณะที่ทดสอบยิงลูกธนูจากคันธนูแต่ละคันผ่านเครื่องวีดความเร็ว อ.โอ๊ตแน่ใจไม๊ครับว่าลูกธนูทุกลูกวิ่งเป็นแนวเส้นตรงผ่านเครื่องวัดความเร็ว
ตอนนี้ยังนึกเหตุผลไม่ออก แต่จากค่าความเร็วเฉลี่ยที่ได้ ผมคิดว่าน่าจะมีเหตุผลอย่างอื่นประกอบด้วยที่ทำให้ธนูเกาหลีสามารถทำความเร็วสูงกว่าธนูที่มี DW ใกล้เคียงกันถึงขนาดนั้น
ตอนที่ทดสอบอาวุธปืนและกระสุน ผมยิงกระสุนปืนผ่านเครื่องวัดความเร็วเพื่อหาค่า Power Factor โดยที่แน่ใจว่ากระสุนทุกนัดวิ่งเป็นแนวเส้นตรงผ่านเครื่องวัดความเร็ว ซึ่งนั่นทำให้ได้ค่าความเร็วที่ถูกต้องตรงกับความเป็นจริง
ขณะที่ทดสอบยิงลูกธนูจากคันธนูแต่ละคันผ่านเครื่องวีดความเร็ว อ.โอ๊ตแน่ใจไม๊ครับว่าลูกธนูทุกลูกวิ่งเป็นแนวเส้นตรงผ่านเครื่องวัดความเร็ว
การทดสอบแต่ละครั้ง จะยิงสามลูกที่น้ำหนักใกล้กัน (450, 450, 452 เกรน) ผ่านเสาของเครื่องวัดไปยังแบคสตอปครับ และดูค่าเฉลี่ย
อาจไม่ได้เป็นเส้นตรงเป๊ะ แต่ความคลาดเคลือนไม่น่าจะต่างกันมากนัก เพราะคนยิงก็ยืนที่เดิม และยิงไปจุดเดิม
และถ้ายิงเอียง ความเร็วที่วัดได้ จะต่ำกว่าความเป็นจริงครับ
โดยทั่วไปคันที่มีรีเฟรกซ์หรือการโค้งกลับของลิ้มสูงๆ และลิ้มสั้นๆ มีแนวโน้มที่จะสะสมพลังงานมากขึ้นอยู่แล้วครับ ทำให้ความเร็วลูกสูงกว่า แต่มักจะต้องแลกมาด้วยสมบัติอื่นที่จะลดลงไป เช่นการชดเชยความคลาดเคลื่อนหรือ forgiveness ความคงเส้นคงวาหรือ consistency แม้กระทั่ง ความคงทนหรือ durability ของอุปกรณ์ครับ
Thammaluk
12-02-13, 07:22 PM
เพิ่งรู้ว่าเทดดี้ก็มีเรื่องปวดหัวด้วย นึกว่ามีแต่เกือบโดน กับ ไม่โดน:D
:D :D :D
Dome@259
12-02-13, 11:59 PM
แต่สิ่งที่ต้องคำนึงถึงอีกประเด็นคือการถ่ายทอดพลังงานจากธนูไปสู่ลูกธนูครับ ด้วยลูกธนูที่น้ำหนักเท่ากัน หากลูกธนูค่อนไปทางเบา ธนูปอนด์เบาย่อมถ่ายทอดพลังงานไปสู่ลูกธนูได้เป็นเปอร์เซ็นต์ที่สูงกว่าก่อนที่ลูกจะหลุดพ้นจากสาย หากลูกธนูเบาเกินไปธนูที่ปอนด์หนักกว่าอาจจะถ่ายทอดพลังงานให้ลูกธนูยังไม่ทันหมดก็หลุดจากสายไปเสียก่อน สิ่งที่น่าทดลองอีกมุมหนึ่งคือ ใช้ธนูคันใดคันหนึ่ง เปลี่ยนน้ำหนักลูกธนูแล้ววัดพลังงานที่ได้ออกมาพล็อตกราฟดูครับ
:) เรื่องนี้เห็นด้วยครับ แต่ทดสอบไใม่ทันเริ่มค่ำเสียก่อน กลัวเครื่องวัดความเร็วลูกจะวัดผิดพลาดที่แสงน้อยครับ :)
เพิ่งรู้ว่าเทดดี้ก็มีเรื่องปวดหัวด้วย นึกว่ามีแต่เกือบโดน กับ ไม่โดน:D
พี่ เท่าทีพี่ว่า ก็หัวเราะจนปวดหัวแล้วครับ
เดี๋ยว เสีย สโลแกน ว่า อุปกรณ์น้อย แต่เรื่องเยอะ ครับ
การทดสอบแต่ละครั้ง จะยิงสามลูกที่น้ำหนักใกล้กัน (450, 450, 452 เกรน) ผ่านเสาของเครื่องวัดไปยังแบคสตอปครับ และดูค่าเฉลี่ย
อาจไม่ได้เป็นเส้นตรงเป๊ะ แต่ความคลาดเคลือนไม่น่าจะต่างกันมากนัก เพราะคนยิงก็ยืนที่เดิม และยิงไปจุดเดิม
และถ้ายิงเอียง ความเร็วที่วัดได้ จะต่ำกว่าความเป็นจริงครับ
ต้องขอโทษ อ.โอ๊ตด้วยนะครับที่ตั้งคำถามไม่ค่อยจะชัดเจนสักเท่าไหร่ เอาอย่างนี้นะครับลองดูคลิปนี้กันก่อน
http://www.youtube.com/watch?v=96KGWC0PB6s
คลิปแสดงอาการ Archers Paradox ที่หลายท่านเคยดูกันมาแล้ว ในคลิปจะเห็นว่าเมื่อปล่อยสายธนู ส่วนปลายของลูกธนูจะกระทบกับแผ่นรองแนวตั้งและแนวนอนที่ติดอยู่กับช่องหน้าต่างของคันธนู จากนั้นก็จะวิ่งไปยังเป้าด้วยอาการส่าย
เรื่องที่ผมสงสัยคือ การยิงลูกธนูมาตราฐาน (ตามรูปผมเดาว่าเป็น GT 3555 ไม่ทราบความยาวของก้านลูกธนูและน้ำหนักของหัวลูกธนู) ซึ่งค่อนข้าง Stiff เกินไปสำหรับคันธนูที่มี DW 24.4# และค่อนข้างที่จะ Weak เกินไปสำหรับคันธนูที่มี DW 55.3# อาการส่าย (Archers Paradox) ที่เกิดขึ้นกับลูกธนูที่ยิงออกไปจากคันธนูแต่ละคันที่เข้าร่วมทดสอบจึงไม่เท่ากัน และน่าจะทำให้เกิดการคลาดเคลื่อนในการวัดความเร็วของลูกธนูครับ
:) อาการ wobble หรือการแกว่งของก้านลูก คงจะมีอยู่ไม่มากก็น้อยครับ
แต่เนื่องจากเครื่องวัด ออกแบบมาสำหรับลูกธนู จึงใช้เซนเซอร์แสงแนวกว้างแบบในรูปนี้ครับ
(ภาพแทนครับ)
http://www.3riversarchery.com/images/medium/3080.jpg
โดยเมื่อวัตถุพุ่งผ่านแนวเสา ซึ่งตั้งเป็นตัว v ตามแนวองศาการตรวจจับของเซนเซอร์
จะเกิดสัญญาณเริ่มและหยุดการจับเวลา และจะได้ความเร็วตามแกน z หรือแกนจากคนยิงไปที่เป้า
โดยที่การแกว่งในแกนอื่นๆ ไม่นำมาคิดครับ
การยิงแบบทำซ้ำ เป็นการยืนยันว่ามีความคลาดเคลื่อนมากน้อยแค่ไหน
บางครั้งเครื่องวัดพลาด ความเร็วขึ้นสูงหรือต่ำมากผิดปกติ ไม่เข้าพวก ก็จะตัดค่านั้นออก ไม่นำมาคิดครับ
Dome@259
13-02-13, 09:42 PM
:bowarrow: ขอแสดงความติดเห็นในฐานะคนยิงและในฐานะวิศวกร จากการยิงซ้ำ 3ครั้งแล้วหาค่าเฉลี่ย คือความพยายามที่จะได้ค่าความเร็วลูกที่เป็นค่ากลาง
เพราะมีปัจจัยหลายย่างมากตามที่อาจารย์โอ๊ดอธิบายไว้ข้างบน ซึ่งค่าการเบี่ยงเบนของเครื่องวัดความเร็วลูกก็เป็นปัจจัยหนึ่ง ดังนั้นผมไม่สนใจการ Paradox ของลูก
เพราะผมถือเป็นค่าเฉลี่ย และในสิ่งที่ผมทำ ผมต้องการที่จะดูแนวโน้มและทิศทางของผลการทดลอง ไม่ได้ต้องการค่าวัดที่มีแต่จุดทศนิยม เพราะมันไม่จำเป็นในทางวิศกรรมเลย
และไม่ได้ต้องการบอกว่าธนูคันไหนดีกว่าคันไหน ต้องการให้เป็นองค์ความรู้และเห็นทิศทางในการพัฒนาธนูครับ :bowarrow:
อีกอย่างเครื่องมือวัดทุกชนิด ถ้าเอากันจริงๆต้องผ่านการสอบเทียบและมีใบรับรองผลการสอบเทียบ เดี๋ยวก็มีคนมาถามหาใบรับรองการสอบเทียบอีก
อยากได้ความเห็นในเชิงสร้างสรรค์นะครับ
Thammaluk
13-02-13, 10:35 PM
:D :D :D
Dome@259
13-02-13, 11:25 PM
:D :D :D
:D:D ดำเนินการตามที่ท่านต้องการแล้วนะขอรับ ,P3 ไง :D:D
ไม่ต้องยิ้ม.........
:rolleyes::rolleyes::rolleyes: แล้วได้ข้อสรุปยังไงบ้างหรือเหมือนเดิม.........เทรดดี้เรื่องมาก
Thammaluk
14-02-13, 12:41 AM
:D:D ดำเนินการตามที่ท่านต้องการแล้วนะขอรับ ,P3 ไง :D:D
ไม่ต้องยิ้ม.........
:love: :love: :love:
ขออนุญาตคุยกันในลักษณะแลกเปลี่ยนความรู้กัน และขออนุญาตใช้รูปประกอบของอ.โอ๊ตนะครับ ...
http://img189.imageshack.us/img189/7948/chronograph.jpg
เครื่องวัดความเร็วที่ผมคุ้นเคย (ผมเลิกแข่งยิงปืนมา 4 ปีกว่าแล้ว ไม่แน่ใจว่าปัจุบันมีการผลิตเครื่องวัดความเร็วสำหรับใช้วัดความเร็วของลูกธนูโดยเฉพาะหรือเปล่า) ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 4 ส่วน ( 5 ส่วนถ้านับรวมแหล่งกำเนิดแสงสำหรับทดสอบในที่ร่ม) คือ
1. Diffuser ใช้สำรับกระจายความเข้มของแสงให้ตกกระทบตัวเซนเซอร์อย่างสม่ำเสมอ
2. Guide Wire ใช้เป็นเครื่องหมายบอกขอบเขตที่วัตถุทดสอบจะต้องเคลื่อนที่ผ่าน นอกจากนั้นยังใช้เป็นที่สำหรับติดตั้ง Diffuser และแหล่งกำเนิดแสงในกรณีที่ทดสอบในที่ร่ม
3. Projectile Sensors ทำหน้าที่เป็นสวิทสำหรับเริ่มและจบการบันทึกค่าฯ โดยจะเริ่มและจบการทำงานเมื่อเงาของวัถถุเคลื่อนที่ผ่านเซนเซอร์ตัวที่ 1 และตัวที่ 2
4. Screen ทำหน้าที่แสดงผล
เรื่องเครื่องวัดความเร็ววิธีใช้งานไม่ใช่เครื่องยุ่งยาก ส่วนที่ยุ่งยากอยู่ที่ต้องควบคุมตัวแปรที่ส่งผลต่อการทำงานของเครื่องวัดฯ และตัวแปรจากภายนอก ซึ่งตรงจุดนี้ผมเชื่อว่าคุณโดมระมัดระวังในเรื่องการควบคุมตัวแปรเหล่านี้ดีอยู่แล้ว เห็นได้จากการที่คิดว่าคุณโดมตัดสินใจหยุดการทดสอบเอาไว้ก่อน เนื่องจากสภาพของแสงไม่อำนวย
สรุปก็คือ ใช้ลูกธนูอะไรยิงผ่านเครื่องวัดความเร็ว เครื่องก็จะรายงานผลและรายงานเป็นตัวเลขออกมาตรงตามนั้น ผมไม่ได้สงสัยในกระบวนการทดสอบ หรือต้องการเห็นผลการทดสอบที่ละเอียดระดับจุดทศนิยมครับ
ส่วนคำถามที่ผมถามอ.โอ๊ต เกิดจากความแปลกใจหลังจากที่ได้เห็นรายงานผลการทดสอบ ยกตัวอย่างเช่น ผมเห็นความเร็วเฉลี่ยของธนูที่มี DW 24.4# ทำได้ 118.00 fps. จากประสบการณ์จริงที่เคยเล่นกับธนูที่มี DW ใกล้เคียงกัน (Samick 30# DL 25") ผมรู้สึกว่าตัวเลข 118.00 fps.ช้าเกินไป ตามความคิดของผมๆ เชื่อว่าน่าจะมีสาเหตุมาจากลูกธนู (ซึ่งการจูนลูกธนูก็คงหนีไม่พ้นการเล่นกับ Archers Paradox) จึงได้ตั้งคำถามในลักษณะชวนคุยกับอ.โอ๊ตในทำนองว่าได้มีการคิดเผื่อเอาไว้สำหรับตัวแปรอย่างเช่นเรื่อง Archers Paradox บ้างไม๊, ใช้ลูกธนูที่ค่อนข้าง Stiff จะทำให้วัดค่าความเร็วได้ต่างจากการใช้ลูกธนูที่มีค่า Spine Rate พอดีๆนะ, ถ้าได้มีการเอาตัวแปรเรื่อง Archers Paradox เข้ามาด้วยผลมันอาจจะออกมาอีกอย่างหนึ่งนะ ฯลฯ อะไรทำนองนั้น
และอาจจะเป็นความผิดของตัวผมเอามาตราราฐานของตัวเองมาคิดในขณะที่ดูผลการทดสอบ ซึ่งในขณะนั้นผมคิดว่าถ้าเป็นตัวผมเอง หลังจากที่เห็นตัวเลขความเร็วเฉลี่ยดังกล่าวแล้วผมจะจัดการแก้ที่เหตุคือลูกธนูเป็นอย่างแรก แล้วทำการวัดผลซ้ำอีกครั้งเพื่อดูว่าผลจะออกมาอย่างไร และควรที่จะปรับปรุงในเรื่องใดต่อไป ซึ่งนั่นก็คือคิดนอกประเด็นไปจากที่คณะผู้ทดสอบได้ตั้งประเด็นเอาไว้ว่า "ต้องการให้เป็นองค์ความรู้และเห็นทิศทางในการพัฒนาธนู"
ตรงจุดนี้กระมังครับที่เป็นมุมมองซึ่งแตกต่างกัน และถ้าการมองด้วยมุมมองที่แตกต่างนี้เป็นการไม่สมควร ไม่ควรกระทำ ขอถือโอกาสนี้ฝากคำขอโทษมายังผู้ที่เกี่ยวข้องในการทดสอบผ่านทางกระทู้นี้ด้วยครับ
FredBob
14-02-13, 09:17 AM
ผมเห็นความเร็วเฉลี่ยของธนูที่มี DW 24.4# ทำได้ 118.00 fps. จากประสบการณ์จริงที่เคยเล่นกับธนูที่มี DW ใกล้เคียงกัน (Samick 30# DL 25") ผมรู้สึกว่าตัวเลข 118.00 fps.ช้าเกินไป ตามความคิดของผมๆ เชื่อว่าน่าจะมีสาเหตุมาจากลูกธนู (ซึ่งการจูนลูกธนูก็คงหนีไม่พ้นการเล่นกับ Archers Paradox)
ลูกมันหนักครับ 450 เกรน สำหรับ 24.4# มันหนักไป มันเลยวิ่งช้าครับ
เมื่อกี้คุยกับพี่น้ำ ปรากฏว่ากำลังสนใจเรื่องเดียวกัน คือ nock travel ของคันเทรดดี้ :)
Dome@259
18-02-13, 12:41 PM
เมื่อกี้คุยกับพี่น้ำ ปรากฏว่ากำลังสนใจเรื่องเดียวกัน คือ nock travel ของคันเทรดดี้ :)
:D หาค่า k ของลิ้มเลยดีไหมครับ :D:D
:D หาค่า k ของลิ้มเลยดีไหมครับ :D:D
เรื่องอุปกรณ์ มันมีเล่นอีกเยอะ....ไม่จบไม่สิ้น จริงเลย
ได้แต่อ่านและเขียนมา...ถ้าไม่ได้ทดสอบ ทดลอง เองก็ไม่รู้ไม่เข้าใจ เชื่อตามเขาเขียนไปทุกเรื่อง
เอาผลทดลองมา สนับสนุนอะไรที่ใช่จริงเสมอ อะไรไม่น่าใช่ เพราะอะไร อะไรไม่ใช่เพราะอะไร...หลายหัวดีกว่า หัวเดียวครับ.
ลองเปลี่ยนไปทำเครื่องวัด คน ไปเลยบ้างดีกว่าไหมพี่......:)
สงสัยอยู่เหมือนกันว่า อะไรคือปัจจัย สำคัญในการยิงธนูให้เก่ง และ คะแนนดี
มันจะวัดได้จริง หรือเปล่า .....เนี่ย....:p
Powered by vBulletin® Version 4.2.3 Copyright © 2025 vBulletin Solutions, Inc. All rights reserved.