nam26
10-02-13, 12:12 AM
http://imageshack.us/a/img35/7576/imagevjg.jpg
จำความได้ เมื่อตอนเป็นเด็ก ลูกธนูชุดแรกที่ได้ยิง คือลูกธนู ไม้ ซีดาห์ ติดปีกขนไก่สีสวย ที่สำคัญคือกลิ่นอันหอมหวลของลูกธนู
ฝรั่ง เลยเรียก ลูกธนูประเภทนี้ว่า "อโรม่า แอร์โรว์"
ข้อดี สำหรับลูกธนูชนิดนี้ คือ ราคาถูก เหมาะสำหรับ คันธนูปอนด์ต่ำๆ (แต่จริงๆแล้ว ในเกรดของที่สำหรับยิงธนูปอนด์สูงๆได้ และสั่งทำสี ลายพิเศษ (arrow cresting)ราคาเทียบได้ กับลูกธนู คาร์บอนด์ X10 ได้เลย จริงๆ เปล่าอำ)
ส่วน ข้อเสีย คือ เรื่องความตรงของลูกธนู ที่เมื่อเจออากาศร้อนอย่างบ้านเรา ทำให้ไม้เรื่อง โค้ง โก่ง งอ ทำให้ขาดความแม่นยำในการยิง
และ ที่สำคัญ คือ นักธนูส่วนใหญ่ในบ้านเรา ไม่กล้าใช้เนื่องจากกลัวหักขณะยิง และ พูดกันปากต่อปาก จนทำให้ลูกธนูไม้ กลายเป็นผู้ร้ายไปทันที :( และ ส่วนตัวผมเองจริงๆก็กลัวครับ จึงต้องศึกษาค้นคว้าหาความรู้ก่อน
อย่างไรก็ตาม ในระดับการแข่งขันสากล สำหรับการยิงธนูแบบ เทรดี้ ในส่วนของอุปกรณ์เรื่องลูกธนู กติกายังกำหนดให้ใช้ลูกธนูไม้สำหรับการแข่งขันเท่านั้น
อยากลองมาเขียน แชร์ คุยเรื่องลูกธนูไม้ สำหรับ การยิงธนูแบบ เทรดี้ เพื่อความรู้ ความเข้าใจ และ ใช้ได้อย่างปลอดภัยยิ่งขึ้น
ไม้อะไรบ้างที่นำมาใช้ทำลูกธนูไม้ ได้
ไม้ที่นิยมนำมาทำลูกธนู ได้แก่ ไม้ ซีดาร์ ,Port orford cedar, Douglas Fir ,Ramin, maple, Ash, ไม้สน ชนิดต่างๆ spruce ส่วน ลูกธนูที่ทำจากไม้ไผ่ ต้องให้ท่านผู้ชำนาญ หรือ ดร.โอ้ด มาเล่าต่อ
ลูกธนู ที่ทำเพื่อใช้สำหรับการยิงปอนด์หนักๆ ส่วนใหญมักจะนำไม้หลายชิ้นมาลามิเนต เพื่อ ได้ทั้งน้ำหนักและ Spine ที่เหมาะสม
ลูกธนู ที่จะนำมาใช้จำเป็นต้องตรวจสอบ ค่า spine ด้วยเครื่องวัด spine เสมอ
http://imageshack.us/a/img217/2456/img0671uz.jpg
ส่วนการวางน็อค ก็ต้องวางให้ถูกต้องตามลายไม้
http://imageshack.us/a/img822/6521/grain.gif
เรื่องความแม่นยำของการใช้ลูกธนูไม้ ยังเป็นเรื่องยากอยู่มาก เพราะลูกธนูแต่ละลูกที่ผลิตออกมาแทบจะไม่เหมือนกันทุกลูก แต่ช้าก่อน อย่าเพิ่งสรุปไปว่าจะใช้ไม่ได้เลย ให้ลองยิงหากลุ่มลูกธนูที่เป็นกลุ่ม ส่วนที่แตกกลุ่มไป ก็ให้แยกออกไปเสีย เอาไว้ใช้ซ้อมอย่างอื่นแทน
http://imageshack.us/a/img145/9725/imagekao.jpg
http://imageshack.us/a/img803/3413/imagepon.jpg
http://imageshack.us/a/img6/6355/imagechct.jpg
ได้ลองสั่งลูกธนู ไม้ Spruce ขนาด 11/32 สำหรับ 35-40 ปอนด์ มาทำ arrow cresting เล่น และ เป็นลูกฝึกหัดสำหรับเด็กนักเรียน (คันธนูน้ำหนักระหว่าง 18 - 30 ปอนด์)
เนื่องจากสภาพบังคับ สนามที่ใช้ซ้อมยิง หญ้าสูง ลูกมุดหายหาไม่ค่อยเจอ .(.ปัจจุบันใช้ลูกธนู Jazz ราคาถูก แต่งงอและหักง่าย...ลูกคาร์บอน อิมแพค ทน เหมาะสมดีแต่ราคาแพง )
เลยมาลงที่ลูกไม้ และอยากลองเอามาทำ arrow cresting ด้วย
การประกอบลูกธนู ส่วนท้ายเพื่อติดน็อค ไม่ใช่เอากบเหลาดินสอธรรมดามาเหลาได้ เพราะมุมไม่เหมือนกัน และส่วนหัวลูกธนู ต้องเหลาที่มุม 5 องศาสำหรับใส่ หัวลูกธนู
ผลจากการทดลองยิงครั้งแรก งงมาก เพราะ ลูกธนูพุ่งเร็ว ตรง และ แรง โดยที่ยังไม่ได้ ปรับจูน อะไรเลย ลงตัวพอดี
ตอนแรก ยิงด้วย คันธนู Hoyt Buffalo 24 ปอนด์ ลูกวิ่งดีแล้ว พอมาลอง คันธนู Bob Lee 35 ปอนด์ ยิ่งวิ่งดีใหญ่เลย
พอดีได้ เครื่องมือวัดความเร็วมาวัด สามารถทำได้ ที่ 190-200 ฟุต ต่อวินาที งงกันเป็นแถว...
(เราแอบ โกงนิดนึงไม่ได้ใส่หัวลูกธนู เพราะ หัวที่สั่งมาผิดขนาดใส่ไม่ได้ เลยเหลาหัวแหลมอย่างเดียว เมื่อหัวลูกธนูมาแล้วอยากเปลี่ยนเป็นเบาที่สุดเพราะดูแล้วว่าน่าจะพอดีเลย)
ฟังเสียงหลังจากปล่อยสายธนูไปแล้ว ไม่ได้ดังจนน่าตกใจ.คือส่งพลังงานไปกับลูกหมด คือลูกธนูไม่เบาเกินไป
การยิงโดยวิธีการเอียงคันธนูไปด้านข้างเล็กน้อย แนวลูกธนู อยู่แนวเดียวกับเป้าเลย แค่เผื่อ สูงกับต่ำเท่านั้น
ข้อควรระวัง
อย่าไว้วางใจลูกธนูใหม่ที่สั่งมานัก เพราะ บางลูกอาจ ไม่สมบูรณ์มีรอยแตก ให้ตรวจก่อนทุกครั้ง
การพ่นสี เพื่อทำ arrow Cresting ข้อดีส่วนหนึ่งคือ ทำให้สังเกต รอยแตก ได้ง่าย
แม้ ลูกธนู ที่ยิงไปแล้ว ก็ควรตรวจสอบด้วย บางครั้งเมื่อยิงไปนานๆพบว่า มีรอยแตก เนื่องจาก ลูกธนูอาจกระทบกันที่เป้า หรือ ปักโดน ของแข็งที่เป้า
http://imageshack.us/a/img692/4238/imagebgz.jpg
http://imageshack.us/a/img839/7545/imageiop.jpg
เดี๋ยวชวน ดร.โอ้ตมาเล่าเรื่องลูกไม้ไผ่ด้วยดีกว่า
จำความได้ เมื่อตอนเป็นเด็ก ลูกธนูชุดแรกที่ได้ยิง คือลูกธนู ไม้ ซีดาห์ ติดปีกขนไก่สีสวย ที่สำคัญคือกลิ่นอันหอมหวลของลูกธนู
ฝรั่ง เลยเรียก ลูกธนูประเภทนี้ว่า "อโรม่า แอร์โรว์"
ข้อดี สำหรับลูกธนูชนิดนี้ คือ ราคาถูก เหมาะสำหรับ คันธนูปอนด์ต่ำๆ (แต่จริงๆแล้ว ในเกรดของที่สำหรับยิงธนูปอนด์สูงๆได้ และสั่งทำสี ลายพิเศษ (arrow cresting)ราคาเทียบได้ กับลูกธนู คาร์บอนด์ X10 ได้เลย จริงๆ เปล่าอำ)
ส่วน ข้อเสีย คือ เรื่องความตรงของลูกธนู ที่เมื่อเจออากาศร้อนอย่างบ้านเรา ทำให้ไม้เรื่อง โค้ง โก่ง งอ ทำให้ขาดความแม่นยำในการยิง
และ ที่สำคัญ คือ นักธนูส่วนใหญ่ในบ้านเรา ไม่กล้าใช้เนื่องจากกลัวหักขณะยิง และ พูดกันปากต่อปาก จนทำให้ลูกธนูไม้ กลายเป็นผู้ร้ายไปทันที :( และ ส่วนตัวผมเองจริงๆก็กลัวครับ จึงต้องศึกษาค้นคว้าหาความรู้ก่อน
อย่างไรก็ตาม ในระดับการแข่งขันสากล สำหรับการยิงธนูแบบ เทรดี้ ในส่วนของอุปกรณ์เรื่องลูกธนู กติกายังกำหนดให้ใช้ลูกธนูไม้สำหรับการแข่งขันเท่านั้น
อยากลองมาเขียน แชร์ คุยเรื่องลูกธนูไม้ สำหรับ การยิงธนูแบบ เทรดี้ เพื่อความรู้ ความเข้าใจ และ ใช้ได้อย่างปลอดภัยยิ่งขึ้น
ไม้อะไรบ้างที่นำมาใช้ทำลูกธนูไม้ ได้
ไม้ที่นิยมนำมาทำลูกธนู ได้แก่ ไม้ ซีดาร์ ,Port orford cedar, Douglas Fir ,Ramin, maple, Ash, ไม้สน ชนิดต่างๆ spruce ส่วน ลูกธนูที่ทำจากไม้ไผ่ ต้องให้ท่านผู้ชำนาญ หรือ ดร.โอ้ด มาเล่าต่อ
ลูกธนู ที่ทำเพื่อใช้สำหรับการยิงปอนด์หนักๆ ส่วนใหญมักจะนำไม้หลายชิ้นมาลามิเนต เพื่อ ได้ทั้งน้ำหนักและ Spine ที่เหมาะสม
ลูกธนู ที่จะนำมาใช้จำเป็นต้องตรวจสอบ ค่า spine ด้วยเครื่องวัด spine เสมอ
http://imageshack.us/a/img217/2456/img0671uz.jpg
ส่วนการวางน็อค ก็ต้องวางให้ถูกต้องตามลายไม้
http://imageshack.us/a/img822/6521/grain.gif
เรื่องความแม่นยำของการใช้ลูกธนูไม้ ยังเป็นเรื่องยากอยู่มาก เพราะลูกธนูแต่ละลูกที่ผลิตออกมาแทบจะไม่เหมือนกันทุกลูก แต่ช้าก่อน อย่าเพิ่งสรุปไปว่าจะใช้ไม่ได้เลย ให้ลองยิงหากลุ่มลูกธนูที่เป็นกลุ่ม ส่วนที่แตกกลุ่มไป ก็ให้แยกออกไปเสีย เอาไว้ใช้ซ้อมอย่างอื่นแทน
http://imageshack.us/a/img145/9725/imagekao.jpg
http://imageshack.us/a/img803/3413/imagepon.jpg
http://imageshack.us/a/img6/6355/imagechct.jpg
ได้ลองสั่งลูกธนู ไม้ Spruce ขนาด 11/32 สำหรับ 35-40 ปอนด์ มาทำ arrow cresting เล่น และ เป็นลูกฝึกหัดสำหรับเด็กนักเรียน (คันธนูน้ำหนักระหว่าง 18 - 30 ปอนด์)
เนื่องจากสภาพบังคับ สนามที่ใช้ซ้อมยิง หญ้าสูง ลูกมุดหายหาไม่ค่อยเจอ .(.ปัจจุบันใช้ลูกธนู Jazz ราคาถูก แต่งงอและหักง่าย...ลูกคาร์บอน อิมแพค ทน เหมาะสมดีแต่ราคาแพง )
เลยมาลงที่ลูกไม้ และอยากลองเอามาทำ arrow cresting ด้วย
การประกอบลูกธนู ส่วนท้ายเพื่อติดน็อค ไม่ใช่เอากบเหลาดินสอธรรมดามาเหลาได้ เพราะมุมไม่เหมือนกัน และส่วนหัวลูกธนู ต้องเหลาที่มุม 5 องศาสำหรับใส่ หัวลูกธนู
ผลจากการทดลองยิงครั้งแรก งงมาก เพราะ ลูกธนูพุ่งเร็ว ตรง และ แรง โดยที่ยังไม่ได้ ปรับจูน อะไรเลย ลงตัวพอดี
ตอนแรก ยิงด้วย คันธนู Hoyt Buffalo 24 ปอนด์ ลูกวิ่งดีแล้ว พอมาลอง คันธนู Bob Lee 35 ปอนด์ ยิ่งวิ่งดีใหญ่เลย
พอดีได้ เครื่องมือวัดความเร็วมาวัด สามารถทำได้ ที่ 190-200 ฟุต ต่อวินาที งงกันเป็นแถว...
(เราแอบ โกงนิดนึงไม่ได้ใส่หัวลูกธนู เพราะ หัวที่สั่งมาผิดขนาดใส่ไม่ได้ เลยเหลาหัวแหลมอย่างเดียว เมื่อหัวลูกธนูมาแล้วอยากเปลี่ยนเป็นเบาที่สุดเพราะดูแล้วว่าน่าจะพอดีเลย)
ฟังเสียงหลังจากปล่อยสายธนูไปแล้ว ไม่ได้ดังจนน่าตกใจ.คือส่งพลังงานไปกับลูกหมด คือลูกธนูไม่เบาเกินไป
การยิงโดยวิธีการเอียงคันธนูไปด้านข้างเล็กน้อย แนวลูกธนู อยู่แนวเดียวกับเป้าเลย แค่เผื่อ สูงกับต่ำเท่านั้น
ข้อควรระวัง
อย่าไว้วางใจลูกธนูใหม่ที่สั่งมานัก เพราะ บางลูกอาจ ไม่สมบูรณ์มีรอยแตก ให้ตรวจก่อนทุกครั้ง
การพ่นสี เพื่อทำ arrow Cresting ข้อดีส่วนหนึ่งคือ ทำให้สังเกต รอยแตก ได้ง่าย
แม้ ลูกธนู ที่ยิงไปแล้ว ก็ควรตรวจสอบด้วย บางครั้งเมื่อยิงไปนานๆพบว่า มีรอยแตก เนื่องจาก ลูกธนูอาจกระทบกันที่เป้า หรือ ปักโดน ของแข็งที่เป้า
http://imageshack.us/a/img692/4238/imagebgz.jpg
http://imageshack.us/a/img839/7545/imageiop.jpg
เดี๋ยวชวน ดร.โอ้ตมาเล่าเรื่องลูกไม้ไผ่ด้วยดีกว่า