PDA

View Full Version : Archery technique : ความสมดุลย์ลูกธนู : FOC



nam26
16-03-13, 01:16 PM
Front of Center ความสมดุลของลูกธนู

ความสมดุลของลูกธนู คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร มีวิธีการหาอย่างไร และมีวิธีการปรับแก้ ความสมดุลของลูกธนูอย่างไร nam26 ขอ review มานำเสนอและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้วยครับ :)

http://imageshack.us/a/img18/1548/imagesmsk.jpg
อุปกรณ์หาความสมดุลย์ครับ หรือ จะใช้ คลิ๊บแบบ beiter ก็ได้ครับ


ความสมดุลของลูกธนู คือ จุดที่ลูกธนูมีความสมดุล

Front of center คือ จุดสมดุลของลูกธนู(มาทางด้านหัวลูกธนู) จากจุดกลางของความยาวลูกธนู

การปรับแต่งให้ลูกธนูมีจุดศูนย์ถ่วงไปด้านหน้า ในระยะที่เหมาะสม มีความสำคัญ คือ ทำให้ลูกธนูเคลื่อนที่ในอากาศได้ดี และ มีความแม่นยำขึ้น

http://imageshack.us/a/img838/7748/imagectzi.jpg


ลูกธนูที่มีจุดสมดุลอยู่ตรงกลางลูกธนูพอดี (ภาพA) เมื่อเจอแรงลมพัด ทำให้เกิดอาการ ลอย (Floating) ออกแนวได้ง่าย มากกว่า ลูกธนูที่ มีจุดสมดุลมาด้านหน้า
ลูกธนูมี FOC หรือ จุดศูนย์ถ่วงมาด้านหน้า แม้ส่วนด้านท้ายอาจนอกแนวบ้างในกรณีโดนลม แต่ในส่วนหน้าที่หนักกว่าจะยังคงรักษาทิศทางให้อยู่ในแนวได้ (ภาพ B)


FOC มีความสำคัญมากในการยิงธนูระยะไกล เช่น ระบบ World Archery ที่ยิงระยะไกลสุด ถึง 90 เมตร ส่วนสำหรับในการยิงใกล้ ระบบ indoor ข้อมูลจาก Easton archery ได้บอกว่า FOC ไม่สำคัญเท่า ปัจจัยจากเรื่องอื่นๆ แต่ส่วนตัวผมเองคิดว่า มันสำคัญที่เราจะต้องรู้ ใส่ใจ และทราบค่า FOC ของลูกธนูเราที่ใช้ยิงก่อนว่า เท่าไหร่ และปรับให้ได้ตามเกณฑ์ ก่อนที่จะปรับแต่งเรื่องอื่นต่อไป

http://imageshack.us/a/img10/1410/imageafuu.jpg


วิธีการหาค่า FOC (Front of center)

L = ความยาวลูกธนู ให้วัดจากร่องNock ถึงปลายสุดก้าน Shaft (ไม่ใช่ถึงปลายลูกธนู)
A = ความยาวจากร่อง Nock ถึงจุดสมดุลของลูกธนู

สูตร

100 X (A-(l/2) แล้ว หารด้วย ความยาวลูกธนูอีกครั้งหนึ่ง

FOC=(100×(A-(L÷2) ))/L

Easton Archery แนะนำว่า FOC ที่เหมาะสม ควรเป็นดังนี้

ลูกอลูมิเนียม ควรอยู่ที่ 7-9 %
ลูก ACC ควรอยู่ทีประมาณ 9-11%
ลูก ACE อยู่ที่ประมาณ 11-16 %

แต่เท่าที่ทราบ ตอนนี้ หลายสำนักเริ่มมีสูตร การถ่วงให้มี FOC มากกว่าปกติ เยอะกว่าเกณฑ์ที่ ทางโรงงาน Easton กำหนด

นักยิงธนู ที่สนใจก็ควรติดตามหา สูตรของนักกีฬาในดวงใจกันเอง ผมแค่นำเสนอวิธีการหาเท่านั้นครับ

เทคนิคในการปรับ FOC ของ Mr.Kim Hyung Tak ที่ลือเรื่อง ธนู

ท่านใช้ สองวิธีในการปรับแต่ง FOC คือ เปลี่ยนความยาวลูกธนู และ การลดหรือเพิ่มน้ำหนักที่หัวลูกธนู

โดยที่วิธีการปรับเปลี่ยนน้ำหนักที่หัวลูกธนู สามารถเปลี่ยนค่า FOC ได้มากกว่าวิธีการตัดลูกธนู

การเปลี่ยนความยาวลูกธนู
ลูก 28 นิ้ว –X10 เบอร์550 – bow weight 40# - point weight 110grain ค่า FOC = 11.4%
ลูก 28.5 นิ้ว –X10 เบอร์550 – bow weight 40# - point weight 110grain ค่า FOC = 11.2%ลูก 29 นิ้ว –X10 เบอร์550 – bow weight 40# - point weight 110grain ค่า FOC = 11.1%

การเปลี่ยนน้ำหนักหัวลูกธนู

ลูก 28 นิ้ว –X10 เบอร์550 – bow weight 40# - point weight 120grain ค่า FOC = 13.6%ลูก 28 นิ้ว –X10 เบอร์550 – bow weight 40# - point weight 110grain ค่า FOC = 12.5%
ลูก 28 นิ้ว –X10 เบอร์550 – bow weight 40# - point weight 100grain ค่า FOC = 11.4%ลูก 28 นิ้ว –X10 เบอร์550 – bow weight 40# - point weight 90grain ค่า FOC = 10.1%


ในการยิงธนูระบบในร่ม ยิงระยะ 18 เมตร เรานำความรู้ในการปรับแต่งลูกธนูมาเล่นกันมาก

เพื่อหวังเพิ่มคะแนนในการยิงจากอุปกรณ์ที่ใช้ปกติ แม้เพียงไม่กี่คะแนน

เช่น การใช้ลูกธนูที่ไม่ตรงกับตารางที่ทางโรงงานแนะนำให้อย่างเหมาะสมกับ เช่น ค่า Arrow spine น้ำหนักน้าว และระยะน้าว

ในสายตาผมคิดว่าเป็นยุคทองของการนำความรู้ทุกเรื่องของยิงธนูมาประยุกต์ใช้ในการปรับแต่งเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย

เมื่อเราออกนอกกรอบที่ทางโรงงานกำหนดไปแล้ว มันจะเป็นเรื่อง แต่ละบุคคลไปล้วนๆ ที่ต้องใช้เวลาทดลองมากกว่าจะลงตัว

เพราะ

แต่ละเรื่องมันเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กันหมด บางครั้ง อาจมีปัจจัยเกี่ยวข้องมากกว่า สองอย่าง เช่น ลูกธนูอ่อนไป ตัดลูกธนูสั้น หรือถ่วงหัวเพิ่ม ลูกธนูแข็งขึ้น ปรับ punger ให้แข็งขึ้นหรืออ่อนลง....ฯลฯ


สำหรับนักกีฬายิงธนู เขาแบ่งวงรอบปีในการฝึกซ้อมเป็นช่วงๆ เช่น เริ่ม ช่วงปรับแต่งอุปกรณ์ยิงธนู ช่วงการฝึกซ้อมฟอร์มทักษะการยิงธนู การประลอง และจนถึงช่วงการแข่งขัน และ พัก Off season
เขาพยายามทำเป้าหมายหลักแต่ละช่วงให้เรียบร้อย และสำเร็จ เช่น ไม่เน้นปรับอุปกรณ์ในช่วงการฝึกซ้อมฟอร์มการยิง ไม่ปรับแต่งอุปกรณ์ หรือ แก้ฟอร์มการยิงในช่วงการแข่งขัน...
ทดลองเล่นดูกันครับ หรือ แชร์ประสบการณ์กันบ้างว่าเป็นอย่างไร

ข้อมูลลูกธนูผม หลังจากทราบค่า FOC แล้ว มันช่วยผมวิเคราะห์หาสาเหตุ บางเรื่องของผมที่คาใจอยู่ครับ

X-buster 500 ยาว 28.25นิ้ว หัวหนัก 200 เกรน ปีกขนนกยาว 5.5นิ้ว ติดแบบ helical leftwing FOC = 12.38%
Eclip 2315 ยาว 31.5 นิ้ว หัวหนัก xxx เกรน ปีกขนนกยาว 5.5นิ้ว ติดแบบ helical leftwing FOC = 13.49%
Fatboy500 ยาว 28 นิ้ว หัวหนัก xxx เกรน ปีกขนนกยาว 4 นิ้ว FOC = 20 %
Easton ACE 520 ยาว 27.25นิ้ว หัวหนัก 120 เกรน ปีกspinwing 1 ¾ นิ้ว ติดแบบ FOC = 19 %

อ้างอิง:
Easton archery: Arrow tuning and maintance Guide
Kim Hyung Tak Archery

HELLBOY
17-03-13, 02:09 AM
ขอเพิ่มเติมให้อีกเล็กน้อยครับ

ปัจจุบันเรื่องของค่าFOC.นั้นได้ถูกลืมหายไปจากTarget shootแล้วพักใหญ่เนื่องจากtechnologyของอุปกรณ์ที่ก้าวล้ำมากขึ้น
แต่ในช่วงปลายยุคที่ค่าFOC.ยังมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจset upลูกธนูอยู่นั้น จะมุ่งเน้นไปในเรื่องของสภาพลมในสนามแข่งเสียมากกว่าครับ
- โดยสนามที่มีสภาพลมไม่แรงนัก มักจะsetให้ค่าFOC.อยู่ที่ 11-16%ตามตำรา
- แต่เป็นในสนามที่มีสภาวะลมแรง ก็มักจะเลือกใช้ปีกSpin Wingที่มีขนาดเล็กลงและใช้หัวลูกที่หนักขึ้นเพื่อเพิ่มค่าFOC.ให้สูงขึ้นไปถึง18-20%


The Rise of the F.O.C. theory

ขอย้อนกลับไปอีกหน่อยให้ถึงสมัยที่ค่าFOC.ยังมีผลต่อการตัดสินใจเลือกsetลูกธนู
ในยุคนั้นถือว่าเป็นยุคทองของ Accessories ลูกธนูจริงๆครับ เนื่องจากบรรดาผู้ผลิตอุปกรณ์เจ้าเล็กเจ้าน้อยตลอดจนไปถึงเจ้าใหญ่ก็ออกอุปกรณ์ค้นหาและปรับแต่งFOC.ออกมากจนล้นตลาด
บ้างก็ยังอยู่จนถึงทุกวันนี้ บ้างก็ล้มหายตายจากไปตามกระแสของกาลเวลา (Balance clipของBeiter, mini Spin wing ของRange-O-Metic และ CT. Mc-weight system ก็เกิดขึ้นในยุคนี้)

เหตุที่FOC.ยังทรงอิทธิพลต่อความคิดของนักยิงธนูในยุคนั้นก็เพราะว่าสมัยนั้นตัวลูกธนูเองยังมีน้ำหนักที่ค่อนข้างสูง ประกอบกับlimbsในยุคนั้นที่ยังไม่ได้ให้speedและKenetic energyที่สูงเท่าปัจจุบันนี้
ดังนั้นการpushให้เกิดค่าFOC.ที่สูงเกินไปนั้นจะทำให้เกิดอาการต่างๆดังนี้
1. กินศูนย์มากจนเป็นอุปสรรคต่อการตั้งศูนย์เล็งในระยะไกล (ยุคนั้นผู้ชายต้องยิงระยะ90เมตรด้วย)
2. ปัญหาลูกหลุดจากกลุ่มในแนวสูงและต่ำ(up-down type error)เนื่องมาจากการปล่อยที่ไม่คงที่ ซึ่งก็คือค่าForgivenessในแนวVerticalต่ำลง
(แต่ในทางกลับกันถ้าค่าFOC.ออกมาต่ำเกินไป ก็จะมีปัญหาในแนวHorizontalและการบินสู้กับลมมันซะอย่างงั้น)
3. ค่าFOC.ที่สูงเกินไปจะก่อให้ปัญหาเรื่องClearanceที่ลูกธนูกระทำต่อหน้าต่างคัน
(สมัยก่อนRiserจะมีความกว้างของหน้าต่างคันไม่มากนัก ลูกหัวหนักมักบิดตัวตอนออกตัวมากกว่าจนบางทีก็มาตีเข้ากับหน้าต่างคัน)




The Fall of F.O.C.

แต่พอถึงวันที่รูปแบบของการแข่งขันเปลี่ยนไป ประกอบกับเทคโนโลยีสูงขึ้นจนสามารถแก้ปัญหาหลักทั้งสามข้อที่กล่าวมาได้ แนวคิดเรื่องFOC.ก็ค่อยๆโดนล้มล้างไปเรื่อยๆเพราะ
1. ความนิยมจัดแข่งระบบFull FITA หรือยิงครบทั้ง4ระยะลดลง (90เมตรเลยไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป)
2. ตัวลูกธนูมีน้ำหนักเบาลงแต่แข็งขึ้น ความหลากหลายของเบอร์มีให้เลือกใช้มากขึ้น
3. Limbsให้speedและการเที่ยงตรงในการตีกลับที่เสถียรขึ้น (แก้ปัญหาในข้อที่2.ที่กล่าวไว้ในย่อหน้าที่แล้ว)
4. หน้าต่างคันกว้างขึ้นเพื่อแก้ปัญหาclearance
5. การค้นพบว่าค่าFOC.ที่เคยยึดถือนั้น จริงๆแล้วมีปัญหาว่า "ลูกธนูนั้นพุ่งตัวไปบนอากาศสูงเกินไป" (tail high หรือ trajectory will)
ส่งผลทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการปะทะลมมากกว่า และการสิ้นเปลืองพลังงานจลน์ที่มากกว่า ซึ่งแนวคิดนี้เป็นการศึกษาโดยอ้างอิงจากทฤษฎีในการออกแบบหัวไม้กอล์ฟและลูกกอล์ฟคือทำให้ลูกบินเตี้ยที่สุดเท่าที่จะทำได้เพื่อที่จะลดการปะทะกับลมส่วนเกิน + ลูกไม่จำเป็นต้องวิ่งเร็วมาก แต่ต้องวิ่งภายใต้kinetic energyที่ทำงานร่วมกับmomentumเพื่อสู้กับลมที่อยู่ในแนวลูกวิ่ง (ลูกX-10ก็ำได้รับการพัฒนาต่อยอดมาจากACEภายใต้ทฤษฎีนี้เช่นกันครับ)



ถึงแม้ว่าปัจจุบันคุณตาFOC.จะถูกปลงระวางไปจากmodern archeryแล้วแต่ชาวแก๊งค์อนุรักษ์นิยมก็ห้ามมองข้ามแกไปนะครับ :rolleyes:
เนื่องจากธนูทึนทึกไม่ได้มีเทคโนโลยีและค่าForgivenessที่สูงเหมือนกับคันmodern
แถมอุปกรณ์ปรับแต่งลูกวิ่งก็ไม่มี
หนำซ้ำดีไม่ดีก็ใช้ลูกไม้ให้สุขภาพมือและแขนตัวเองวาบหวิวเล่นอีก

การปรับแต่งค่าFOC.ก็เป็นอีกทางหนึ่งที่อาจจะช่วยเพิ่มค่าความคงที่ให้เกิดขึ้นได้บ้าง
ถ้าอยากลอง อยากรู้ และอยากสนุก...................ทุกทฤษฎีมีไว้ศึกษาเพื่อพิสูจน์ครับ
หรือถ้าอยากเมาท์กันเรื่องนี้ต่อผมยินดีจัดเต็มให้ที่สนามArcheryThaiครับ
เผอิญผมมีข้อมูลทางด้านอุปกรณ์ทั้งของทีมชาติเกาหลีใต้, USA,และItaly แต่้ขี้เกียจพิมพ์+รู้สึกว่าจะโม้มากเกินไปแล้วครับ :p

ขอให้มีความสุข สนุกกับการยิงธนูครับ

nam26
17-03-13, 04:08 AM
ขอเพิ่มเติมให้อีกเล็กน้อยครับ

ถึงแม้ว่าปัจจุบันคุณตาFOC.จะถูกปลงระวางไปจากmodern archeryแล้วแต่ชาวแก๊งค์อนุรักษ์นิยมก็ห้ามมองข้ามแกไปนะครับ :rolleyes:
เนื่องจากธนูทึนทึกไม่ได้มีเทคโนโลยีและค่าForgivenessที่สูงเหมือนกับคันmodern
แถมอุปกรณ์ปรับแต่งลูกวิ่งก็ไม่มี
หนำซ้ำดีไม่ดีก็ใช้ลูกไม้ให้สุขภาพมือและแขนตัวเองวาบหวิวเล่นอีก

การปรับแต่งค่าFOC.ก็เป็นอีกทางหนึ่งที่อาจจะช่วยเพิ่มค่าความคงที่ให้เกิดขึ้นได้บ้าง
ถ้าอยากลอง อยากรู้ และอยากสนุก...................ทุกทฤษฎีมีไว้ศึกษาเพื่อพิสูจน์ครับ
หรือถ้าอยากเมาท์กันเรื่องนี้ต่อผมยินดีจัดเต็มให้ที่สนามArcheryThaiครับ
เผอิญผมมีข้อมูลทางด้านอุปกรณ์ทั้งของทีมชาติเกาหลีใต้, USA,และItaly แต่้ขี้เกียจพิมพ์+รู้สึกว่าจะโม้มากเกินไปแล้วครับ :p

ขอให้มีความสุข สนุกกับการยิงธนูครับ

ขอบคุณครูต้นที่ช่วยเพิ่มเติมสำหรับข้อมูล

เรื่อง FOC เป็นวิธีการคำนวณหาค่า front of center ส่วนจะเท่าไหร่นั้น ขึ้นอยู่กับเราจะเลือกใช้เท่าไหร่และอย่างไร

ขอบคุณสำหรับข้อมูลที่ให้ว่า เดี๋ยวนี้เขาเลิกใช้วิธีการคำนวนหาค่า FOC กันแล้ว

ผมไม่เข้าใจว่า ที่ครูต้นว่าคันธนูทึนทึกนั้นหมายถึงคันธนูประเภทใด เป็นคันธนูแบบเก่า เช่น TD 4 หรือคันธนูแบบเทรดดี้ครับ ช่วยพูดตรงๆด้วย

ผมใช้ถ่ายรูปลูกธนูไม้ประกอบ ไม่ได้หมายถึง การปรับแต่ง FOC ของลูกธนูไม้นะครับ

หรือ ภาพอาจทำให้เข้าใจผิด เป็นเรื่องคันธนูเทรดดี้กับลูกธนูไม้

ถ้าครูต้นยินดีและกรุณาผมและเพื่อนจะขอเข้าไปฟังครูต้น ช่วยupdate ข้อมูลอันเป็นประโยชน์นี้ด้วยครับ สำหรับเรื่องนี้ครับ

ขอบคุณล่วงหน้าครับ

mavin
17-03-13, 05:45 AM
:love::love::love:
..สุดยอด
...นี่แหละสิ่งที่ชอบและอยากรู้
....ขอบคุณท่านอาจารย์

Fah
17-03-13, 12:34 PM
สรุปว่า FOC นี่มันดีหรือไม่ดี ต้องทำหรือไม่จำเป็นแล้วครับ เริ่มจะสับสน
หรือเอาแค่ว่าเลื่อกใช้ลูกให้เบอร์ตรงตามChart แค่นั้นก็พอ ส่วนPoint ก็เลือกใช้ได้ตามอัธยาศัย
เริ่มงงครับ:D

HELLBOY
18-03-13, 01:23 AM
อธิบายตั้งขนาดนี้แล้ว เข้าใจกันยากจริ๊งงงงงงง :p

- ถ้าพี่น้ำเอาลูกธนูรุ่นเก่าๆมายิงกันคันธนูรุ่นเก่าๆ ค่าFOC.คงยังเชื่อถือได้อยู่ครับ แต่ถ้าเอาลูกรุ่นใหม่มายิงกับคันรุ่นเก่านั้น อันนี้คงต้องเช็คกันจากclearanceที่ออกมากันอีกที
- ลูกไม้มีคุณภาพไม่เพียงพอต่อการupค่าFOC.ขึ้นไปสูงๆอยู่แล้วครับ หนำซ้ำถ้าสูงเกินไปก็อันตรายต่อตัวผู้ใช้เองด้วยเพราะลูกจะเกิดการบิดตัว/โก่งตัวมากตอนออกตัวซึ่งอาจทำให้ลูกเสี่ยงต่อการแตก/หักได้ ถ้าชอบที่จะใช้ลูกไม้ ผมแนะนำให้หา+ปรับค่าFOC.เพื่อความปลอดภัยมากกว่าครับ
- คันtraddyหน้าต่างคันแคบ ไม่มีrest ไม่มีplunger แถมคุณภาพของLimbsก็ไม่สูงเท่าrecurve ในcaseนี้FOC.ก็ยังคงน่าเอามาปรับใช้ได้อยู่ แต่ถ้าเป็นคันคุณภาพสูงๆอย่างBob leeหรือHoytนี่ผมเชื่อว่าเค้าทำการบ้านมาดีพอครับ :)


สรุปกันง่ายๆครับ ถ้าFOC.มันดีจริง บริษัทที่ผลิตหัวลูกAfter Marketค่าgainเยอะๆอย่าง Pin-Point, Pro-point, Viking, Top Archery, Apogee และอื่นๆของคงเจ๊งกันไปหมดแล้วครับ
ไม่ใช่สิ ต้องเรียกว่าคงไม่ได้เริ่มกิจการกันเลยดีกว่า, ทางEastonก็คงไม่ต้องออกBallistic Tungsten Pointsหรือออกหัวลูกหนักพิเศษที่upน้ำหนักขึ้นไปถึง120gainออกมาจำหน่ายแทนตัวเก่า
นอกจากนี้ เคยลองสังเกตุกันบ้างไหมครับว่า
- ทำไมศูนย์ของบรรดาPro Recurveชายระดับโลกจะกินต่ำมากทั้งๆที่แต่ละท่านยิงไม่ต่ำกว่า50ปอนด์
- ทำไมพวกProระดับโลกถึงไม่มีใครใช้หัวNibbหรือหัวstandardจากโรงงานเลย
- ทำไมสายHuntingในปัจจุบันนิยมupค่าFOC.ให้ขึ้นไปสูงถึง27%หรือมากกว่าเพื่อเพิ่มความรุนแรงของการimpact


ส่วนการเลือกลูกนั้นก็มีสูตรในการเลือกอีกครับ เพราะในchartมักจะคำนวนเบอร์ลูกจากค่าGPI.ที่ทำการทดสอบกับหัวลูกน้ำหนัก80-100gainsเท่านั้น
ไว้มาshoppingลูกโหลใหม่ที่ร้านเมื่อไหร่จะสอนให้เรียงตัวเลยครับ :2TU:

mavin
18-03-13, 05:37 AM
อธิบายตั้งขนาดนี้แล้ว เข้าใจกันยากจริ๊งงงงงงง :p

- ถ้าพี่น้ำเอาลูกธนูรุ่นเก่าๆมายิงกันคันธนูรุ่นเก่าๆ ค่าFOC.คงยังเชื่อถือได้อยู่ครับ แต่ถ้าเอาลูกรุ่นใหม่มายิงกับคันรุ่นเก่านั้น อันนี้คงต้องเช็คกันจากclearanceที่ออกมากันอีกที
- ลูกไม้มีคุณภาพไม่เพียงพอต่อการupค่าFOC.ขึ้นไปสูงๆอยู่แล้วครับ หนำซ้ำถ้าสูงเกินไปก็อันตรายต่อตัวผู้ใช้เองด้วยเพราะลูกจะเกิดการบิดตัว/โก่งตัวมากตอนออกตัวซึ่งอาจทำให้ลูกเสี่ยงต่อการแตก/หักได้ ถ้าชอบที่จะใช้ลูกไม้ ผมแนะนำให้หา+ปรับค่าFOC.เพื่อความปลอดภัยมากกว่าครับ
- คันtraddyหน้าต่างคันแคบ ไม่มีrest ไม่มีplunger แถมคุณภาพของLimbsก็ไม่สูงเท่าrecurve ในcaseนี้FOC.ก็ยังคงน่าเอามาปรับใช้ได้อยู่ แต่ถ้าเป็นคันคุณภาพสูงๆอย่างBob leeหรือHoytนี่ผมเชื่อว่าเค้าทำการบ้านมาดีพอครับ :)


สรุปกันง่ายๆครับ ถ้าFOC.มันดีจริง บริษัทที่ผลิตหัวลูกAfter Marketค่าgainเยอะๆอย่าง Pin-Point, Pro-point, Viking, Top Archery, Apogee และอื่นๆของคงเจ๊งกันไปหมดแล้วครับ
ไม่ใช่สิ ต้องเรียกว่าคงไม่ได้เริ่มกิจการกันเลยดีกว่า, ทางEastonก็คงไม่ต้องออกBallistic Tungsten Pointsหรือออกหัวลูกหนักพิเศษที่upน้ำหนักขึ้นไปถึง120gainออกมาจำหน่ายแทนตัวเก่า
นอกจากนี้ เคยลองสังเกตุกันบ้างไหมครับว่า
- ทำไมศูนย์ของบรรดาPro Recurveชายระดับโลกจะกินต่ำมากทั้งๆที่แต่ละท่านยิงไม่ต่ำกว่า50ปอนด์
- ทำไมพวกProระดับโลกถึงไม่มีใครใช้หัวNibbหรือหัวstandardจากโรงงานเลย
- ทำไมสายHuntingในปัจจุบันนิยมupค่าFOC.ให้ขึ้นไปสูงถึง27%หรือมากกว่าเพื่อเพิ่มความรุนแรงของการimpact



ส่วนการเลือกลูกนั้นก็มีสูตรในการเลือกอีกครับ เพราะในchartมักจะคำนวนเบอร์ลูกจากค่าGPI.ที่ทำการทดสอบกับหัวลูกน้ำหนัก80-100gainsเท่านั้น
ไว้มาshoppingลูกโหลใหม่ที่ร้านเมื่อไหร่จะสอนให้เรียงตัวเลยครับ :2TU:
..อยากรู้มากช่วยอธิบายให้ด้วยครับ

nam26
18-03-13, 07:33 AM
อธิบายตั้งขนาดนี้แล้ว เข้าใจกันยากจริ๊งงงงงงง :p

- ถ้าพี่น้ำเอาลูกธนูรุ่นเก่าๆมายิงกันคันธนูรุ่นเก่าๆ ค่าFOC.คงยังเชื่อถือได้อยู่ครับ แต่ถ้าเอาลูกรุ่นใหม่มายิงกับคันรุ่นเก่านั้น อันนี้คงต้องเช็คกันจากclearanceที่ออกมากันอีกที
- ลูกไม้มีคุณภาพไม่เพียงพอต่อการupค่าFOC.ขึ้นไปสูงๆอยู่แล้วครับ หนำซ้ำถ้าสูงเกินไปก็อันตรายต่อตัวผู้ใช้เองด้วยเพราะลูกจะเกิดการบิดตัว/โก่งตัวมากตอนออกตัวซึ่งอาจทำให้ลูกเสี่ยงต่อการแตก/หักได้ ถ้าชอบที่จะใช้ลูกไม้ ผมแนะนำให้หา+ปรับค่าFOC.เพื่อความปลอดภัยมากกว่าครับ
- คันtraddyหน้าต่างคันแคบ ไม่มีrest ไม่มีplunger แถมคุณภาพของLimbsก็ไม่สูงเท่าrecurve ในcaseนี้FOC.ก็ยังคงน่าเอามาปรับใช้ได้อยู่ แต่ถ้าเป็นคันคุณภาพสูงๆอย่างBob leeหรือHoytนี่ผมเชื่อว่าเค้าทำการบ้านมาดีพอครับ :)


สรุปกันง่ายๆครับ ถ้าFOC.มันดีจริง บริษัทที่ผลิตหัวลูกAfter Marketค่าgainเยอะๆอย่าง Pin-Point, Pro-point, Viking, Top Archery, Apogee และอื่นๆของคงเจ๊งกันไปหมดแล้วครับ
ไม่ใช่สิ ต้องเรียกว่าคงไม่ได้เริ่มกิจการกันเลยดีกว่า, ทางEastonก็คงไม่ต้องออกBallistic Tungsten Pointsหรือออกหัวลูกหนักพิเศษที่upน้ำหนักขึ้นไปถึง120gainออกมาจำหน่ายแทนตัวเก่า
นอกจากนี้ เคยลองสังเกตุกันบ้างไหมครับว่า
- ทำไมศูนย์ของบรรดาPro Recurveชายระดับโลกจะกินต่ำมากทั้งๆที่แต่ละท่านยิงไม่ต่ำกว่า50ปอนด์
- ทำไมพวกProระดับโลกถึงไม่มีใครใช้หัวNibbหรือหัวstandardจากโรงงานเลย
- ทำไมสายHuntingในปัจจุบันนิยมupค่าFOC.ให้ขึ้นไปสูงถึง27%หรือมากกว่าเพื่อเพิ่มความรุนแรงของการimpact


ส่วนการเลือกลูกนั้นก็มีสูตรในการเลือกอีกครับ เพราะในchartมักจะคำนวนเบอร์ลูกจากค่าGPI.ที่ทำการทดสอบกับหัวลูกน้ำหนัก80-100gainsเท่านั้น
ไว้มาshoppingลูกโหลใหม่ที่ร้านเมื่อไหร่จะสอนให้เรียงตัวเลยครับ :2TU:


ครูต้น คงอ่านไม่ครบที่ผมเขียน

ผมไม่ได้ให้ ทำ FOC กับลูกธนูไม้ แค่ภาพประกอบเป็นลูกธนูไม้

เรื่องคันเทรดดี้นั้นก็เข้าใจอยู่

ผมก็ลูกค้า ของ Pro point สำหรับ 220 เกรนมาใช้กับ Fatbay และเขาก็ทำหนักสุดถึง 300 เกรน

ซึ่งทำให้ค่า FOC สูงขึ้นทั้งนั้น

ผมแปล เรื่อง FOC เพื่อให้รู้ ว่ามันคืออะไร เพื่ออะไร ทำอย่างไร

ส่วนครูต้นมาให้ความเห็นจากประสพการณ์ว่า ว่ามันเป็นอย่างไร เขาเลิกใช้แล้ว...ก็ขอบคุณมากครับ

nam26
18-03-13, 12:53 PM
ขอเพิ่มเติมให้อีกเล็กน้อยครับ

1. ความนิยมจัดแข่งระบบFull FITA หรือยิงครบทั้ง4ระยะลดลง (90เมตรเลยไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป)

ทุกทฤษฎีมีไว้ศึกษาเพื่อพิสูจน์ครับ
หรือถ้าอยากเมาท์กันเรื่องนี้ต่อผมยินดีจัดเต็มให้ที่สนามArcheryThaiครับ
เผอิญผมมีข้อมูลทางด้านอุปกรณ์ทั้งของทีมชาติเกาหลีใต้, USA,และItaly แต่้ขี้เกียจพิมพ์+รู้สึกว่าจะโม้มากเกินไปแล้วครับ :p

ขอให้มีความสุข สนุกกับการยิงธนูครับ


การยิงธนูระยะ 90 เมตร อาจจะนิยมจัดการแข่งขันน้อยลง แต่ บางประเภท ยังคงกำหนดให้ใช้อยู่ครับ เช่น

ในการแข่งขัน World Archery Youth Championship

กำหนดให้ ในการยิงรอบเก็บคะแนน

ผู้ชาย ยิงระยะ 90-70-50-30 เมตรตามลำดับ
ส่วนผู้หญิง ยิงที่ระยะ 70-60-50-30 เมตร

และ จัดการดวลที่ระยะ 70 เมตรครับ

ส่วนใกล้ๆบ้านเรา ประเทศมาเลเซีย ยังคงจัด ระบบ FITA round คือยิงระยะ 90-70-50-30 ไม่ได้เปลี่ยนแปลงตาม World archery เลย เช่น แมท์ UUM หรือ ชิงแชมป์ระดับประเทศ



ข้อมูลจาก world archery หัวข้อเรื่อง...Competition formats for 2011 and beyound...จากการประชุม ที่เกาหลี 2009

HELLBOY
18-03-13, 02:01 PM
..อยากรู้มากช่วยอธิบายให้ด้วยครับ

ตามที่โทรมาสอบถามนะครับ เดี๋ยวเย็นนี้เจอกันที่AT.ครับ :)





ครูต้น คงอ่านไม่ครบที่ผมเขียน

ผมไม่ได้ให้ ทำ FOC กับลูกธนูไม้ แค่ภาพประกอบเป็นลูกธนูไม้




ผมไม่ได้สนใจเรื่องลูกธนูไม้ของพี่แต่เริ่มอยู่แล้วครับ :p
แถมที่หยิบขึ้นมาพูดก็ไม่ได้เป็นเพราะรูปที่พี่ลงไว้ครับ

แต่เป็นเพราะช่วงนี้เห็นหลายท่านเอาคันธนูOTOP(คันเหลาเอง+ลูกไม้ทำเอง)มายิงกันเยอะ เลยแนะนำไว้เพื่อเป็นGuideline
และผมเชื่อว่ามีเพื่อนสมาชิกประจำบอร์ดจำนวนไม่น้อยที่เข้ามาอ่านกระทู้นี้ และโดยปกตินักธนูทุกคนไม่ว่าประเภทใด,ฝีมือระดับไหนก็อยากแต่งคันและอุปกรณ์ของตนเองให้เกิดความแม่นยำสูงสุดกันทั้งนั้นแหละครับ

ดังนั้นถ้าเพื่อนสมาชิกที่ได้เข้ามาอ่านกระทู้นี้จะนำไปปรับใช้และทดลองก็ไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะมีคนที่มีฝีมือเชิงช่างอยู่ก็มีไม่น้อย
ที่ผมจะค่อนข้างเป็นห่วงจนต้องมีการย้ำจนพี่คิดไปเองว่าผมแนะนำให้พี่ทำFOC. testกับลูกไม้ก็คือ
ผมกลัวว่าเพื่อนๆสมาชิกจะอ่านคำแนะนำของผมแล้วเอาลูกไม้ไปดัดแปลงเพื่อupค่าFOC.มากจนเกินไป ซึ่งอาจเกิดอันตรายได้

เพราะเราไม่ได้นั่งเม้าท์กันอยู่แค่สองคนครับ ดังนั้นการแลกเปลี่ยนทัศนะกันในพื้นที่เปิดนั้นจำเป็นต้องมีการคำนึงถึงผลพวง,ผลกระทบที่อาจเกิดอาจสิ่งที่เราได้พูด/ได้เขียนลงไปด้วยครับ :)

HELLBOY
18-03-13, 02:07 PM
การยิงธนูระยะ 90 เมตร อาจจะนิยมจัดการแข่งขันน้อยลง แต่ บางประเภท ยังคงกำหนดให้ใช้อยู่ครับ เช่น

ในการแข่งขัน World Archery Youth Championship

กำหนดให้ ในการยิงรอบเก็บคะแนน

ผู้ชาย ยิงระยะ 90-70-50-30 เมตรตามลำดับ
ส่วนผู้หญิง ยิงที่ระยะ 70-60-50-30 เมตร

และ จัดการดวลที่ระยะ 70 เมตรครับ

ส่วนใกล้ๆบ้านเรา ประเทศมาเลเซีย ยังคงจัด ระบบ FITA round คือยิงระยะ 90-70-50-30 ไม่ได้เปลี่ยนแปลงตาม World archery เลย เช่น แมท์ UUM หรือ ชิงแชมป์ระดับประเทศ



ข้อมูลจาก world archery หัวข้อเรื่อง...Competition formats for 2011 and beyound...จากการประชุม ที่เกาหลี 2009



เสียดายที่สูงวัยจนไม่ใช่Youthแล้วอ่ะ :p ผมไม่ได้ยิง90เมตรมาจะสิบปีแล้วมั้งเนี่ย

ที่แค้นกว่าก็คือตอนไปแข่งCompoundที่UUMสมัยโน้นมันก็จัดให้ยิงแค่70เมตร :mad:

ผมล่ะอยากให้ทุกๆรายการกลับมายิง4ระยะแล้วดวลที่70เมตรเหมือนเมื่อก่อนจัง :love: