View Full Version : แหล่งมรดกวัฒนธรรมและชุมชนโบราณริมแม่น้ำเจ้าพระยา บอกใบ้ให้ครับว่า "ไม่ควรพลาด"
ขอเชิญฟังการสัมมนา เรื่อง แหล่งมรดกวัฒนธรรมและชุมชนโบราณริมแม่น้ำเจ้าพระยา
http://www.finearts.go.th/system/files/u571/river3.jpg
เรื่อง แหล่งมรดกวัฒนธรรมและชุมชนโบราณริมแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อเผยแพร่และแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับแหล่งมรดกวัฒนธรรม ชุมชนโบราณ การอนุรักษ์และพัฒนาแหล่งมรดกวัฒนธรรมบริเวณแม่น้ำเจ้าพระยา ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ในวันที่ ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๕๖ ระหว่างเวลา ๐๙.๓๐ น. - ๑๖.๐๐ น. ณ ห้องประชุมดำรงราชานุภาพ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
ผู้สนใจเข้าร่วมฟังการประชุมสัมมนา สามารถสำรองที่นั่งและสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ กลุ่มวิจัยและพัฒนางานโบราณคดี สำนักโบราณคดี โทร.๐ ๒๒๘๒ ๒๑๒๑ ต่อ ๓๒๖
http://www.finearts.go.th/system/files/u571/river2.jpg
https://fbcdn-sphotos-b-a.akamaihd.net/hphotos-ak-prn1/q71/s720x720/65228_10151551679857877_361639229_n.jpg
https://fbcdn-sphotos-h-a.akamaihd.net/hphotos-ak-prn1/q71/s720x720/64808_10151551686782877_2144552121_n.jpg
>>> https://www.facebook.com/photo.php?fbid=478984078861333&set=a.104937836265961.8603.100002492350802&type=1&theater
:)
ก็แทบจะสายไปหมดแล้ว สำหรับเรื่องราวของชุมชนท้องถิ่น :D (น่าดีใจ ฮ่าๆๆ)
ในฐานะคนธรรมดาคนนึง ผมเคยนึกเสมอว่า "คนเมื่อก่อนเค้าอยู่กันยังไง" ผมหมายถึงชาวบ้าน คนธรรมดา ชุมชนและวิถีชีวิต เคยเอ่ยปากกับหลายๆคนที่สนใจใฝ่รู้ในเรื่องราวของประวัติศาสตร์ หลายคนตอบบอกเล่าอย่างชนิดรู้แจ้งเกี่ยวกับราชสำนัก วัด วัง ในความเป็นไป ระบบ ระเบียบ และ วิถี ... แต่พอถามว่า "หน้าหนาวชาวบ้านอยู่กันยังไง" "ฝรั่งเมื่อก่อนเข้ามา ผมนึกภาพไม่ออกว่ามาเดินในตลาดยังไง" "เวลาเกิดสงครามผลกระทบกับชาวบ้านนอกจากการถูกกวาดต้อนแล้ว มันมีผลกระทบอย่างอื่นยังไงบ้าง" อะไรต่างๆเหล่านี้ หาคำตอบไม่ค่อยได้
โดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับภัยธรรมชาติ อย่างหน้าหนาวเนี่ย เค้านุงห่มกันยังไง อยู่แบบไหนนอกเหนือจากการผิงไฟ .. หน้าน้ำหลาก (อันนี้ยังพอนึกภาพออก) ...
เรื่อง "กิน" เค้ากันอะไรกันบ้าง คำว่า "กับข้าวกับปลา" คนไทยสมัยก่อน กินปลากันเป็นหลักหรือ? เคยจำเพลงผู้ใหญ่ลีได้ว่า
"พ.ศ.2504 ผู้ใหญ่ลีตีกลองประชุม ชาวบ้านต่างมาชุมนุม มาชุมนุมที่บ้านผู้ใหญ่ลี ต่อไปนี้ผู้ใหญ่ลีจะขอกล่าว ถึงเรื่องราวที่ได้ประชุมมา ทางการเค้าสั่งมาว่า (ซ้ำ) ให้ชาวนาเลี้ยงเป็ดและสุกร ฝ่ายตาสีหัวกลอนถามว่า "สุกร" นั้นคืออะไร ผู้ใหญ่ลีลุกขึ้นตอบทันใด สุกรนั้นไซร้คือ หมาน้อยธรรมดา หมาน้อย หมาน้อยธรรมดา"
ฟังดูขำ ขำ .. แต่นั่นหมายความว่า หมู กับ เป็ด หรือ รวมทั้งไก่ เพิ่งจะมีการเลี้ยงกันเป็นเกษตรกรรมเมื่อต้นยุค 2500 นี่หรือ?
:rolleyes:
ก็แทบจะสายไปหมดแล้ว สำหรับเรื่องราวของชุมชนท้องถิ่น :D (น่าดีใจ ฮ่าๆๆ)
ในฐานะคนธรรมดาคนนึง ผมเคยนึกเสมอว่า "คนเมื่อก่อนเค้าอยู่กันยังไง" ผมหมายถึงชาวบ้าน คนธรรมดา ชุมชนและวิถีชีวิต เคยเอ่ยปากกับหลายๆคนที่สนใจใฝ่รู้ในเรื่องราวของประวัติศาสตร์ หลายคนตอบบอกเล่าอย่างชนิดรู้แจ้งเกี่ยวกับราชสำนัก วัด วัง ในความเป็นไป ระบบ ระเบียบ และ วิถี ... แต่พอถามว่า "หน้าหนาวชาวบ้านอยู่กันยังไง" "ฝรั่งเมื่อก่อนเข้ามา ผมนึกภาพไม่ออกว่ามาเดินในตลาดยังไง" "เวลาเกิดสงครามผลกระทบกับชาวบ้านนอกจากการถูกกวาดต้อนแล้ว มันมีผลกระทบอย่างอื่นยังไงบ้าง" อะไรต่างๆเหล่านี้ หาคำตอบไม่ค่อยได้
โดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับภัยธรรมชาติ อย่างหน้าหนาวเนี่ย เค้านุงห่มกันยังไง อยู่แบบไหนนอกเหนือจากการผิงไฟ .. หน้าน้ำหลาก (อันนี้ยังพอนึกภาพออก) ...
เรื่อง "กิน" เค้ากันอะไรกันบ้าง คำว่า "กับข้าวกับปลา" คนไทยสมัยก่อน กินปลากันเป็นหลักหรือ? เคยจำเพลงผู้ใหญ่ลีได้ว่า
"พ.ศ.2504 ผู้ใหญ่ลีตีกลองประชุม ชาวบ้านต่างมาชุมนุม มาชุมนุมที่บ้านผู้ใหญ่ลี ต่อไปนี้ผู้ใหญ่ลีจะขอกล่าว ถึงเรื่องราวที่ได้ประชุมมา ทางการเค้าสั่งมาว่า (ซ้ำ) ให้ชาวนาเลี้ยงเป็ดและสุกร ฝ่ายตาสีหัวกลอนถามว่า "สุกร" นั้นคืออะไร ผู้ใหญ่ลีลุกขึ้นตอบทันใด สุกรนั้นไซร้คือ หมาน้อยธรรมดา หมาน้อย หมาน้อยธรรมดา"
ฟังดูขำ ขำ .. แต่นั่นหมายความว่า หมู กับ เป็ด หรือ รวมทั้งไก่ เพิ่งจะมีการเลี้ยงกันเป็นเกษตรกรรมเมื่อต้นยุค 2500 นี่หรือ?
:rolleyes:
ช่ายๆ อยากรู้เรื่องชาวบ้าน . . .
ใส่เสื้อผ้า ใส่รองเท้า กันยังไง ยังไม่รู้เลย
หม้อฮ่อม หรือ เสื้อลายดอก ที่เห็นใส่ในวัน "ไทยๆ" ก็ไม่น่าจะใช่
เรื่องนี้ ผมนั่งคุยกะลุง Mc. บ่อยๆ
:)
เรื่อง "กิน" เค้ากันอะไรกันบ้าง คำว่า "กับข้าวกับปลา" คนไทยสมัยก่อน กินปลากันเป็นหลักหรือ? เคยจำเพลงผู้ใหญ่ลีได้ว่า
"พ.ศ.2504 ผู้ใหญ่ลีตีกลองประชุม ชาวบ้านต่างมาชุมนุม มาชุมนุมที่บ้านผู้ใหญ่ลี ต่อไปนี้ผู้ใหญ่ลีจะขอกล่าว ถึงเรื่องราวที่ได้ประชุมมา ทางการเค้าสั่งมาว่า (ซ้ำ) ให้ชาวนาเลี้ยงเป็ดและสุกร ฝ่ายตาสีหัวกลอนถามว่า "สุกร" นั้นคืออะไร ผู้ใหญ่ลีลุกขึ้นตอบทันใด สุกรนั้นไซร้คือ หมาน้อยธรรมดา หมาน้อย หมาน้อยธรรมดา"
ฟังดูขำ ขำ .. แต่นั่นหมายความว่า หมู กับ เป็ด หรือ รวมทั้งไก่ เพิ่งจะมีการเลี้ยงกันเป็นเกษตรกรรมเมื่อต้นยุค 2500 นี่หรือ?
:rolleyes:
ช่ายๆ อยากรู้เรื่องชาวบ้าน . . .
ใส่เสื้อผ้า ใส่รองเท้า กันยังไง ยังไม่รู้เลย
หม้อฮ่อม หรือ เสื้อลายดอก ที่เห็นใส่ในวัน "ไทยๆ" ก็ไม่น่าจะใช่
เรื่องนี้ ผมนั่งคุยกะลุง Mc. บ่อยๆ
:)
แม๋.. จะคุยกันเรื่องเก่าๆ เหรอ ?
ของผมก็มีนิดๆ หน่อยๆ นะ ..เปล่ามีหลักฐานหลักเกณฑ์อะไรมาอ้างอิง
ได้แต่นึกภาพเก่าๆ มี่ผ่านๆมา เพราะความแก่ เพราะความไม่สาระไปตามเรื่อง
...น้าโอ้ สงสัยหลายเรื่องจัง :D
"หน้าหนาว" เหรอ อืมม..บ้านผมมันไม่มีแล้วนี่ ไม่มีมานานมากแล้ว
แต่จำได้ว่าเมืองชล เคยมีหน้าหนาว ...บ้านผมเป็นบ้านทะเลมีสะพานไม้
ยื่นลงไปในทะเล บ้านเรือนก็ปลูกกันอยู่ 2 ข้างสะพาน ...พายุจะมาจากทะเล
ลมหนาวจะพัดมาจากฝั่ง หน้าหนาวต้มน้ำอาบ ตามหน้าแข้งผิวแตกยังกะเกล็ดงู
เอาน้ำมันมะพร้าวทาแทนโลชั่น ..ไปวิ่งเล่นเหงื่อออกฝุ่นจับ ก็เป็นขี้ไคล
ก็โดนจับเอาเศษผ้าชุบน้ำมันก๊าด ถู ๆ ๆ.. ตอนเด็กๆ ไม่ชอบถูกจับอาบน้ำแบบนี้
แต่ตอนโตแล้ว..ชอบ :p
...กินปลาเป็นหลักหรือเปล่า ? บ้านอื่นผมไม่รู้ แต่บ้านผมกินแต่ปลา
เพราะปลาส่วนใหญ่ไม่ต้องซื้อ หรือถ้าซื้อมันก็ถูกกว่าหมู่ กว่าเนื้อ กว่าไก่
บ้านใต้ถุนสูงสัก 3 เมตรกว่าๆ ก็ทำยกพื้นขัดแตะไต้ถุนบ้านเป็นเล้าเป็ด
ไว้เก็บไข่กิน เลี้ยงเป็ดกันเกือบทุกบ้าน ไม่มีใครเลี้ยงหมู..
...นุ่งห่ม ..ญาติฝั่งข้างผู้ใหญ่ เป็นขุนน้ำขุนนางเก่า เวลาไปพบไปหา
ต้องคลานเข่า นั่งพับเพียบ ต้องรู้จักเดินพื้นเรือนอย่าลงเท้าเสียงดัง
ไม่ใช่ย่องนะ มันมีวิธีเดินอยู่จะอธิบายก็ยาว โอ๊ย..น่าอึดอัด
ฝั่งย่า ยาย นุ่งผ้าโจงกระเบน เสื้อคอกระเช้า ..ผมนุ่งเป็นนะโจงกระเบน
ต้องเป็นคนนุ่งให้เพื่อนเวลาโรงเรียนมีขบวนแห่ เป็นผ้าผืนยาวๆ
ไม่เย็บชายติดกันแบบโสร่ง หรือผ้าถุง ..ที่ดารา นางแบบเขานุ่งกันตอนนี้
ไม่ใช่โจงกระเบน ไม่มีตรงไหนเหมือนโจงกระเบน มันคือกุงเกงขาพองตะหาก
มองเมื่อไหร่ก็รำคาญตา พวกลุงพวกตา นุ่งกางเกงจีน ไม่ค่อยจะเห็นใส่เสื้อ
เว้นแต่เวลาออกไปนอกบ้าน คนจีนรวยๆ นุ่งกางเกงจีนผ้ามันสีดำ เรียก"ปั่งลิ้น"
ไม่รู้ทำจากไหมหรือเปล่า เสื้อเป็นเสื้ออะไรจำไม่ได้แระ
เป็นความสงสัยส่วนตัวว่า นอกจากเลี้ยงวัว ควาย ไว้ช่วยทำนา
ช่วยลากเกวียนขนข้าว ขนซุง แล้ว.. ผมว่าคนไทยเลี้ยงสัตว์ไม่เป็น
หรือไม่ก็ ไม่ชอบเลี้ยงสัตว์..เมื่อก่อนเมืองชลมีเล้าเป็ดเยอะ
แถวบางทราย แถวพนัสนิคม พานทอง เลี้ยงเป็ดเป็นคนจีนทั้งนั้น
แต่เดี่ยวนี้เล้าเป็ดเป็นหอพัก เป็นโรงงาน เป็นตึกแถวไปหมดแล้ว
ยังนึกสงสัยอยู่ว่า เดี๋ยวนี้เขาเอาไข่เป็ดจากไหนมาขาย
ที่ว่าคนไทยกำลังลืมรากตัวเอง นี่จริงนะ
ดูเหอะ..หันไปดูรอบๆ เรารู้อะไรที่เป็นเรื่องของเรามั่ง
เรื่องจริงๆนะ ไม่ใช่ที่เขาพูด หรือที่เราเห็นทางทีวี
อะไรบ้างที่เราพึ่งพาตัวเองได้ เอาตัวรอดได้ไหม
ถ้าต้องอยู่ตามลำพัง ไม่มีที่ให้ซื้อหา ..ถามจริงๆ
:confused:
เอ....ตอนเด็กๆ ผมไปสวน เ่ข้าป่า
ผู้ชาย ผู้หญิง ส่วนใหญ่ไม่ใส่เสื้อเลยนะ ปล่อยกันโตงเตง
พอเห็นเราเด็กๆ มาจากตลาดก็มีอายบ้างหาเสื้อมาคลุมๆ
ไปหายายน้อยครั้งที่จะเห็นยายใส่เสื้อยู่บ้าน
ยายอยู่สวน อยู่นา
ส่วนในตลาดก็ไม่ค่อยแตกต่างจากปัจจุบันเท่าไหร่
ยกเว้นคนใส่รองเท้ามากขึ้น ลูกเรือใส่กางเกงตังเก
ไม่ใส่รองเท้า เสื้อฮาวายลายๆ ไม่ค่อยเห็นแล้ว :):)
อยากฟังน้าMc.เล่าวิธีเดินไม่ให้มีเสียงดังครับ ตอนเด็กๆผมก็โดนว่าเรื่องเดินเสียงดัง แต่พ่อแม่ก็ไม่ได้บอกว่าให้เดินอย่างไร บอกแต่ว่าเดินลงส้นเสียงดังจะเก็บตังค์ไม่อยู่:o
อยากฟังน้าMc.เล่าวิธีเดินไม่ให้มีเสียงดังครับ ตอนเด็กๆผมก็โดนว่าเรื่องเดินเสียงดัง แต่พ่อแม่ก็ไม่ได้บอกว่าให้เดินอย่างไร บอกแต่ว่าเดินลงส้นเสียงดังจะเก็บตังค์ไม่อยู่:o
ฮา..ฮา ;)
ผมก็ลืมตัว..มาเขียนอะไรในกระทู้ผู้กำกับแวบมาซะเยอะ
แถมเรื่องไม่เกี่ยวกะกระทู้เขาอีก ..ก็มันลืมตัว ขออภัย
งั้น..เรื่องเดินกระดานพื้นเรือนไม่ให้เสียงดัง ..ขอติดไว้ก่อนเด้อ
:love:
Update . . . สำหรับคนที่ไม่ได้ไปฟัง
;)
" ปรับปรุงจากเอกสารของ อ. ประภัสสร์ ชูวิเชียร (ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร) และ อ. รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล (ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง)
เนื่องในการประชุมสัมมนาเรื่องแหล่งมรดกวัฒนธรรมและชุมชนโบราณริมแม่น้ำเจ้าพระยา จัดโดยสำนักโบราณคดี กรมศิลปากร ที่ห้องประชุมดำรงราชานุภาพ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร วันพุธที่ 17 กรกฎาคม 2556 "
>> http://www.sujitwongthes.com/suvarnabhumi/2013/07/suvarnabhumi-society-culture-25072556/
:D
Powered by vBulletin® Version 4.2.3 Copyright © 2025 vBulletin Solutions, Inc. All rights reserved.