View Full Version : มีดเหน็บ 52100
ดุ๊ยดุ่ย
29-07-13, 04:23 PM
ปีนี้เพิ่งออกได้เล่มนี้เป็นเล่มที่ 3 ครับ ใช้เวลาว่างๆ หลังเลิกงานเป็นทำที่ซุ้มฯ ตีจากเหล็กกลม 52100 ขนาด 25 มิล. เหล็กขนาดนี้กินแรงเยอะเหมือนกัน
http://i1181.photobucket.com/albums/x432/HS3PMT/myknives/SAM_1207re1_zps92ab2ea2.jpg
จากนั้นก็ อบอ่อน แล้วเอามาตีแพ็คใบทั้งชิ้น ตีไล่ใบเหล็กตัวนี้ ยากกว่าเหล็กแหนบนิดหนึ่ง แต่ออกมาเรียบเนียน จับแล้วสะอาดมือ ก็นำอบชุบ แล้วเอาไปคืนไฟสามรอบ ก็ออกมาหน้าตาประมาณนี้ครับ
http://i1181.photobucket.com/albums/x432/HS3PMT/myknives/SAM_1277re5_zpsa70f8b6a.jpg
ดุ๊ยดุ่ย
29-07-13, 05:38 PM
<iframe width="560" height="315" src="//www.youtube.com/embed/h7aglIzctww" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>
:o
ตีอัดใบมีตอนเย็นทำไม แล้วตอนชุบดึงมีดออกจากเตามีใจเย็นเล็งใบมีดก่อนลงน้ำมันด้วย
:D หมอดุ่ยแกกลัวไม่ลั่น เลยต้องเล็งหน่อย :p
pum_rakwana
29-07-13, 11:59 PM
จากนั้นก็ อบอ่อน แล้วเอามาตีแพ็คใบทั้งชิ้น ตีไล่ใบเหล็กตัวนี้ ยากกว่าเหล็กแหนบนิดหนึ่ง แต่ออกมาเรียบเนียน จับแล้วสะอาดมือ ก็นำอบชุบ แล้วเอาไปคืนไฟสามรอบ ก็ออกมาหน้าตาประมาณนี้ครับ
เหล็กชนิดนี้ไม่แนะนำให้ตีไห่เย็น หรือแม้แต่ตีไห่เผาดำ มันอาจจะเกิดรอยร้าวข้างในที่อาจจะเกิดความเสียหายกับตัวใบมีดได้ (ทั้งที่มองเห็นและมองไม่เห็น) การตีไห่เก็บผิวเรียบ สามารถทำได้ด้วยการตีเบา ค้อนเบา ไฟต่ำได้แต่ควรเป็นไปอย่างระมัดระวัง ;)
จับจุ่มกรด แล้วเช็คส่วนสัน และส่วนที่ขัดผิวออกขจนขาวให้แน่ใจว่า ไม่มีรอยขนแมวพาดใดๆ ก่อนนำไปใช้งานนะครับ
pum_rakwana
30-07-13, 12:04 AM
ตีอัดใบมีตอนเย็นทำไม แล้วตอนชุบดึงมีดออกจากเตามีใจเย็นเล็งใบมีดก่อนลงน้ำมันด้วย
อย่างน้าหนึ่งว่า
เหล็กที่ต้องใช้สารชุบที่ไวกว่าอากาศ เมื่อออกจากเตาควรเอาลงสารชุบทันที อย่าปล่อยให้สีตก
ไม่เช่นนั้น ส่วนที่บางที่สุดอาจจะสีตกก่อนที่จะลงสารชุบ ซึ่งส่วนที่บางนั้นมักจะเป็นส่วนคม การปล่อยให้สีตกต่ำกว่า 760 ก่อนลงสารชุบ จะเกิดความล้มเหลวในการจุ่มชุบแข็งทันที ;)
kb070608
30-07-13, 10:16 AM
อย่างน้าหนึ่งว่า
เหล็กที่ต้องใช้สารชุบที่ไวกว่าอากาศ เมื่อออกจากเตาควรเอาลงสารชุบทันที อย่าปล่อยให้สีตก
ไม่เช่นนั้น ส่วนที่บางที่สุดอาจจะสีตกก่อนที่จะลงสารชุบ ซึ่งส่วนที่บางนั้นมักจะเป็นส่วนคม การปล่อยให้สีตกต่ำกว่า 760 ก่อนลงสารชุบ จะเกิดความล้มเหลวในการจุ่มชุบแข็งทันที ;)
ลึกซึ้ง ละเอียดละออ ทำให้อบอวลใจ ทีได้ใช้มีดน้าพัธ และจารย์ปุ้มครับ
มากด LIKE ให้ครับ
ดุ๊ยดุ่ย
30-07-13, 01:30 PM
จับจุ่มกรด แล้วเช็คส่วนสัน และส่วนที่ขัดผิวออกขจนขาวให้แน่ใจว่า ไม่มีรอยขนแมวพาดใดๆ ก่อนนำไปใช้งานนะครับ
ตรวจสอบแล้วครับ ว่าร่องรอยอย่างที่น้าปุ้มว่าไม่มีครับ
ดุ๊ยดุ่ย
30-07-13, 01:46 PM
ตีอัดใบมีตอนเย็นทำไม แล้วตอนชุบดึงมีดออกจากเตามีใจเย็นเล็งใบมีดก่อนลงน้ำมันด้วย
ตีอัดใบเพราะต้องการผิวลายค้อนครับ ตอนตีอัดใช้เล็กตีอัดครับ และตอนตั้งอุณหภูมิชุบผมตั้งอุณหภูมิไว้เกินเล็กน้อยเพื่อได้มีโอกาสเล็งครับ :D
pum_rakwana
30-07-13, 01:57 PM
ตรวจสอบแล้วครับ ว่าร่องรอยอย่างที่น้าปุ้มว่าไม่มีครับ
งั้นก็ต้องลุ้นเอาที่ข้างในผิวค้อน ;)
ตีอัดใบเพราะต้องการผิวลายค้อนครับ ตอนตีอัดใช้เล็กตีอัดครับ และตอนตั้งอุณหภูมิชุบผมตั้งอุณหภูมิไว้เกินเล็กน้อยเพื่อได้มีโอกาสเล็งครับ :D
ตีอัดวิธีนี้จะเสี่ยงสำหรับ 52100 หากอยากได้ผิวไฟแนะนำเอาเข้าไฟตีไฟต่ำๆดีกว่าครับ
ตอนจะชุบไม่จำเป็นต้องเล็งครับ เพราะมันช่วยอะไรไม่ได้ หากมันจะคดมันจะคดตั้งแต่การทำนอมอลไลซ์แล้วครับ หรือหากจะคดตอนนี้ก็เพราะการตั้งแก้มมีดก่อนชุบที่ไม่สมมาตร ในกรณีนี้หากเล็งแล้วเห็นว่าคด การเคาะดัดก่อนแล้วเผาใหม่พอยกออกมามันก็จะคดอีกอยู่ดี หรือบางทีเล็งตรงๆ จุ่มออกมาก็อาจจะคดได้ก็ต้องมีการดัดหลังชุบอยู่ดีครับ
การเผื่ออุณหภมิ ทำได้กับบางเหล็กและบางเหล็กก็ไม่ควรทำ หากเราเผาเกินการลดอุณหภมิลงมาไม่ช่วยอะไรได้อีกแล้วในเรื่องเนื้อหา แต่ช่วยได้ในกรณีกันแตกสำหรับการใช้สารชุบที่เร็วเกินไปสำหรับเหล็ก เช่นการชุบเหล็กที่ชุบน้ำมันด้วยการนำไปชุบในน้ำ แต่การเผาก่อนที่จะลดอุณหภูมิลงมานั้นก็ไม่ควรสูงมากกว่าที่อุณหภูมิกำหนด จริงอยู่แม้เหล็กงานร้อนที่เราทำๆมีความยืดหยุ่นในการอบชุบพอสมควรเช่น แหนบ ชุบที่ 830-870 เราก็ควรให้มันยืดหยุ่นอยู่ในอุณหภมินั้น ผมเคยทดลองในเหล็กคาร์บอนสูงอย่าง SK5 (c=.86) พบว่าเมื่อเพิ่มอุณหภูมิเกิน 15 องศาC (ซึ่งก็แยกยากด้วยตาอยู่แล้วว่าเกินไปเท่าไหร่) เราสามารถมองเห็นด้วยตาว่ามันมีลักษณะเนื้อหาที่หยาบและเปราะกว่าเมื่อหักเมื่อเทียบกับการชุบแบบอุณหภูมิปรกติ
การเล็งในช่วงเวลาแบบนี้ จึงไม่มีประโยชน์ใดๆครับ นอกจากเสี่ยงที่จะเกิดโอเวอร์ฮีทเพราะการตั้งอุณหภูมิเกิน
;)
ดุ๊ยดุ่ย
30-07-13, 02:53 PM
ครับผม ขอบคุณครับ ยังเหลืออาจารย์หนึ่งอีกคน...? :(
ผมหวังไว้ว่าหมอดุ่ยเป็นที่ปรึกษาที่ดีและคอยแนะนำพี่ๆน้องๆในกลุ่มช่างมีดคอนสาร
ทุกคนที่นั้นได้มีแนวทางทำมีดที่ไม่เละเทะ เรื่องไหนไม่เข้าใจยกหูหาพะจานหรือผมหรือน้ามารกิเลยครับ
ความรู้ได้ถูกถ่ายทอด ที่ไทยเบลดนี่อาจอยู่ยากหน่อย แต่อยู่ยากแล้วดีจงอยู่เถิดครับ สุดท้ายคุณจะได้สิ่งดีๆ
pum_rakwana
30-07-13, 09:46 PM
ตอนนี้หมอดุ่ยเมา
บุญโฮมยิ้มยกไปหนึ่งโบกแล้วงึมงัมเบาๆ "ข่อยว่าแล้วววว"
ลุงแววถือแก้วหัวเราะ "หึหึ"
:p:D
ขอมาเก็บเกี่ยวความรู้ครับ
ดุ๊ยดุ่ย
31-07-13, 10:12 AM
ตอนนี้หมอดุ่ยเมา
บุญโฮมยิ้มยกไปหนึ่งโบกแล้วงึมงัมเบาๆ "ข่อยว่าแล้วววว"
ลุงแววถือแก้วหัวเราะ "หึหึ"
:p:D
ช่วงนี้ตาโฮมไม่ดื่มครับ แต่เมาเห็ดขม... ส่วนลุงแววหนีงานเป็นบางช่วงเพราะตอนนี้เจ้าเบียร์และน้องเฟิร์นลงงานเต็มตัว ลุงแววก็บ่นว่า " มื้อนี้บ่ แม่นงานเฮา ถืกยึดเตาไปแล้ว ฮึๆๆ :D"
ดุ๊ยดุ่ย
31-07-13, 07:32 PM
ที่ไทยเบลดนี่อาจอยู่ยากหน่อย
ที่นี่อยู่ไม่ยากหรอกครับ เพียงแต่ว่าเราจะอยู่แบบไหน..วางตัวแบบใด..ให้เป็นที่รัก ที่ชัง.. และอีกอย่าง น้าๆ พี่ๆ ในนี้ อบอุ่นทุกคน :o
.
.
.
:)
anaconda
01-08-13, 06:17 AM
:o
หมอร่ายจบ ทำไมต้องหน้าแดงด้วย
เห็นแล้วมันเขี้ยวเจงๆ จุ๊บๆ นะตะเอง ...:p
flycatcher_xiii
01-08-13, 12:19 PM
เห็นแล้วมันเขี้ยวเจงๆ จุ๊บๆ นะตะเอง ...:p
อย่างงี้นี่เองเค้าถึงบอกว่าที่นี่อยู่ยาก :p:p:D
thanatch
22-08-14, 02:57 PM
อย่างน้าหนึ่งว่า
เหล็กที่ต้องใช้สารชุบที่ไวกว่าอากาศ เมื่อออกจากเตาควรเอาลงสารชุบทันที อย่าปล่อยให้สีตก
ไม่เช่นนั้น ส่วนที่บางที่สุดอาจจะสีตกก่อนที่จะลงสารชุบ ซึ่งส่วนที่บางนั้นมักจะเป็นส่วนคม การปล่อยให้สีตกต่ำกว่า 760 ก่อนลงสารชุบ จะเกิดความล้มเหลวในการจุ่มชุบแข็งทันที ;)
รวมถึงแหนบด้วยป่าวครับ..
Powered by vBulletin® Version 4.2.3 Copyright © 2025 vBulletin Solutions, Inc. All rights reserved.