PDA

View Full Version : ถามเรื่องขนาดและแบบของมีดแข่ง คัทติ้ง ครับ



PARAM
10-08-14, 10:02 AM
สอบถามพี่ DEVILKI เรื่องสเปคของมีดแข่งคัทติ้ง ครับ ไม่ใช่จอมมารก็มาช่วยตอบได้นะครับ


1. มีดต้องมีลักษณะแบบไหนยาวเท่าไหร่

2. มีข้อห้ามอะไรในลักษณะมีดบ้าง เช่น มีดผมหนักไป สามรถปาดด้านบนลงมาที่แก้มใบเพื่อลดน้ำหนักลงมาได้ลึกเท่าไหร่ครับ

2ข้อก่อนเท่าที่นึกได้ครับ
ขอบคุณ

anaconda
10-08-14, 05:39 PM
เชิญทางนี้ครับท่าน

http://thaiblades.com/showthread.php?1459-KNIFE-CUTTING-COMPETITIONS-%E0%B8%81%E0%B8%8E-%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2-%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0-%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%97

anaconda
10-08-14, 05:41 PM
:rolleyes: ใกล้วันเข้ามาแล้วนะครับ สำหรับท่านใดที่สนใจเข้าร่วมแข่งขัน ... ตระเตรียมมีดของท่านให้พร้อม ฝึกซ้อม และทำความเข้าใจในกฎกติกา :D ... เอามาแปะกันไว้ดูอีกครั้งครับ


วัตถุประสงค์ในการจัดงาน

“มีด” เป็นสิ่งที่มีและอยู่คู่กับวิถีชีวิตของคนมาช้านาน ในฐานะที่เป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งที่ใช้ในเพื่อการดำรงชีวิต และแม้กระทั่งใช้เป็นอาวุธ
ในสมัยก่อนมนุษย์ได้นำวัสดุต่างๆ ที่มีมาดัดแปลงเป็นเครื่องมือที่ใช้ในชีวิตประจำวัน จนกระทั่งมนุษย์ได้เรียนรู้วิธีการถลุงเหล็ก เหล็กจึงได้ถูกนำมาใช้เพื่อทำเป็นมีด มันจึงมีความหลากหลายทั้งในแง่ของลักษณะการใช้งาน และประสิทธิภาพของเครื่องมือชนิดนี้ โดยคนที่สร้างสร้างมีดขึ้นมาใช้เราเรียกกันว่า”ช่างทำมีด”
วิวัฒนาการการสร้างมีด ดูจะเหมือนเดินหน้าไปอย่างไม่หยุดยั้งทั้งเรื่องขององค์ความรู้ การจัดการและวัสดุที่นำมาใช้ ทุกอย่างถูกศึกษา ค้นคว้าและทดลองจนได้สิ่งที่ดีที่สุดในสิ่งที่มีดชนิดนั้นๆควรจะเป็น อย่างไรก็ตาม แม้ในปัจจุบันจะประกอบด้วยองค์ความรู้อย่างครบถ้วน แต่ช่างทำมีดนั้น ก็ยังมีความรู้ความสามารถที่จะเข้าใจในองค์ความรู้เหล่านั้น และการนำมันมาใช้ที่แตกต่างกันออกไป อันจะนำมาซึ่งศักยภาพในการสร้างมีดที่แตกต่างกันออกไปอีกด้วย จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่บรรดาช่างทำมีดจะต้องมีขบวนการทดสอบที่ทั้งเป็นวิธีการของตัวเอง หรือองค์กร ซึ่งจะเป็นตัวบ่งบอกได้ว่าช่างทำมีดเหล่านั้น ได้ใช้องค์ความรู้ที่มีอยู่ทั้งหมดไม่ว่าจะได้มาด้วยวิธีใดก็ตาม สร้างมีดที่ดีตามแต่ลักษณะของมีดนั้นๆควรจะเป็นได้หรือไม่ และสุดท้ายแล้วผู้ใช้งานมีดเหล่านั้นจะเป็นผู้ที่บอกได้ว่ามันเหมาะสมและดีพอกับการใช้งานตามลักษณะของมีดแบบนั้นๆ หรือไม่
วิธีการพิสูจน์ว่ามีดที่ถูกสร้างขึ้นมานั้นมีคุณภาพดีหรือไม่ ต้องอาศัยหลายแนวทาง และหลายปัจจัย ทั้งทางวิทยาศาสตร์และการใช้งานในสภาพความเป็นจริง องค์ประกอบในการสร้างมีดให้ดีประกอบด้วย
การออกแบบทั้งตัวมีดและด้ามมีด(Design Blade /Handle)
ลักษณะสัณฐานที่ถูกต้องของตัวมีด (Blade Geometry)
น้ำหนักสมดุลที่ดีในการจับถือ( Weight Balance)
ชนิดของเหล็กและขบวนการการให้ความร้อนเพื่อให้ได้ใบมีดที่สมบูรณ์( Heat Treatment and Steel)
ซึ่งช่างทำมีดจะต้องเข้าใจในองค์ประกอบพื้นฐานนี้ และนำมันไปใช้เพื่อสร้างมีดที่ดีตามวัตถุประสงค์ ซึ่งต้องอาศัยการเรียนรู้ ฝึกฝน และพัฒนา เพื่อให้ได้มีดที่มีคุณภาพที่ดียิ่งขึ้น
การพิสูจน์คุณภาพมีดในทางวิทยาศาสตร์ เป็นเพียงส่วนหนึ่งในการทดสอบคุณภาพมีดเท่านั้นเช่น โครงสร้างภายในของเหล็ก เป็นต้น จะต้องมีการพิสูจน์คุณภาพมีดด้วยการใช้งานจริง ด้วยคนจริงๆ จึงจะครบถ้วนพอที่จะบอกว่ามีดนั้นดีหรือไม่ เหมาะสมในการใช้งานหรือไม่
Cutting Competition เป็นเพียงหนทางหนึ่งที่จัดทำขึ้นมา เพื่อให้ช่างมีดในบ้านเราได้มีมุมมองเกี่ยวกับมีด และ พัฒนางานมีดไปในทิศทางที่ถูกต้อง ด้วยการพิสูจน์มีดของตัวเองต่อสาธารณะ ด้วยความต้องการที่อยากมองเห็นการพัฒนาการของมีดจากช่างไทย สร้างมีดบนพื้นฐานของความเป็นจริงในการใช้งานมีดในลั กษณะของเครื่องมือ อันจะเป็นการพิสูจน์ความรู้ ความเข้าใจ ในองค์ความรู้ต่างๆ ที่จะนำมาใช้ในการสร้างมีดที่ดี และอย่างน้อยที่สุดมันต้องดีพอที่จะใช้ในการแข่งขันแบบนี้ อันจะเป็นแนวคิด และ แนวทางที่เขาจะใช้มันไปใช้ในการสร้างมีดเพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆด้วย ซึ่งมันหมายถึงการยกระดับของตัวช่างมีดเองบนมาตรฐานของความคิด ความสามารถ ไม่ใช่แค่เรื่องเล่าขาน หรือ แค่ในตำนาน
ทั้งนั้นทั้งนี้ ช่างทำมีดที่ทำมีดมาอย่างดี อันได้แก่ การออกแบบมีดที่ดี มีลักษณะสัณฐานของมีดที่ถูกต้องกับงานที่ใช้ มีน้ำหนักการตัดฟันที่เหมาะสม ใช้เหล็กคุณภาพดี อบชุบเพื่อให้ได้เหล็กคุณภาพดี กำหนดน้ำหนักสมดุลย์เพื่อการตัดฟันที่มีประสิทธิภาพ ก็จะได้มีดที่ดี และมีดที่ชนะการแข่งขัน ควรจะต้องเป็นมีดที่ทำหน้าที่ตัดฟันได้ดีในทุกๆ สิ่งที่กำหนด จะไม่ใช่มีดที่ทำหน้าที่ดีที่สุดแค่เพียงตัดฟันสิ่งใดสิ่งหนึ่งเท่านั้น
การจัดการแข่งขันยังเป็นการกระตุ้นความตื่นตัวในวงการมีดในเมืองไทย อันจะนำมาซึ่งการพัฒนาทั้งบุคลากร ความรู้ และการประกอบอาชีพการทำมีดในเมืองไทย ให้มีศักยภาพก้าวหน้าทัดเทียมอารยประเทศ อันจะประโยชน์เหล่านี้แก่ผู้บริโภคทั้งปัจจุบันและอนาคต อีกทั้งการแข่งขันครั้งนี้เป็นการจัดขึ้นครั้งแรกในเมืองไทย ท่ามกลางการติดตามและเฝ้ามองจากผู้ที่เกี่ยวข้องในประเทศ และองค์กรมีดต่างประเทศที่จัดการแข่งขันเป็นประจำ อันจะยกระดับช่างมีด และการแข่งขัน ให้เป็นที่ยอมรับของนานาชาติ ในอนาคต


กติกาการแข่งขัน

คุณสมบัติของตัวมีด
1. ขนาดของมีด
1.1 ใบมีดจะต้องมีดขนาดยาวไม่เกิน 10 นิ้ว วัดจากด้ามด้านที่ติดกับใบมีดจนสุดปลายของใบมีด
1.2 ความยาวตัวมีดทั้งหมดต้องไม่เกิน 15 นิ้ว วัดจากท้ายด้ามไปจนสุดปลายของใบมีด
1.3 จุดที่กว้างที่สุดของใบมีด จะต้องไม่เกิน 2 นิ้ว
1.4 ไม่จำกัดความหนาของใบมีดและความหนาของด้าม
2. จากจุดตัดที่ลาดลงมาจากคอใบมีด (recasso) ยาวไปจนถึงปลายใบมีด จะต้องเป็นระนาบเดียว ไม่เว้าหรือนูน
3. การทำคมหลอก หรือ การปาดสันบนยาวตามสันมีดเพื่อลดน้ำหนัก สามารถทำได้
4. การถ่วงน้ำหนักใดๆบนใบมีดที่ไม่ใช่บริเวณด้ามไม่สามารถทำได้
5. จะต้องไม่มีรูหรือหลุมใดใดในส่วนที่เป็นใบมีด ยกเว้นในมีดแบบอินทีกรัล ที่วัดจากจุดที่ลาดลงเป็นใบมีด อนุญาตให้มีรูร้อยเชือกบนคอมีดบริเวณที่เป็นคอมีดก่อนถึงจุดที่ลาดลงเป็นใบมีดนั้นได้ ซึ่งจะอยู่บนการ์ดมีดแบบอินทีกรัล
6. ด้ามจับจะต้องมีหมุดหรือท่อโลหะ 1 ชิ้นเป็นอย่างน้อย ที่เจาะทะลุวัสดุด้ามพร้อมกับกั่นมีด
7. มีดที่เข้าแข่งขันจะต้องมีรูร้อยเชือกคล้องข้อมือ เชือกที่ใช้ต้องแข็งแรงพอ คณะกรรมการจัดการแข่งขันฯจะเป็นผู้พิจารณาว่ามีความปลอดภัยพอที่จะใช้เข้าแข่งขันหรือไม่
8. ควรเจาะรูร้อยเชือกพันข้อมือด้านหน้าในส่วนของด้าม (Osborne Safety Lanyard) (ข้อแนะนำ)
9. มีดที่เข้าแข่งขันจะต้องอยู่ในซองที่แข็งแรงและปลอดภัย ตลอดระยะเวลาที่อยู่ในบริเวณสนามแข่งขัน
10. มีดที่เข้าแข่งขันควรจะเป็นประเภทที่มีด้ามเป็นด้ามประกับกั่นเต็ม แก้มกั่นเต็มจะเรียวไปหาท้ายด้ามหรือไม่ก็ได้ หากเป็นด้ามกั่นซ่อน จะต้องมั่นใจว่ามันแข็งแรงพอที่จะไม่หักระหว่างการแข่งขันและควรทำให้กั่นอ่อนกว่าความแข็งของส่วนคมมีดเพื่อลดการหักของกั่น สำหรับมีดที่ชุบแข็งได้ด้วยอากาศ (Air Hardening) ควรจะมีขนาดกั่นที่ใหญ่และแข็งแรง
11. จะต้องไม่มีส่วนของกระบังมือหรือด้ามเลยเข้าใบในใบมีดเลยเข้าไปในบริเวณใบมีดที่เป็นส่วนของคมมีด
12. มีดที่เข้าทำการแข่งขัน ควรจะทดสอบด้วยตัวเองก่อนนำมีดเข้าสู่การแข่งขัน
13. อนุญาตให้ใช้มีดโปรดักชั่นเข้าร่วมในการแข่งขันครั้งนี้ได้ โดยต้องมีลักษณะและข้อจำกัดดังที่กล่าวมา
14. มีดทุกเล่มจะต้องมีซองหรือฝักที่แน่นหนาแข็งแรง ไม่อนุญาตให้ใช้ซองแบบซิป ซองแบบกระดาษแข็ง หรือ พลาสติคบอร์ด
15. มีดทุกเล่มที่เข้าทำการแข่งขันจะต้องตรวจโดยคณะกรรมการจัดการแข่งขันฯ โดยคณะกรรมการจัดการแข่งขันฯ จะเป็นผู้พิจารณาว่าเป็นมีดที่ใช้ในการแข่งขันได้หรือไม่ และการพิจารณาดังกล่าวถือเป็นที่สิ้นสุด
@@

anaconda
10-08-14, 05:42 PM
ประเภทของการแข่งขันและการนับคะแนน

16. ตัดไม้สนก่อสร้างที่วางนอน ขนาด 1.5*4.5 นิ้ว คะแนนที่ได้จะนับจาก 30 แล้วลบด้วยเวลาเป็นวินาทีที่ใช้ในการตัดไม้
17. เชือกมนิลาขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 นิ้ว 10 คะแนน
18. ตัดหลอดกาแฟมีข้อพับ 2 หลอด โดยตัดเหนือข้อพับ และผ่าหลอดกาแฟไม่มีข้อพับยาวตลอดแนวอีก 1 หลอด หลอดละ 5 คะแนน
19. ตัดท่อกระดาษหนาขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 นิ้วสูง 1 ฟุต ที่ตั้งอยู่ให้ขาดมากที่สุด นับ จำนวนครั้งที่ตัดครั้งละ 1 คะแนน
20. ผ่าลูกเทนนิสและลูกกอล์ฟบนไม้รองที่ไหลออกมาจากท่ออย่างละ 2 ลูก ลูกละ 5 คะแนน
21. ตัดกระป๋องน้ำอัดลมที่วางซ้อนกัน 2 ชั้น ( 2 ซ้อน 1) ให้ขาดออกจากกัน หากไม่ล้ม ได้กระป๋องละ 5 คะแนน
22. ตัดขวดน้ำขนาด 600 มล.ใส่น้ำเต็ม 3 ขวด 15 คะแนน หากตัดขาดไม่หมดทั้งสามขวด ไม่มีคะแนน
23. ตัดแผ่นกระดาษ 70 grams ที่แขวนลอย ให้ขาดจากกันด้วยคมมีด 5 คะแนน
24. สับไม้สนกลึงกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 นิ้ว ให้ขาดออกจากกันตามสีที่กำหนด สีดำตรงกลาง 10 คะแนน สีแดง 5 คะแนน นอกแถบสีไม่มีคะแนน หากตัดถูกแถบสีสองสีให้นับสีที่น้อยกว่า
25. ไม้สนก่อสร้างที่วางนอน ขนาด 1.5*4.5 นิ้ว คะแนนที่ได้จะนับจาก 30 แล้วลบด้วยเวลาเป็นวินาทีที่ใช้ในการตัดไม้
26. คะแนนเวลารวมที่ใช้แข่งขัน เท่ากับ 200 ลบด้วยเวลาที่ใช้ในการแข่งขันทั้งหมด นับตั้งแต่กรรมการสนามให้สัณญาณเริ่มการแข่งขัน จนจบ นับเป็นวินาที
27. หากผู้เข้าแข่งขันมีคะแนนเท่ากัน ผู้เข้าแข่งขันที่ใช้เวลารวมที่ดีที่สุด จะเป็นผู้ชนะ
28. หากยังมีคะแนนเท่ากันตามข้อ 26 ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ให้ผู้เข้าแข่งขันทำการแข่งขันจากข้อ 15 ถึงข้อ 24 แข่งขันทีละข้อตามลำดับเพื่อหาผู้ชนะ ผู้ที่ชนะคู่ต่อสู้ได้ก่อนจะเป็นผู้ชนะ ทั้งนี้จะต้องจับสลากเพื่อกำหนดลำดับก่อนหลังของผู้เข้าแข่งขันในทุกข้อ
29. ในแต่ละด่านของการแข่งขันอาจมีการเปลี่ยนแปลงจากข้างต้น



การตัดคะแนนและการถูกปรับให้ออกจากการแข่งขัน

30. ระหว่างการแข่งขันหากเชือกรัดข้อมือขาด ต้องเปลี่ยนใหม่ จะถูกตัดคะแนน 5 คะแนน หากไม่สามารถหามาเปลี่ยนได้ จะถูกให้ออกจากการแข่งขันทันที
31. เมื่อสิ้นสุดการแข่งขัน คมมีดมีการร่อย หรือบิดตัว จะถูกตัดคะแนนกรณีละ 10 คะแนน
32. เมื่อสิ้นสุดการแข่งขัน สภาพของด้ามมีดต้องสมบูรณ์หากมีการปริ อ้า ร้าว จะถูกตัดคะแนน 5 คะแนน
33. เมื่อสิ้นสุดการแข่งขัน หากใบมีดเสียหาย บิ่นแหว่ง หัก ร้าว ด้ามมีดแตกหักชัดเจน หรือหลุดออกจากกันเป็นชิ้น จะถูกปรับให้แพ้โดยไม่ต้องนับคะแนน
34. หากมีดมีความเสียหายตามข้อ 31 และตรวจพบระหว่างการแข่งขัน ต้องออกจากการแข่งขันทันที และไม่มีการนับคะแนน โดยกรรมการตัดสินสามารถหยุดการแข่งขันและขอตรวจสอบได้ โดยเวลารวมที่ใช้แข่งขันจะหยุดในช่วงที่มีการตรวจสอบ
35. หากผู้เข้าแข่งขันละเมิดข้อ 40,41 และ 42 ในระหว่างการแข่งขัน จะถูกปรับกรณีละ 10 คะแนน
36. หากผู้เข้าแข่งขันละเมิดข้อ 43 ในระหว่างการแข่งขัน จะถูกปรับให้ออกจากการแข่งขันทันที และไม่มีการนับคะแนน
37. หากผู้เข้าแข่งขัน ประสปอุบัตเหตุบาดเจ็บภายนอกที่เกิดจากคมมีด จะถูกให้ออกจากการแข่งขันทันที ผู้ใดมีการบาดเจ็บจากสภาพร่างกาย หรือ ร่างกายไร้สมรรถภาพ กรรมการจัดการแข่งขันจะเป็นผู้พิจารณาว่าจะให้ดำเนินการแข่งขันต่อได้หรือไม่หรือผู้เข้าแข่งขันสามารถร้องขอเพื่อออกจากการแข่งขันได้ และไม่มีการนับคะแนน
@@

มารกิ
11-08-14, 04:47 PM
:D น้างูจัดการจบไปแล้วพี่ ... เอาไงดีล่ะทีนี้

PARAM
11-08-14, 08:17 PM
:D น้างูจัดการจบไปแล้วพี่ ... เอาไงดีล่ะทีนี้

คือที่สงสัยจริงๆถ้าผมปาด คมหลอก ด้านบน ลงมาถึงครึ่งของใบทั้ง 2 ด้านจะผิดหรือเปล่าครับ

มารกิ
12-08-14, 07:18 PM
คือที่สงสัยจริงๆถ้าผมปาด คมหลอก ด้านบน ลงมาถึงครึ่งของใบทั้ง 2 ด้านจะผิดหรือเปล่าครับ

ไม่ผิดครับพี่ ... :)

PARAM
13-08-14, 09:16 AM
ไม่ผิดครับพี่ ... :)


โอเค

ขอบคุณครับ:o

น้าหล่อ
13-08-14, 03:58 PM
คือที่สงสัยจริงๆถ้าผมปาด คมหลอก ด้านบน ลงมาถึงครึ่งของใบทั้ง 2 ด้านจะผิดหรือเปล่าครับ

มีดมันหนักไปเหรอพี่ ถึงปาดออกอ่ะ ..... :rolleyes::D

PARAM
14-08-14, 09:39 AM
มีดมันหนักไปเหรอพี่ ถึงปาดออกอ่ะ ..... :rolleyes::D

ป่าวครับพี่หล่อ คนมันแก่ขึ้นน่ะครับพี่:(