View Full Version : Archery Tip: Gap Shooting and Arrow Tunning
ขออนุญาติ เปิดกระทู้เพื่อ เสวนา ขอความรู้ แลกเปลี่ยนความรู้ กับเพื่อน ๆนะครับ
Gap Shooting and Arrow tunning : Traditional Bow
Gap Shooting เป็นวิธีการเล็งธนูแบบหนึ่งของการยิงธนูแบบ Traditional โดยกำหนดระยะห่างระหว่าง จุดหมายที่จะยิง กับ หัวลูกธนู
วิธีการเล็งแบบนี้มักใช้กับการยิงเป้านับคะแนน ระบบแข่งขันมากกว่า เนื่องจากมีความแน่นอน คงเส้นคงวามากกว่า วิธีการเล็งแบบ สัญชาติญาณ
http://img442.imageshack.us/img442/2903/gapshootinga.jpg (http://imageshack.us/photo/my-images/442/gapshootinga.jpg/)
การวางหมาย ของ Gap มีใหญ่ ๆ 4 ทิศทาง คือ บน ล่าง ซ้าย ขวา หรือแบบละเอียด เช่น ล่างซ้าย หรือ บนขวา เป็นต้น
โดยขึ้นอยู่กับ ลักษณะฟอร์มการยิง คันธนู และ ธรรมชาติของลูกธนู
ลักษณะเป็นการเล็งแก้ เช่น เล็งไปด้านขวา เพื่อให้ลูกธนูปักเป้าทางด้านซ้าย เล็งต่ำเพื่อให้ลูกธนูขึ้นด้านบน
A. Gap อยู่ใต้จุดหมายที่เล็ง
http://img442.imageshack.us/img442/2903/gapshootinga.jpg (http://imageshack.us/photo/my-images/442/gapshootinga.jpg/)
ปัจจัยสำคัญ ของ ระยะห่าง ในแนวตั้ง และอยู่ใต้เป้า คือ ความมากน้อยของ น้ำหนักน้าวสายของคันธนู เช่น ระยะ 18 เมตร Gap ของธนูปอนด์ที่หนักจะมากกว่าปอนด์น้อย
B. Gap อยู่เหนือเป้าหมายที่จะยิง
http://img844.imageshack.us/img844/7968/gapshootingbover.jpg (http://imageshack.us/photo/my-images/844/gapshootingbover.jpg/)
การวาง Gap เหนือ จุดหมายที่เล็ง มักพบได้ในการยิงระยะไกล และหรือ ธนูที่ปอนด์น้อย ๆ
C. Gap อยู่ด้านขวาของเป้า
http://img823.imageshack.us/img823/9388/gapshootingdright.jpg (http://imageshack.us/photo/my-images/823/gapshootingdright.jpg/)
ปัจจัยที่สำคัญเกี่ยวกับลูกธนู คือ ลูกธนูอ่อนเกินไป (Arrow Spine อ่อน) ทำให้แข็งขึ้นโดย ตัดลูกให้สั้นลง หรือลดน้ำหนักที่ถ่วงหัวลง ลดปอนด์
D. Gap อยู่ด้านซ้ายของเป้า
http://img7.imageshack.us/img7/1033/gapshootingcleft.jpg (http://imageshack.us/photo/my-images/7/gapshootingcleft.jpg/)
ปัจจัยที่สำคัญเกี่ยวกับลูกธนู คือ ลูกธนูแข็งเกินไป (Arrow Spine แข็ง) ทำให้อ่อนขึ้นโดย เพิ่มน้ำหนักที่ถ่วงหัวลูกธนู เลือกลูกธนูที่ยาวขึ้น เพิ่มปอนด์
E. Gap พอดี (Gap ในอุดมคติ)
http://img27.imageshack.us/img27/9408/gapshootingeonyellow.jpg (http://imageshack.us/photo/my-images/27/gapshootingeonyellow.jpg/)
มาจากการปรับแต่ง ทั้งด้านอุปกรณ์ และฟอร์มการยิง ที่ค่อนข้างสมบูรณ์แล้ว.(ที่ระยะ 18 เมตร ปอนด์ประมาณ 24 ปอนด์
ลักษณะการวาง Gap ที่ดี อย่างน้อยควรให้อยู่บนกระดาษของเป้า(หน้าเป้า Target Face) เพราะเป็นจุดอ้างอิงที่คงที่ มากกว่า จุดใดๆ บนเป้าธนู (Back Stop) ขาตั้งเป้า ..
เพื่อน ๆ ใช้ Anchor แบบไหนที่ระยะ 18 เมตร และ ใช้จุดเล็งตรงไหนกันบ้างครับ ใครบ้างที่จุดเล็งอยู่บนเป้าครับ
อย่าลืม เทรดดี้ Day ที่เพื่อน ๆ จะมาให้ความรู้กัน
ขอขอบคุณผู้ให้ข้อมูลเบื้องต้นประกอบ กระทู้ พี่ตู่ พี่โดม @ 259 ครับ
ถ้าคุณมาฝึกยิงแบบผมคุณจะได้รู้ว่าการเล็งและยิงง่ายมาก เพียงแค่คุณใช้ลูกธนู สามยี่ฮ่อ สามขนาด สามน้ำหนัก ยิงมันเข้าไปโดยใช้อย่างเดียวคือ คุณโชคช่วย คุณก็จะพบความสำเร็จอย่างง่าย...ตาย
Dome@259
18-11-11, 07:14 PM
;) รูปประกอบแจ่มจัดมากเข้าใจง่าย ;)
ขออนุญาตให้ข้อมูลเพิ่มเติมครับ
Gap Shooting เป็นวิธีการเล็งที่ให้ผลค่อนข้างสม่ำเสมอ ประเด็นสำคัญอยู่ที่ว่าทำอย่างไรให้ฟอร์มการยิงน่ิงและเหมือนเดิมทุกคร้ัง
เมื่อฟอร์มการยิงน่ิงและเหมือนเดิมทุกคร้ังแล้วจึงจะสามารถเซ็ตลูกธนูเพื่อให้การเล็ง Gap Shooting ของเราเข้าใกล้หรือเป็นแบบ
อุดมคติตามรูปที่พี่น้ำแสดงไว้ข้างบน ซึ่งสำหรับเทรดดี้การที่จะทำให้ฟอร์มการยิงนิ่งและเหมือนเดิมทำได้ยากพอสมควรต้องซ้อม
อย่างสม่ำเสมอครับ และผมเชื่อว่าทุกคนก็สามารถทำได้ครับ
:p:p Gap Shooting ของผมอยู่ที่ไหน? ใครรู้บ้าง? :p:p
จากอุปกรณ์ที่ผมมี
ธนู 40 lb.@ 28" AMO 56"
ระยะน้าว 27" - 27.5" (แล้วแต่วันและอารมณ์)
ลูกธนู Carbon Express CXL Pro 150 ยาว 31" หัวลูกหนัก 194 เกรน
เข้าแองเคอร์ที่มุมปากด้วยนิ้วกลาง
Gap Shooting ของผมอยู่แถวๆขอบล่างของกระดาษเป้า
ถ้าถามต่อว่าทำไมไม่เพิ่มน้ำหนักหัวลูกจนให้ gap เข้าไปจี้เหลือง
คำตอบคือเคยลองแล้ว แต่ลูกวิ่งไม่สวยสะบัดและกลุ่มลูกบานมากขึ้น(กลุ่มไม่แน่น) สรุปว่าลูกไม่เหมาะสมกับคัน
ที่เล่าให้ฟังนี้เพียงอยากบอกว่าการเซ็ตลูกจนเข้าไปเป็น Gap แบบอุดมคติก็ไม่ง่ายครับ
ดังนั้นการเซ็ตอาจต้องมองว่าทำอย่างไรให้เหมาะสมที่สุดสำหรับตัวเราและคันธนูของเรา
แต่ก็อยากให้ทุกคนลองเซตลูกดูเองครับแล้วจะสนุกกับการยิงเทรดดี้มากขึ้นอีกเยอะเลย :rolleyes::rolleyes::rolleyes:
ถามด้วยความสงสัยจริงๆ นะครับ เพราะอยากจูนลูกเองแต่ไม่อยากวุ่นวายหอบลูกไปตัดที่ร้าน
ลูกคาร์บอนใช้อะไรตัดครับ จิ๊กซอว์ธรรมดาได้หรือเปล่า
Dome@259
19-11-11, 09:57 PM
ถามด้วยความสงสัยจริงๆ นะครับ เพราะอยากจูนลูกเองแต่ไม่อยากวุ่นวายหอบลูกไปตัดที่ร้าน
ลูกคาร์บอนใช้อะไรตัดครับ จิ๊กซอว์ธรรมดาได้หรือเปล่า
:) ใช้หินเจียร์มือใส่ใบไฟเบอร์แบบบางตัดได้ครับ :)
ใช้เลื่อยหรือจิ๊กซออร์จะทำให้เกิดเสี้ยนของเส้นใยคาร์บอนแล้วจะลั่น ลูกจะแตกได้ง่ายครับ
ที่ผ่านมากับการเรียนรู้ ในการยิงแบบ Traditional
1.การลดปอนด์ยิงลงเหลือ 24 ปอนด์
---- ด้วยวิธีการยิงโดยนิ้วชี้แตะมุมปาก จุดเล็งก็ยังไม่ถึงกระดาษของหน้าเป้าที่ระยะ 18 เมตร
-----แต่ หากเปลี่ยนโดยใช้นิ้วกลางแตะมุมปาก จุดเล็งเปลี่ยนได้ชัด ขึ้นสูงใกล้กระดาษของหน้าเป้า ต้องฝึกมากขึ้นเพื่อให้ชินและชำนาญกับความรู้สึกแบบนี้
ที่สำคัญ ของการยิงปอนด์เบา
---- สามารถ ความคุมคันธนู การเล็ง และการปล่อยสายได้อย่างง่ายมาก
---- การปล่อยสายธนูอย่างดี คือ ปัจจัยที่สำคัญทำให้ลูกธนูวิ่งสวย นอกจากลูกธนูที่ได้รับการปรับแต่งได้เหมาะสมดีแล้ว
---- เทคนิคปรับการเล็งอย่างละเอียดทางซ้ายหรือขวา เพื่อปรับทางลูกธนู วิธี Gap Shooting โดย ใช้ด้านขอบซ้าย ขอบขวา หรือ ส่วนหัวของลูกธนู ในการวางตรงจุดเล็ง
ที่ยัง งงงงงง หาคำตอบไม่ได้ อธิบายไม่ถูก
ลูกธนู ผม FatBoy Spine 500 ยาว 28.5 นิ้ว ปีกขนนก หัวหนัก 225 เกรน
ลูกชุดนี้ ผมใช้ยิงตั้งแต่ ลิ้ม 48 ปอนด์ 44 ปอนด์ และ 24 ปอนด์ ( ทั้ง Recurve และ Traditional .Formula FRX Buffalo)
ลูกเบอร์ใหญ่เกินตารางที่ บริษัทแนะนำ และ ถ่วงหัวหัวเพื่อให้ค่า Spine กลับลงมาเหมาะสม..กลายเป็นความรู้สึกชอบส่วนตัวกับลูกหนัก กับ การวิ่งลูกธนูทื่อๆ ช้า ๆ ไปยังเป้า..
ลอง ลูกธนู พี่โดม พี่หมี CXL 150 ลูกก็วิ่งเร็วดี ส่ายน้อยถึงเร็วดี
อาทิตย์ นี้ ขาเทรดี้ทั้งหลายถ้ามาได้อย่าพลาดนะครับ
..
stormhead
21-11-11, 10:28 AM
วันอาทิตย์ที่ 27 พฤศจิกายนนี้ครับ ใครอยากลองเล็งแบบไหน
ใครอยากได้ Knowhow อะไร ....พบกัน แล้วทดลองกันในวันชุมนุมเทรดดี้เลยครับ
09.00-12.00
มือใหม่ มือเก่า มือเก๋า มือร้างลาไปนาน มือนานนานจับที มาร่วมได้หมดครับ
จะมาเยอะ มาน้อย ไม่เกี่ยงครับ งานนี้ มีเกมส์ที่หายิงไม่ได้ที่ไหนแน่แน่ครับ
มีประลองความแม่นจริงจริงก็มี ...วัดดวงก็มี ...ยิงแบบท่ายากก็มี ...
มีชาวเทรดดี้ช่วยกันดูเรื่องความปลอดภัยให้กันอยู่แล้วครับ ..ไม่ต้องกังวลนะครับสำหรับมือใหม่
และเนื่องจากเวลาความมันส์มีจำกัด ทำให้ทางทีมงานพยายามกลั่นกรองบีบเค้นกิจกรรมที่คุ้มค่ากับการมาร่วมให้ได้มากที่สุดครับ
ปล.ห้ามมาแอบสังเกตุการณ์นะครับ ..ถ้าจับได้ว่ามาสังเกตุการณ์ จะถูกจับให้ลงร่วมกิจกรรมซะให้เข็ด...ไม่ได้ขู่นะครับ ... งานนี้เอาจริง:mad::p:D
(ขาเทรดคนไหนมีธนูปอนด์เบา กับลูกที่ไม่ได้ใช้...ให้ติดไปด้วยนะครับ)
เพราะถ้าจะเปนขาเทรดด้วยกัน ห้ามแอบไปยืนขำคนเดียวครับ จะหัวเราะ หรือจะขำก็ลงมาขำด้วยกันในสนามครับ
ที่ผ่านมากับการเรียนรู้ ในการยิงแบบ Traditional
ที่ยัง งงงงงง หาคำตอบไม่ได้ อธิบายไม่ถูก
ลูกธนู ผม FatBoy Spine 500 ยาว 28.5 นิ้ว ปีกขนนก หัวหนัก 225 เกรน
ลูกชุดนี้ ผมใช้ยิงตั้งแต่ ลิ้ม 48 ปอนด์ 44 ปอนด์ และ 24 ปอนด์ ( ทั้ง Recurve และ Traditional .Formula FRX Buffalo)
ลูกเบอร์ใหญ่เกินตารางที่ บริษัทแนะนำ และ ถ่วงหัวหัวเพื่อให้ค่า Spine กลับลงมาเหมาะสม..กลายเป็นความรู้สึกชอบส่วนตัวกับลูกหนัก กับ การวิ่งลูกธนูทื่อๆ ช้า ๆ ไปยังเป้า..
ลอง ลูกธนู พี่โดม พี่หมี CXL 150 ลูกก็วิ่งเร็วดี ส่ายน้อยถึงเร็วดี
อาทิตย์ นี้ ขาเทรดี้ทั้งหลายถ้ามาได้อย่าพลาดนะครับ
..
อ่านข้อความในกระทู้ที่ก่อนหน้านี้ของคุณน้ำแล้วยังคงสงสัยมาจนทุกวันนี้ว่า ทำ Bare shaft testing กันยังไง ลูกธนูถึงกระเด็นไปไกลขนาดหลุดเป้า เพิ่งจะมาเข้าใจเอาตอนที่อ่านกระทู้นี้ว่าใช้หัวลูกธนูที่มีน้ำหนักมาก และทำ Bare shaft testing กันคนละวัตถุประสงค์ ขอบคุณครับสำหรับข้อมูลและรายละเอียดของลูกธนูที่จูนแล้ว
ธนูของผมขนาด 45#@28" ใช้ลูกธนู Gold Tip - Entrada 400 ยาว 31" หัวลูกธนูหนัก 100 เกรน, Gold Tip - Entrada 500 ยาว 29.5" หัวลูกธนูหนัก 85 เกรน และ Gold Tip - Traditional 3555 ยาว 30" หัวลูกธนูหนัก 85 เกรนครับ
R1300GSA
21-11-11, 10:02 PM
วันอาทิตย์เป็นวันหยุดของเพื่อนๆกันซะส่วนใหญ่เราก็นึกว่า เราก็คงได้ไปเป็นแน่แท้.... สุดท้าย งานเข้าไปชลบุรี เซ็งเป็ด...... ขอให้พี่ๆเพื่อนๆสนุกกันทุกคนนะครับ
ผมทำงานไม่มีวันหยุดครับ (หมายความว่า มีงานวันไหนก็ต้องไปครับ ไม่มีก็ว่าง.... ):bullseye::bowarrow:
วันอาทิตย์เป็นวันหยุดของเพื่อนๆกันซะส่วนใหญ่เราก็นึกว่า เราก็คงได้ไปเป็นแน่แท้.... สุดท้าย งานเข้าไปชลบุรี เซ็งเป็ด...... ขอให้พี่ๆเพื่อนๆสนุกกันทุกคนนะครับ
ผมทำงานไม่มีวันหยุดครับ (หมายความว่า มีงานวันไหนก็ต้องไปครับ ไม่มีก็ว่าง.... ):bullseye::bowarrow:
เอาเถอะค่ะ ตอนนี้มีงานก็ต้องทำไปก่อน เมื่อไหร่ว่างก็เข้ามาที่ AT ก็จะเจอไม่ใครก็ใครแหละที่อยู่ คุยกันได้ทุกคนค่ะ แล้วพบกัน ไม่วันไหนก็วันหนึ่งนะคะ
Dome@259
23-11-11, 10:19 PM
ที่ผ่านมากับการเรียนรู้ ในการยิงแบบ Traditional
1.การลดปอนด์ยิงลงเหลือ 24 ปอนด์
---- ด้วยวิธีการยิงโดยนิ้วชี้แตะมุมปาก จุดเล็งก็ยังไม่ถึงกระดาษของหน้าเป้าที่ระยะ 18 เมตร
-----แต่ หากเปลี่ยนโดยใช้นิ้วกลางแตะมุมปาก จุดเล็งเปลี่ยนได้ชัด ขึ้นสูงใกล้กระดาษของหน้าเป้า ต้องฝึกมากขึ้นเพื่อให้ชินและชำนาญกับความรู้สึกแบบนี้
ที่สำคัญ ของการยิงปอนด์เบา
---- สามารถ ความคุมคันธนู การเล็ง และการปล่อยสายได้อย่างง่ายมาก
---- การปล่อยสายธนูอย่างดี คือ ปัจจัยที่สำคัญทำให้ลูกธนูวิ่งสวย นอกจากลูกธนูที่ได้รับการปรับแต่งได้เหมาะสมดีแล้ว
---- เทคนิคปรับการเล็งอย่างละเอียดทางซ้ายหรือขวา เพื่อปรับทางลูกธนู วิธี Gap Shooting โดย ใช้ด้านขอบซ้าย ขอบขวา หรือ ส่วนหัวของลูกธนู ในการวางตรงจุดเล็ง
ที่ยัง งงงงงง หาคำตอบไม่ได้ อธิบายไม่ถูก
ลูกธนู ผม FatBoy Spine 500 ยาว 28.5 นิ้ว ปีกขนนก หัวหนัก 225 เกรน
ลูกชุดนี้ ผมใช้ยิงตั้งแต่ ลิ้ม 48 ปอนด์ 44 ปอนด์ และ 24 ปอนด์ ( ทั้ง Recurve และ Traditional .Formula FRX Buffalo)
ลูกเบอร์ใหญ่เกินตารางที่ บริษัทแนะนำ และ ถ่วงหัวหัวเพื่อให้ค่า Spine กลับลงมาเหมาะสม..กลายเป็นความรู้สึกชอบส่วนตัวกับลูกหนัก กับ การวิ่งลูกธนูทื่อๆ ช้า ๆ ไปยังเป้า..
ลอง ลูกธนู พี่โดม พี่หมี CXL 150 ลูกก็วิ่งเร็วดี ส่ายน้อยถึงเร็วดี
อาทิตย์ นี้ ขาเทรดี้ทั้งหลายถ้ามาได้อย่าพลาดนะครับ
..
ขอตั้งสมติฐานนะครับ ;);)
ที่ลูกและหัวเบอร์เดียวเที่ยวทั่วไทยได้นั้นอาจจะมาจากหน้าต่างคันครับ
เพราะว่าคันธนูจะมีหน้าต่างคันตื้นลึกไม่เท่ากัน ผมหมายถึง Formola กับ Buffalo
คัน Formula 44# กับ 48# อาจไม่ต่างกันมากที่น้ำหนักน้าวและฟอร์มการยิงเหมือนกันเปะ
ส่วน Buffalo น้าวเบากว่าแต่ฟอร์มไม่เหมือนกับยิง Formula อาจเป็นเหตุผลให้ลูกวิ่งไม่กินซ้ายกินขวาอย่างที่พี่น้ำสงสัยครับ
ลองทดลองแบบนี้ซิครับเอาคัน Formula มายิงด้วยฟอร์มเทรดดี้แบบ Buffalo หรือ
เอาคัน Buffalo มายิงด้วยฟอร์ม Recurve แบบ Formula เปรียบเทียบกันดูครับ ว่าสมติฐานที่ว่าถูกต้องหรือไม่ :cool::cool:
:rolleyes::rolleyes: จากที่เคยลองถ่วงหัวลูกธนูกับคันเทรดดี้ ผมพบว่าถ้าฟอร์การยิงนิ่งมากๆจะรู้สึกได้ที่น้ำหนักเปลี่ยนไป 25 เกรน
แต่ถ้าฟอร์ไม่นิ่งมากนักจะรับรู้การเปลี่ยนแปลงของลูกที่กินซ้าย-ขวาได้ที่น้ำหนัก 50 เกรนขึ้นไปครับ :rolleyes::rolleyes: ประสบการณ์ส่วนตัวนะครับ
อ่านแล้วเข้าใจง่ายๆ มากครับ ไม่งั้นคงนึกภาพไม่ออก :p
ขอตั้งสมติฐานนะครับ ;);)
ที่ลูกและหัวเบอร์เดียวเที่ยวทั่วไทยได้นั้นอาจจะมาจากหน้าต่างคันครับ
เพราะว่าคันธนูจะมีหน้าต่างคันตื้นลึกไม่เท่ากัน ผมหมายถึง Formola กับ Buffalo
คัน Formula 44# กับ 48# อาจไม่ต่างกันมากที่น้ำหนักน้าวและฟอร์มการยิงเหมือนกันเปะ
ส่วน Buffalo น้าวเบากว่าแต่ฟอร์มไม่เหมือนกับยิง Formula อาจเป็นเหตุผลให้ลูกวิ่งไม่กินซ้ายกินขวาอย่างที่พี่น้ำสงสัยครับ
ลองทดลองแบบนี้ซิครับเอาคัน Formula มายิงด้วยฟอร์มเทรดดี้แบบ Buffalo หรือ
เอาคัน Buffalo มายิงด้วยฟอร์ม Recurve แบบ Formula เปรียบเทียบกันดูครับ ว่าสมติฐานที่ว่าถูกต้องหรือไม่ :cool::cool:
:rolleyes::rolleyes: จากที่เคยลองถ่วงหัวลูกธนูกับคันเทรดดี้ ผมพบว่าถ้าฟอร์การยิงนิ่งมากๆจะรู้สึกได้ที่น้ำหนักเปลี่ยนไป 25 เกรน
แต่ถ้าฟอร์ไม่นิ่งมากนักจะรับรู้การเปลี่ยนแปลงของลูกที่กินซ้าย-ขวาได้ที่น้ำหนัก 50 เกรนขึ้นไปครับ :rolleyes::rolleyes: ประสบการณ์ส่วนตัวนะครับ
เรื่อง หน้าต่างคัน ระหว่าง 2 รุ่น Formula และ Buffalo ความตื้นลึกไม่น่าต่างกันมาก เพราะสามารถเช็คได้ โดยการวางคันแล้วใส่ลูกธนู เล็งดูสายธนู ผ่าน center ลิ้ม คัน ลูกธนู หรือไม่
ข้อดีของคันธนูที่เป็น Traditional แท้ ๆ โดยเฉพาะ Riser Hoyt Buffalo ที่ Bob Lee และ Black window เลียนแบบมา(5555 ล้อเล่น) คือ
ส่วนหน้าต่างคัน (Window) และ Shelf ได้ทำเป็นส่วนโค้ง ทั้งสองด้าน ทำให้มีจุดสัมผ้สลูกธนูน้อยกว่า และรองรับแนวลูกธนู ต่างกับ ธนูอื่นที่นำมายิงแบบ Traditional เพราะ ส่วนที่เป็น ส่วนหน้าต่างคัน (Window) และ Shelf จะตรงๆ เมื่อปรับแนว Nocking สูงหรือต่ำ ลูกธนูก็จะไปติดขอบ ด้านหน้า หรือด้านหลัง หรือ หน้าต่างคัน
http://img7.imageshack.us/img7/214/b37d6098aa.jpg (http://imageshack.us/photo/my-images/7/b37d6098aa.jpg/)
http://img696.imageshack.us/img696/7016/b37d6131aa.jpg (http://imageshack.us/photo/my-images/696/b37d6131aa.jpg/)
ที่มาภาพ http://www.tradtalk.com/forums/showthread.php?t=27759
คันธนู recurve Formula 44# และ 48#. มี plunger แยกกันแต่ละตัวได้ทำการปรับแต่งอ่อนแข็งลงตัวมาเรียบร้อยแล้ว
เรื่องฟอร์มอาจไม่แตกต่างมากแต่ แรงน้าว 44# กับ 48# มันแตกต่างกันเยอะนะครับพี่
ธนูปกติ ระยะน้าว 1 นิ้วเพิ่มขึ้น ประมาณ 2 ปอนด์ แต่ Buffalo Riser สั้น 19 นิ้ว แม้เต็มปอนด์ที่ 26 นิ้ว แต่ 1 นิ้ว คือ 5 ปอนด์ที่เพิ่มขึ้น(สเป็คโรงงาน...ต้องใช้ bow scale วัดตรงจุดเกิดเหตุแน่นอนที่สุดครับ)
แต่คัน buffalo ลิ้ม F3. 44#, F4 48#. Anchor แบบนิ้วชี้แตะมุมปาก. Gap เล็งอยู่ในแนวลูกธนูพอดีเลย แต่พอใช้นิ้วกลางแตะมุมปากgapจะย้ายไปอยู่ด้านขวา. และ จุดเล็งอยู่ใต้เป้า
(ไชโย เพิ่งยิงแบบ ใช้นิ้วกลางแตะมุมปากได้แล้ว แค่ซ้อม และ ปรับความรู้สึกยอมรับ ไม่ต่อต้าน กับสิ่งใหม่ๆ)
เมื่อเปลี่ยนลิ้มเป็น 24#. แนวเล็ง gap อยู่แนวเดียวกับขอบเป้าด้านล่างแต่กินขวามากไปหน่อยตามที่พี่โดมบอก แต่เป็นจุดเล็งง่ายกว่าอยู่นอกกระดาษเป้า
อยากลองปรับให้ลูกมาทางซ้าย จะลองทำให้ลูกธนูอ่อนลงอีก.ลดปอนด์ ถ่วงหัว เพื่อให้จุดเล็งอย่างน้อยให้อยู่ตรงมุมกระดาษด้านขวาล่างของเป้าพอดี
ได้ผลอย่างไรจะมารายงานอีกครั้งหนึ่งครับ
ค้นหาที่ละอย่างกว่าจะเจอสนุกดีครับ
stormhead
24-11-11, 08:44 AM
อ่านข้อความในกระทู้ที่ก่อนหน้านี้ของคุณน้ำแล้วยังคงสงสัยมาจนทุกวันนี้ว่า ทำ Bare shaft testing กันยังไง ลูกธนูถึงกระเด็นไปไกลขนาดหลุดเป้า เพิ่งจะมาเข้าใจเอาตอนที่อ่านกระทู้นี้ว่าใช้หัวลูกธนูที่มีน้ำหนักมาก และทำ Bare shaft testing กันคนละวัตถุประสงค์ ขอบคุณครับสำหรับข้อมูลและรายละเอียดของลูกธนูที่จูนแล้ว
ธนูของผมขนาด 45#@28" ใช้ลูกธนู Gold Tip - Entrada 400 ยาว 31" หัวลูกธนูหนัก 100 เกรน, Gold Tip - Entrada 500 ยาว 29.5" หัวลูกธนูหนัก 85 เกรน และ Gold Tip - Traditional 3555 ยาว 30" หัวลูกธนูหนัก 85 เกรนครับ
อาทิตย์นี้มานั่งคุยกันที่สนามซิครับ ขาเทรดน่าจะมากันเยอะ จะได้แลกเปลี่ยนความรู้และทดลองในคราวเดียวกันเลย เพราะยังมีตัวแปรอื่นอีกเยอะแยะในการยิงแบบ traditional
Dome@259
24-11-11, 09:04 AM
อาทิตย์นี้มานั่งคุยกันที่สนามซิครับ ขาเทรดน่าจะมากันเยอะ จะได้แลกเปลี่ยนความรู้และทดลองในคราวเดียวกันเลย เพราะยังมีตัวแปรอื่นอีกเยอะแยะในการยิงแบบ traditional
:cool: ยิงเทรดดี้สนุกตรงที่ตัวแปรไม่รู้จบ :cool:
แต่ละวันที่ผ่านไป ฟอร์มการยิงของคุณอาจเปลี่ยน เราต้องทำความเข้าใจกับตัวเราและธนูของเราตลอดเวลา
และยังมีอีกมากมายที่ยังอธิบายไม่ได้ เช่น การเล็งแบบสัญชาติญาณ เหมือนจุดเล็งอยู่ในใจ เชื่อใจตัวเองอย่างที่สุด
ใครอยากรู้มาดูกันวันอาทิตย์นี้นะครับ :rolleyes:;)
อาทิตย์นี้มานั่งคุยกันที่สนามซิครับ ขาเทรดน่าจะมากันเยอะ จะได้แลกเปลี่ยนความรู้และทดลองในคราวเดียวกันเลย เพราะยังมีตัวแปรอื่นอีกเยอะแยะในการยิงแบบ traditional
ขอบคุณครับที่ชวน ช่วงปลายปีงานเยอะจริง ๆ ขนาดผมอยู่เชียงใหม่ยังหาเวลาไปซ้อมที่สนามเชียงใหม่อาเชอร์รี่ไม่ค่อยจะได้เลยครับ
การไปซ้อมที่สนามก็ดีอย่างหนึ่งคือมีโอกาสได้รับข้อมูลใหม่ๆ และได้ทดลองของจริงด้วยตัวเอง ส่วนการคุยในเว็บก็ดีไปอีกอย่างหนึ่งคือ สำหรับบางเรื่องราวที่อ่านครั้งแรกยังไม่เข้าใจก็สามารถย้อนกลับมาอ่านทวนได้อีกหลายๆ ครั้ง ถ้าเป็นไปได้ผมว่าน่าจะทำควบคู่กันไปทั้งสองทางครับ
เห็นด้วยกับเหตุผลที่คุณน้ำวิเคราะห์มาครับ Plunger ทั้ง 6 ตัวถูกปรับแต่งเอาไว้ให้เหมาะสมกับประเภทของการยิง, ลิ้มและลูกธนูขนาดต่างๆ ทำให้ใช้ลูกธนูร่วมกันได้
และ Side Plate ของ Hoyt Bufffale ก็ออกแบบมาให้เหมาะสมกับการใช้ลูกธนูที่มีขนาดใหญ่สำหรับล่าสัตว์ (ปรับแต่ง Arrow Alighment ได้ง่ายๆ โดยใช้แค่แผ่นหนังบางๆ) ตัวของ Side Plate มีความแข็งมากกว่า Plunger Spring ถึงแม้ว่า Draw Weight น้อยกว่า แต่ก็สร้างแรง Arrow Dynamic Spine มากพอๆกับการใช้ที่มี Draw Weight มากกว่า
ดูรูป Hoyt Buffalo แล้วเกิดกิเลสเพิ่มขึ้นๆ ทุกที สงสัยธนูคันต่อไปคงหนีไม่พ้น Buffalo แน่ๆ :)
ขอบคุณครับที่ชวน ช่วงปลายปีงานเยอะจริง ๆ ขนาดผมอยู่เชียงใหม่ยังหาเวลาไปซ้อมที่สนามเชียงใหม่อาเชอร์รี่ไม่ค่อยจะได้เลยครับ
การไปซ้อมที่สนามก็ดีอย่างหนึ่งคือมีโอกาสได้รับข้อมูลใหม่ๆ และได้ทดลองของจริงด้วยตัวเอง ส่วนการคุยในเว็บก็ดีไปอีกอย่างหนึ่งคือ สำหรับบางเรื่องราวที่อ่านครั้งแรกยังไม่เข้าใจก็สามารถย้อนกลับมาอ่านทวนได้อีกหลายๆ ครั้ง ถ้าเป็นไปได้ผมว่าน่าจะทำควบคู่กันไปทั้งสองทางครับ
เห็นด้วยกับเหตุผลที่คุณน้ำวิเคราะห์มาครับ Plunger ทั้ง 6 ตัวถูกปรับแต่งเอาไว้ให้เหมาะสมกับประเภทของการยิง, ลิ้มและลูกธนูขนาดต่างๆ ทำให้ใช้ลูกธนูร่วมกันได้
และ Side Plate ของ Hoyt Bufffale ก็ออกแบบมาให้เหมาะสมกับการใช้ลูกธนูที่มีขนาดใหญ่สำหรับล่าสัตว์ (ปรับแต่ง Arrow Alighment ได้ง่ายๆ โดยใช้แค่แผ่นหนังบางๆ) ตัวของ Side Plate มีความแข็งมากกว่า Plunger Spring ถึงแม้ว่า Draw Weight น้อยกว่า แต่ก็สร้างแรง Arrow Dynamic Spine มากพอๆกับการใช้ที่มี Draw Weight มากกว่า
ดูรูป Hoyt Buffalo แล้วเกิดกิเลสเพิ่มขึ้นๆ ทุกที สงสัยธนูคันต่อไปคงหนีไม่พ้น Buffalo แน่ๆ :)
ขอบคุณที่ติดตามอ่าน กระทู้ผม ผมจำไม่ได้ว่าเคยบอกว่าผมมี Plunger 6 ตัว สำหรับการยิงแบบต่างๆ แต่ก็มีครับ
http://img190.imageshack.us/img190/139/imageuelf.jpg (http://imageshack.us/photo/my-images/190/imageuelf.jpg/)
อ้างถึงที่ว่า
"และ Side Plate ของ Hoyt Bufffale ก็ออกแบบมาให้เหมาะสมกับการใช้ลูกธนูที่มีขนาดใหญ่สำหรับล่าสัตว์ (ปรับแต่ง Arrow Alighment ได้ง่ายๆ โดยใช้แค่แผ่นหนังบางๆ) ตัวของ Side Plate มีความแข็งมากกว่า Plunger Spring ถึงแม้ว่า Draw Weight น้อยกว่า แต่ก็สร้างแรง Arrow Dynamic Spine มากพอๆกับการใช้ที่มี Draw Weight มากกว่า"
คุณ Prai ใจตรงกันผมเลยครับกำลังจะเปิดประเด็นนี้พอดี แต่จะพูดในเรื่อง ชนิดของวัสดุที่มาทำ Side Plate ในหลักการของ Plunger Spring คือ สามารถปรับให้อ่อน หรือแข็งได้ อย่างละเอียดเพื่อปรับให้เหมาะสมกับ แรงน้าว และ Arrow spine
แต่ side Plate ของเทรดดี้ จะทำได้แค่ไหนกันล่ะ อ่อนหรือแข็ง คำตอบน่าจะอยู่ที่ การเลือกวัสดุมาทำ หรือ การติด Side Plate ชั้นของหนังที่หนา เพื่อให้แข็ง หรือ ใช้หนังแปะกระดาษกาวสองหน้าชนิด โฟม อันนี้ จะอ่อนกว่าหนังล้วน ต้องทดลองกันไป
เรื่องของการ Set แนว center คันธนู สายธนู และ ลูกธนู ทำอย่างไรดี ? (อันนี้ก็ต้องทดลอง ระดมความคิดกันอีก)คันธนู แบบ เทรดดี้ ที่มีการทำหน้าต่างคันให้ลึก เพื่อสามารถ Set ลูกธนูได้ใกล้แนว Center ของคันธนู กับ คันที่ไม่ได้ทำหน้าต่างคันเลย ดันประเภทหลังนี้เมื่อวางลูกธนูแล้ว แนวจะออกจากคันอย่างเห็นได้ชัด อยากถกในประเด็นนี้ว่า มีความคิดเห็นเป็นอย่างไรกันบ้างครับ
http://img18.imageshack.us/img18/280/imagejpb.jpg (http://imageshack.us/photo/my-images/18/imagejpb.jpg/)
ทางแก้จะไปเกี่ยวการจูนลูกให้อ่อนหรือแข็งอีกหรือเปล่าหนอ
http://img707.imageshack.us/img707/8020/648pxarchersparadoxsvg.png (http://imageshack.us/photo/my-images/707/648pxarchersparadoxsvg.png/)
ที่แน่ๆ แฟนคันธนู Hoyt Buffalo กำลัง-ขึ้นมาสูสี คัน Bob Lee อย่างไม่รู้ตัวแล้วหล่ะ....พี่โดม....
..
Dome@259
24-11-11, 01:21 PM
ที่แน่ๆ แฟนคันธนู Hoyt Buffalo กำลัง-ขึ้นมาสูสี คัน Bob Lee อย่างไม่รู้ตัวแล้วหล่ะ....พี่โดม....
:2TU:;):2TU::2TU::2TU:
:D:D มีเยอะแล้วอย่ามาท้า Bob Lee ดวลก็แล้วกัน พ่อคันเหล็ก :D:D
Dome@259
24-11-11, 02:46 PM
:crying::crying: ทฤษฎีใช้ได้เสมอไป...จริงหรือ :crying::crying:
:confused: วันนี้ลองเพิ่มน้ำหนักหัวลูกจาก 200 เกรน ไปเป็น 250 เกรน .............มันขัดแย้งกับทฤษฎี :eek::eek:
เดิมใช้คัน 44# ลูก Gold Tip 5575 ยาว 31" หัวลูกหนัก 200 เกรน
Gap อยู่ที่ใต้กระดาษเป้าลงมาประมาณ 3"และเยื้องทางซ้ายมือประมาณ 1 คืบ
แปลว่าถ้าเล็งตรงแนวใต้เป้าลูกจะกินขวา
ลองเพิ่มน้ำหนักหัวลูกเป็น 250 เกรน แล้วยิงใหม่ ทุกอย่างเหมือนเดิม แค่หัวลูกหนักขึ้นเท่านั้น
Gap อยู่ใต้กระดาษพอดี ( Gap ขยับขึ้นมาจากเดิม 3" ) และอยู่กึ่งกลางกระดาษเป้า ไม่เยื้องซ้ายหรือขวา
แปลว่าลูกกินขวาน้อยกว่าหัว 200 เกรน
:confused: ขัดแย้งกับทฤษฎีหรือไม่ ที่ว่าถ้าลูกอ่อนจะกินขวา หรือหัวหนักขึ้นลูกก็จะออ่นมากขึ้น :eek:
แต่จากการทดลองหัวหนักขึ้นลูกกินขวาน้อยลง
หรือว่ามันจะเกิดจากที่ระยะ 18 เมตร ลูกธนูยังตั้งตัวได้ไม่สมบูรณ์ ?
:crying::crying: ทฤษฎีใช้ได้เสมอไป...จริงหรือ :crying::crying:
:confused: วันนี้ลองเพิ่มน้ำหนักหัวลูกจาก 200 เกรน ไปเป็น 250 เกรน .............มันขัดแย้งกับทฤษฎี :eek::eek:
เดิมใช้คัน 44# ลูก Gold Tip 5575 ยาว 31" หัวลูกหนัก 200 เกรน
Gap อยู่ที่ใต้กระดาษเป้าลงมาประมาณ 3"และเยื้องทางซ้ายมือประมาณ 1 คืบ
แปลว่าถ้าเล็งตรงแนวใต้เป้าลูกจะกินขวา
ลองเพิ่มน้ำหนักหัวลูกเป็น 250 เกรน แล้วยิงใหม่ ทุกอย่างเหมือนเดิม แค่หัวลูกหนักขึ้นเท่านั้น
Gap อยู่ใต้กระดาษพอดี ( Gap ขยับขึ้นมาจากเดิม 3" ) และอยู่กึ่งกลางกระดาษเป้า ไม่เยื้องซ้ายหรือขวา
แปลว่าลูกกินขวาน้อยกว่าหัว 200 เกรน
:confused: ขัดแย้งกับทฤษฎีหรือไม่ ที่ว่าถ้าลูกอ่อนจะกินขวา หรือหัวหนักขึ้นลูกก็จะออ่นมากขึ้น :eek:
แต่จากการทดลองหัวหนักขึ้นลูกกินขวาน้อยลง
หรือว่ามันจะเกิดจากที่ระยะ 18 เมตร ลูกธนูยังตั้งตัวได้ไม่สมบูรณ์ ?
Go To Big ไป กัน ใหญ่ เดี๋ยวจะไม่สนุก พาล พี่โดม เปลี่ยนจาก Bob Lee เป็น Hoyt ตาม สโลแกน Serious Archer..Get serious get Hoyt....
น่าจะยินดีด้วยที่ 250 เกรน ได้ แกบแบบนี้ อยู่ขอบกระดาษ และกึ่งกลางเป้า เพราะ น่าจะใช้เล็งได้ง่ายกว่า ที่เหลือลูกวิ่งสวย และเวลาปล่อยไม่ดีกระเด็นไกลหรือเปล่า
จริง ๆ แล้ว กลุ่มลูกธนูที่ยิง ต้องเปรียบเทียบกัน ระหว่าง กลุ่ม มีปีก กับ ไม่มีปีก จะเห็นชัด..แต่เราทำแบบไม่ละเอียดมากโดยอนุโลมพิจารณา ยิงลูกที่ติดปีกเลยละกัน
ในกรณีนี้ขอไปนั่งคุย วันอาทิตย์โดยละเอียด ก่อนที่จะสรุปว่าปัญหานี้เกิดจากอุปกรณ์ในส่วนไหน
เมื่อสรุปได้ว่าเรียกเป็น ทฤษฎี แล้ว หมายความว่า ได้รับการทดลอง พิสูตรมาแล้ว จะทำกี่ครั้ง ๆ ก็ได้ผลเหมือนเดิม
ส่วนในกรณี ของผม Anchor แบบ นิ้วชี้แตะมุมปาก แกบอยู่ต่ำในแนวใต้เป้าพอดี แต่พอเปลี่ยนฟอร์ม เป็น นิ้วกลางแตะ แกบสูงขึ้นมาอยู่บนกระดาษ แต่ กินขวามาก อยากลอง ลดน้ำหนักหัวลูกดูหน่อยจัง
..
Thammaluk
24-11-11, 05:29 PM
อ่านๆ ไปแล้วเริ่ม :confused: และ :crying: ถึงได้ใช้แบบเดิมๆ ดีกว่า :D
http://img502.imageshack.us/img502/2421/imagexpd.jpg (http://imageshack.us/photo/my-images/502/imagexpd.jpg/)
Rest เทรดดี้ของผมกับรอย...
ถ่ายมาดูกันหน่อยเทรดดี้ครับ
ขอบคุณที่ติดตามอ่าน กระทู้ผม ผมจำไม่ได้ว่าเคยบอกว่าผมมี Plunger 6 ตัว สำหรับการยิงแบบต่างๆ แต่ก็มีครับ
http://img190.imageshack.us/img190/139/imageuelf.jpg (http://imageshack.us/photo/my-images/190/imageuelf.jpg/)
เรื่อง Plunger 6 อัน ผมสังเกตเห็นมาจากคลิ๊ปที่ตาเกิ้นถ่ายแล้วเอามาลงในเว็บครับ ดูแล้วยังนึกชมอยู่ในใจว่าช่างเลือกหาคันธนูและอุปกรณ์ประกอบการยิงมาเข้าชุดกันได้ดี และครอบคลุมการยิงทุกลักษณะการแข่งขันที่ใช้คันธนูประเภท Recurve
อ้างถึงที่ว่า
"และ Side Plate ของ Hoyt Bufffale ก็ออกแบบมาให้เหมาะสมกับการใช้ลูกธนูที่มีขนาดใหญ่สำหรับล่าสัตว์ (ปรับแต่ง Arrow Alighment ได้ง่ายๆ โดยใช้แค่แผ่นหนังบางๆ) ตัวของ Side Plate มีความแข็งมากกว่า Plunger Spring ถึงแม้ว่า Draw Weight น้อยกว่า แต่ก็สร้างแรง Arrow Dynamic Spine มากพอๆกับการใช้ที่มี Draw Weight มากกว่า"
คุณ Prai ใจตรงกันผมเลยครับกำลังจะเปิดประเด็นนี้พอดี แต่จะพูดในเรื่อง ชนิดของวัสดุที่มาทำ Side Plate ในหลักการของ Plunger Spring คือ สามารถปรับให้อ่อน หรือแข็งได้ อย่างละเอียดเพื่อปรับให้เหมาะสมกับ แรงน้าว และ Arrow spine
แต่ side Plate ของเทรดดี้ จะทำได้แค่ไหนกันล่ะ อ่อนหรือแข็ง คำตอบน่าจะอยู่ที่ การเลือกวัสดุมาทำ หรือ การติด Side Plate ชั้นของหนังที่หนา เพื่อให้แข็ง หรือ ใช้หนังแปะกระดาษกาวสองหน้าชนิด โฟม อันนี้ จะอ่อนกว่าหนังล้วน ต้องทดลองกันไป
ประเด็นเรื่องชนิดของวัสดุที่มาทำ Side Plate ส่วนหนึ่งผมคิดว่ามันอยู่ที่ค่านิยมของเจ้าของคันธนูด้วย ว่าเจ้าของคันธนูให้ค่าความสำคัญกับการเป็น Tradition ประมาณไหน ถ้าให้ค่าความสำคัญกับการเป็น Tradition น้อยลงหน่อย โอกาสที่จะเลือกใช้วัสดุต่างชนิดกันมาทำ Side Plate ก็จะมีมากขึ้น แต่ถึงจะเลือกใช้วัสดุอะไรมาทำ ก็เป็นแค่การปรับแต่งค่า Spine Rate ของลูกธนูแบบหยาบๆ เท่านั้น ไม่สามารถใช้เพื่อการปรับแต่งอย่างละเอียด (Fine Tune) เหมือนกับการใช้ Plunger
ยกตัวอย่างเช่น มีอุปกรณ์อย่างหนึ่งที่ผมเคยสั่งมาเล่นแล้วได้ผลดี คือ Springy Rest ของบริษัท Martin อุปกรณ์ชิ้นนี้ใช้จูนลูกธนูได้ละเอียดเกือบเท่า Plunger แต่ก็อย่างที่บอกในตอนต้นนั่นแหละครับว่า มันดูไม่ค่อยจะ Traddy ในสายตาของคนที่เค้าแคร์ในเรื่องนี้สักเท่าไหร่
เรื่องของการ Set แนว center คันธนู สายธนู และ ลูกธนู ทำอย่างไรดี ? (อันนี้ก็ต้องทดลอง ระดมความคิดกันอีก)คันธนู แบบ เทรดดี้ ที่มีการทำหน้าต่างคันให้ลึก เพื่อสามารถ Set ลูกธนูได้ใกล้แนว Center ของคันธนู กับ คันที่ไม่ได้ทำหน้าต่างคันเลย ดันประเภทหลังนี้เมื่อวางลูกธนูแล้ว แนวจะออกจากคันอย่างเห็นได้ชัด อยากถกในประเด็นนี้ว่า มีความคิดเห็นเป็นอย่างไรกันบ้างครับ
http://img18.imageshack.us/img18/280/imagejpb.jpg (http://imageshack.us/photo/my-images/18/imagejpb.jpg/)
ทางแก้จะไปเกี่ยวการจูนลูกให้อ่อนหรือแข็งอีกหรือเปล่าหนอ
http://img707.imageshack.us/img707/8020/648pxarchersparadoxsvg.png (http://imageshack.us/photo/my-images/707/648pxarchersparadoxsvg.png/)
ที่แน่ๆ แฟนคันธนู Hoyt Buffalo กำลัง-ขึ้นมาสูสี คัน Bob Lee อย่างไม่รู้ตัวแล้วหล่ะ....พี่โดม....
..
ประเด็นความเห็นในเรื่องคันธนูที่ไม่มีช่องหน้าต่าง ผมมองว่าเป็นคันธนูที่มีข้อจำกัดในการเลือกใช้ลูกธนู คือต้องที่มีความอ่อนตัวมากๆ เพื่อชดเชยระยะที่ก้านของลูกธนูเบนออกห่างจากแนว Center ไปมาก
อยากให้ลองย้อนกลับไปดูคลิปในกระทู้เรื่อง Arrow Paradox ของคุณน้ำนะครับ ในคลิปจะเห็นอาการสบัดไปทางซ้ายและขวาของลูกธนูพร้อมๆ กับการเคลื่อนที่ไปข้างหน้า
สบัดไปทางซ้าย - กลับคืนมาในแนว Center - สบัดไปทางขวา - กลับคืนมาในแนว Center - สบัดไปทางซ้าย ... นี่คือ 1 รอบของอาการ Arrow Paradox ใช่ไม๊ครับ
แล้วเราจะแน่ใจได้อย่างไรว่าที่ระยะที่เราต้องการยิง สมมุติว่า 18 เมตร ปลายของลูกธนูจะสบัดกลับคืนมาอยู่ในแนว Center และพุ่งเข้ากระทบจุด X ในระยะนั้นพอดี
การใช้ลูกธนูที่มีความอ่อนตัวมากๆ เท่ากับไปเพิ่มช่วงกว้างของการสบัดตัวของลูกธนูให้กว้างขึ้น ถ้าปลายของลูกธนูกระทบเป้าในช่วงจังหวะที่ลูกธนูสบัดตัวไปทางซ้าย ก็จะเท่ากับยิงหลุดไปทางซ้ายมากกว่าปกติ ใช่ไม๊ครับ
ไม่รู้ว่าผมคิดมากไปรึป่าว แต่ผมชอบคันธนูที่มีช่องหน้าต่างแบบ Cut past center เนื่องจากเลือกใช้ลูกธนูได้หลากหลายกว่า กับลูกธนูที่ค่อนข้าง Stiff เพราะมีช่วงในการสบัดตัวที่น้อยกว่า โอกาสที่ลูกธนูจะสบัดหลุดไปจากจุดที่ตั้งใจยิงน้อยกว่าครับ
Dome@259
24-11-11, 09:33 PM
อ่านๆ ไปแล้วเริ่ม :confused: และ :crying: ถึงได้ใช้แบบเดิมๆ ดีกว่า :D
:rolleyes::rolleyes: เห็นด้วยเต็มที่ครับท่านรอง ถ้าฟอร์มไม่นิ่งทำอะไรไม่ได้ครับ :rolleyes::rolleyes:
แล้ววันอาทิตย์นี้มาช่วยราชการที่บางกอกหรือเปล่า?
อยากให้ลองย้อนกลับไปดูคลิปในกระทู้เรื่อง Arrow Paradox ของคุณน้ำนะครับ ในคลิปจะเห็นอาการสบัดไปทางซ้ายและขวาของลูกธนูพร้อมๆ กับการเคลื่อนที่ไปข้างหน้า
สบัดไปทางซ้าย - กลับคืนมาในแนว Center - สบัดไปทางขวา - กลับคืนมาในแนว Center - สบัดไปทางซ้าย ... นี่คือ 1 รอบของอาการ Arrow Paradox ใช่ไม๊ครับ
แล้วเราจะแน่ใจได้อย่างไรว่าที่ระยะที่เราต้องการยิง สมมุติว่า 18 เมตร ปลายของลูกธนูจะสบัดกลับคืนมาอยู่ในแนว Center และพุ่งเข้ากระทบจุด X ในระยะนั้นพอดี
การใช้ลูกธนูที่มีความอ่อนตัวมากๆ เท่ากับไปเพิ่มช่วงกว้างของการสบัดตัวของลูกธนูให้กว้างขึ้น ถ้าปลายของลูกธนูกระทบเป้าในช่วงจังหวะที่ลูกธนูสบัดตัวไปทางซ้าย ก็จะเท่ากับยิงหลุดไปทางซ้ายมากกว่าปกติ ใช่ไม๊ครับ
http://img210.imageshack.us/img210/2912/imagezov.jpg (http://imageshack.us/photo/my-images/210/imagezov.jpg/)
ไปหาข้อมูลเพิ่มเติมจาก หนังสือ archery reference. หน้า21 ขอแปลสรุปให้นะครับ
Arrow paradox.... ลูกธนูที่สบัดไปทางซ้ายและมาทางขวานับเป็น1รอบ ลูกจะสบัดไปมาจนถึงเป้า ในขณะที่ลูกธนูสบัดไปมานั้นจะมีสองจุดคงที่อยู่ในแนวเดินทางไปยังเป้าเรียกว่า node point. ครับ (ในข้อความกล่าวถึงข้อดีอย่างหนึ่งคือการช่วยเหลือให้ลูกวิ่งดีขึ้นจากกรณีปล่อยสายไม่ดี)
ความคิดเห็นส่วนตัวในเรื่องนี้คือ เมื่อดูภาพช้าจะเห็นว่าลูกธนูโก่งมากขณะปล่อยสาย. ผมคิดว่าจะสบัดโก่งน้อยลงเมื่อระยะทางห่างออกไป. และน้อยที่สุดเมื่อกระทบเป้า เนื่องจากแรงที่น้อยลงและความแข็งของลูกธนูทำให้คืนตัวได้เร็วขึ้น
อ้างเพิ่มเติมในเล่มเดียวกันหน้า20 เป็นเรื่องที่น่าคิดและเกี่ยวข้อง. เกี่ยวกับการสบัดของลูกธนู Easton. ACE และ X10ที่มีข้อดีคือ
It has a higher frequency of oscillation making it more efficient
ลักษณะทางกายภาพของลูกACE. X10 คือหัวและท้ายเล็กแต่ตรงกลางป่องเมื่อยิงออกไปแล้วลูกจะสบัดไปมาอย่างเร็วซึ่งทำให้การยิงมีประสิทธิผลมากขึ้น
วิธีการหาnode point คือใช้นิ้วโป้งและนิ้วชี้คีบลูกธนู ส่วนบน ให้หางชี้ลงพื้น และใช้นิ้วส่วนเล็บอีกมือหนึ่งดีดลูกธนูส่วนล่าง ให้นิ้วที่คีบรูสึกถึงแรงสั่นสะเทือน จากนั้นให้เลื่อนจุดคีบต่ำลงมาอีกแล้วดีดอีกครั้ง เลื่อนจนกระทั่งไม่มีการสั่น. จุดนั้นก็คือ front node ครับ
...
Thammaluk
25-11-11, 09:45 AM
:rolleyes::rolleyes: เห็นด้วยเต็มที่ครับท่านรอง ถ้าฟอร์มไม่นิ่งทำอะไรไม่ได้ครับ :rolleyes::rolleyes:
แล้ววันอาทิตย์นี้มาช่วยราชการที่บางกอกหรือเปล่า?
ไปแน่นอนครับพี่โดม :D
นั่นน่ะซิครับ ยิ่งมือใหม่ ถ้าไม่นิ่งแล้วจูนโน่นจูนนี่ได้เละเทะแน่ครับ
การจูนสำหรับมือใหม่ขอแค่พื้นฐานก่อน ไปเน้นที่ฟอร์มให้ถูกต้อง แล้วค่อยมาจูนคันให้ลงตัวอีกครั้งน่าจะดีกว่า
เหมือนเวลาผมยิงคอมปาวน์ ยิงเป็นกระด้ง กลุ่มแตกทั่วกระดาษ ก็ไม่รู้จะปรับศูนย์ไปทางไหน :o
ไปแน่นอนครับพี่โดม :D
นั่นน่ะซิครับ ยิ่งมือใหม่ ถ้าไม่นิ่งแล้วจูนโน่นจูนนี่ได้เละเทะแน่ครับ
การจูนสำหรับมือใหม่ขอแค่พื้นฐานก่อน ไปเน้นที่ฟอร์มให้ถูกต้อง แล้วค่อยมาจูนคันให้ลงตัวอีกครั้งน่าจะดีกว่า
เหมือนเวลาผมยิงคอมปาวน์ ยิงเป็นกระด้ง กลุ่มแตกทั่วกระดาษ ก็ไม่รู้จะปรับศูนย์ไปทางไหน :o
อยากฟัง แชมป์หลาย สมัย มาเปิดเผยความลับ ในการยิงบ้าง...ไม่ค่อยมาคอมเมนท์ เลย.....:(
Thammaluk
25-11-11, 10:58 AM
แหะๆ ก็ทฤษฎีผมไม่ค่อยประสาเท่าใดอ่ะครับ :p
ผมลองใช้ลูกธนูหลายแบบครับ เพื่อมาลงแข่งขันระยะ 18 เมตร
fatboy400 หัว 150 gr.
goldtip series22 หัว 200 gr.
แต่ก็มาตายรังที่ goldtip ultralight400 หัว 100 gr
เพราะยิ่งหัวลูกหนักยิ่งทำให้ลูกธนูหลุดออกจากคันช้าลง มือซ้ายที่ถือคันไม่นิ่ง
เพราะคันเทรดดี้ไม่มีอุปกรณ์ช่วยให้นิ่ง จึงทำให้คันไปมีผลต่อลูกธนู เลยต้องใช้ ultralight
ผมใช้ ultralight เพียงอย่างเดียวทุกระยะ แต่มีคันที่เอาไว้ยิงเทรดดี้กว่าสองโหล เพื่อให้เหมาะกับระยะต่างๆ
ซึ่งใครจะนำไปใช้ก็ไม่ว่ากัน แต่ต้องมีความบ้าถึงระดับ :D ผมจึงใช้วิธีเปลี่ยนคันให้เหมาะมากกว่าเปลี่ยนลูกธนู
อีกประการคือผมจะใช้ tab ที่ตัดเองไม่ใช้ถุงมือ เพราะจะได้เข้ากับนิ้วมือ และมีความรู้สึกว่าเหมือนเรายิงด้วยนิ้วเปล่า
เนื่องจากเวลาน้าวสายมาเข้าanchor ผมต้องจับความรู้สึกให้ได้ว่ามีปลายนิ้วชี้และนิ้วกลางมาเขี่ยอยู่ที่ริมฝีปาก
ทำให้เพลินไปอีกแบบ:D
แต่อีกประการที่สำคัญคือตัวเราครับ ต้องระงับความอยากปล่อยลูกจากการตื่นเต้นให้ได้
เพราะผมเคยเป็น target panic ทำให้น้าวสายยังไม่ถึงหน้า ยังไม่เข้าจุดเล็ง ก็ปล่อยลูกเลย
กว่าจะหายเป็นปี เพราะคันเทรดดี้ไม่มีอะไรมาช่วยระงับการปล่อยลูกได้
อย่าง recurve ยังมี clicker ส่วน compound ก็มี back tension release
ยอดเยี่ยมมากเลยครับ ท่านรอง:2TU:
การติดแผ่นหนังรองลูกโดยตัดหรือติดให้ทำมุมเอียงหรือเว้นช่องระหว่างแผ่นหนังแนวนอนและแนวตั้งเพื่อช่วยบังคับให้ลูกล๊อคกับคันธนู ตามกฎที่เคยเขียนกันไว้ถือว่าผิด แต่เดี้ยวก่อน เพราะกฎนี้เขียนไว้แต่ไม่เคยนำมาใช้ด้วยเหตุผลว่าคนยิงเทรดดี้มีน้อยอยู่แล้วคนใหม่ๆก็อาจจะไม่กล้าเข้ามายิงเพราะทำให้ยิงยากขึ้นจึงให้ถือว่ากฎนี้เป็นโมฆะไปอย่างนี้นี่เอง
การติดแผ่นหนังรองลูกโดยตัดหรือติดให้ทำมุมเอียงหรือเว้นช่องระหว่างแผ่นหนังแนวนอนและแนวตั้งเพื่อช่วยบังคับให้ลูกล๊อคกับคันธนู ตามกฎที่เคยเขียนกันไว้ถือว่าผิด แต่เดี้ยวก่อน เพราะกฎนี้เขียนไว้แต่ไม่เคยนำมาใช้ด้วยเหตุผลว่าคนยิงเทรดดี้มีน้อยอยู่แล้วคนใหม่ๆก็อาจจะไม่กล้าเข้ามายิงเพราะทำให้ยิงยากขึ้นจึงให้ถือว่ากฎนี้เป็นโมฆะไปอย่างนี้นี่เอง
กฎมีอย่างไรบ้างรวบรวม เผยแพร่หน่อยครับ เอาแบบ thailand Thailand ชัดเจน สนุกสนุก ชาตินิยม
มาไม่ทัน เคยได้ยินว่าคุยออกความเห็นสรุปกันไปบ้างแล้ว สานต่อเถอะครับ
Dome@259
27-11-11, 10:52 PM
กฎกติกา Thailand Outdoor Traditional Shooting
‐ ไม่มีการจำกัดชนิดหรือวัสดุของคันธนู ว่าจะเป็น Recurve One Piece หรือ Takedown, Longbow, Turkish Bow,
Kyudo, Mongolian, Horn Bows, คันไม้หรือคันอลูมีเนียม,หรือธนูเหลาเอง, ฯลฯ
‐ คันธนูเป็นแบบปกติเหมือนที่ใช้ยิงทั่วไป (ห้ามเป็นแบบ Shoot‐through) กำหนดให้มีสายยิงหนึ่งเส้น ขึงระหว่างปลายลิ้มทั้งสองข้าง
‐ ไม่อนุญาตให้ใช้ศูนย์เล็ง หรือ มีตำหนิช่วยเล็งบนคันธนู
‐ ไม่อนุญาตให้ติดอุปกรณ์ช่วย Mark ตำแหน่ง จมูก หรือ ปาก (Kisser) บนสายยิง
‐ ไม่อนุญาตให้ใช้ Plunger, หรือ Over Draw
‐ ติด Nock Locator (ตัวแหวนทองเหลืองหนีบ) บนสายได้ไม่เกิน 2 จุด (ใช้เพียงเพื่อเป็นระยะ Nocking point ของลูกธนู) ไม่อนุญาตให้ใช้ช่วยเล็ง
‐ ไม่อนุญาตให้พันสาย ผูกสาย หรือทำตำหนิใดๆ บนสาย หรือ Serving เพื่อเป็นตำแหน่งใช้ช่วยเล็ง
‐ ไม่อนุญาตให้ใช้ Draw check (Clicker)
‐ อนุญาตให้ใช้ Tab, ถุงมือ, หรือ นิ้วที่พัน Tape Plaster ดึงยิงธนูได้
‐ ในกรณีของคันธนูประเภท Primitive หรือ Historical เช่น Kyudo, หรือ Horn Bow, ฯลฯ อนุญาตให้ใช้อุปกรณ์ช่วยยิง
เช่น ถุงมือ Yugake ในการยิงธนูประเภท Kyudo (ทั้งแบบ 1 นิ้ว, 3 นิ้ว,หรือ 4 นิ้ว), หรือจะเป็น Thumb Ring
ในการยิงธนูประเภท Horn Bow, ฯลฯ โดยยึดแนวปฎิบัติในรูปแบบการยิงของธนูประเภทนั้นๆ เท่านั้น ไม่อนุญาตให้นำมายิงผิดประเภทธนู
‐ ไม่อนุญาตให้ใช้ Tab ที่มี Anchor Plate, หรือ Ledge (ลักษณะเป็น แป้นรองคาง ยื่นอยู่ด้านบนของ Tab)
‐ เวลาน้าวสายยิง Nock ของลูกธนู ต้องห่างจากนิ้วยิง นิ้วใดนิ้วหนึ่งระยะไม่เกิน 1 ซม., แนว Nock ของลูกธนูต้องสูงไม่เกินระดับปลายจมูก
‐ อนุญาตให้ติด Rest (เป็นแผ่นหนังหรือสักหลาด ลักษณะที่กดแล้วยุบตัวได้) ไม่จำกัดความหนา แต่จำกัดความสูงแผ่นแนวตั้ง
โดยเริ่มวัดในแนวตั้ง (จากด้านบนของแผ่นแนวนอน) สูงได้ไม่เกิน 2 ซม. หรือจะไม่ติด Rest ก็ได้
‐ ไม่อนุญาตให้ใช้ Stabilizer, Extension, Shock‐absorber, หรือติดตั้งอุปกรณ์ถ่วงน้ำหนักใดใดทั้งสิ้น
‐ อนุญาตให้ติด String Silencer ได้ แต่ตำแหน่งบนสาย ต้องอยู่ห่างจาก Nocking Point ไม่น้อยกว่า 30 ซม.
:o:o ผมเองมาไม่ทัน แต่มีหน้าที่ยิงตามกติกาที่พี่ๆเขียนไว้ครับ :o:o
...........ขออภัย..........
http://img685.imageshack.us/img685/7266/newpictureyi.png (http://imageshack.us/photo/my-images/685/newpictureyi.png/)
Uploaded with ImageShack.us (http://imageshack.us)
Dome@259
06-12-11, 06:28 AM
http://img685.imageshack.us/img685/7266/newpictureyi.png (http://imageshack.us/photo/my-images/685/newpictureyi.png/)
Uploaded with ImageShack.us (http://imageshack.us)
:2TU::2TU::2TU::2TU:
;) ภาพนี้เลยครับ โดนสายตีแขนหรือไม่ จับคันถูกวิิธีโยนอาร์มการ์ดทิ้งไปได้เลย ;)
ผมใช้เวลาเกือบปีกว่าจะทำได้ ไม่ต้องใช้อาร์มการ์ดแล้วครับ
Thammaluk
06-12-11, 10:48 AM
:2TU::2TU::2TU::2TU:
;) ภาพนี้เลยครับ โดนสายตีแขนหรือไม่ จับคันถูกวิิธีโยนอาร์มการ์ดทิ้งไปได้เลย ;)
ผมใช้เวลาเกือบปีกว่าจะทำได้ ไม่ต้องใช้อาร์มการ์ดแล้วครับ
ผมก็พยายามอยู่แต่ทุกวันนี้มีอาร์มการ์ดอยู่ 4 อัน :(
แต่สงสัยครับว่าขนาดรีเคิร์ฟจับแบบ High มากๆ แต่ก็ยังตีแขนอยู่ดี หรือเพราะเหยียดแขนตึงกระมัง
:2TU::2TU::2TU::2TU:
;) ภาพนี้เลยครับ โดนสายตีแขนหรือไม่ จับคันถูกวิิธีโยนอาร์มการ์ดทิ้งไปได้เลย ;)
ผมใช้เวลาเกือบปีกว่าจะทำได้ ไม่ต้องใช้อาร์มการ์ดแล้วครับ
ผมก็พยายามอยู่แต่ทุกวันนี้มีอาร์มการ์ดอยู่ 4 อัน :(
แต่สงสัยครับว่าขนาดรีเคิร์ฟจับแบบ High มากๆ แต่ก็ยังตีแขนอยู่ดี หรือเพราะเหยียดแขนตึงกระมัง
ภาพการบิดแขนอย่างที่ภาพแสดง จุดประสงค์หลักคือ การจัดแนวแขน โดยเฉพาะ หัวกระดูก Humerus ให้อยู่ ในเบ้ากระดูกสบัก
Ball in socket ทำให้แขนมีความมั่นคง มากขึ้น ส่วนสายไม่ตีแขนเป็น จุดประสงค์รองครับ
บางครั้งอธิบายยากในเรื่องนี้ ก็กลับกันซะ ในกุศโลบายวิธีการสอนเรื่องนี้ให้ง่ายขึ้น คือ บอกให้บิดแขนกันสายธนูตี แต่ผลพลอยได้คือการจัดแนวกระดูกให้ถูกต้องนั่นเอง...
ผมก็พยายามอยู่แต่ทุกวันนี้มีอาร์มการ์ดอยู่ 4 อัน :(
แต่สงสัยครับว่าขนาดรีเคิร์ฟจับแบบ High มากๆ แต่ก็ยังตีแขนอยู่ดี หรือเพราะเหยียดแขนตึงกระมัง
การบิดศอกเพื่อให้สายธนูไม่ตีแขน มันจะสุดพอดี ไม่สามารถหมุนไปได้อีก เรียกว่า สุดพิกัดของการเคลื่อนไหว (the end of Rang of motion) ซึ่งเป็นภาพแรกทางซ้ายมือ ซึ่งสายธนูไม่น่าจะตีแน่นอน
http://img707.imageshack.us/img707/3989/shldrpinch.jpg (http://imageshack.us/photo/my-images/707/shldrpinch.jpg/)
ภาพแรก ทางซ้ายมือ คือการหมุนเข้าด้านใน Internal Rotation ส่วนภาพขวามือคือ การหมุนออกด้านนอก External Rotation
คุณตาทนาย สงสัย จะหมุนแขน บิดศอกให้ตึงผิดทาง เพราะถ้าตึงจนแอ่น น่าจะเป็นการหมุนออกด้านนอก รอยพับบริเวณศอกหงายขึ้นบน ปุ่มข้อศอกชี้ลงล่าง สายเลยตีด้านข้าง
Thammaluk
06-12-11, 12:14 PM
คุณตาทนาย สงสัย จะหมุนแขน บิดศอกให้ตึงผิดทาง เพราะถ้าตึงจนแอ่น น่าจะเป็นการหมุนออกด้านนอก รอยพับบริเวณศอกหงายขึ้นบน ปุ่มข้อศอกชี้ลงล่าง สายเลยตีด้านข้าง
น่านอ่ะซิครับ แต่ก็เห็นมือรีเคิร์ฟใส่อาร์มการ์ดกันทุกคน หรือเค้าบิดเหมือนผมกันหมด ;)
ถ้าทำได้อย่างที่พี่น้ำบอก อาร์มการ์ดได้เลิกขายเลยกระมัง :D
น่านอ่ะซิครับ แต่ก็เห็นมือรีเคิร์ฟใส่อาร์มการ์ดกันทุกคน หรือเค้าบิดเหมือนผมกันหมด ;)
ถ้าทำได้อย่างที่พี่น้ำบอก อาร์มการ์ดได้เลิกขายเลยกระมัง :D
เฮ้ย..ขอโทษครับ..ขอแก้ข้อมูลไม่ใช่บอกว่าสายไม่ตี มันตีแต่ จุดที่มันตีตรงไหน บริเวณปุ่มแนวใกล้ศอก หรือ ท้องแขน
ภาพการบิดแขนอย่างที่ภาพแสดง จุดประสงค์หลักคือ การจัดแนวแขน โดยเฉพาะ หัวกระดูก Humerus ให้อยู่ ในเบ้ากระดูกสบัก
Ball in socket ทำให้แขนมีความมั่นคง มากขึ้น ส่วนสายไม่ตีแขนเป็น จุดประสงค์รองครับ
บางครั้งอธิบายยากในเรื่องนี้ ก็กลับกันซะ ในกุศโลบายวิธีการสอนเรื่องนี้ให้ง่ายขึ้น คือ บอกให้บิดแขนกันสายธนูตี แต่ผลพลอยได้คือการจัดแนวกระดูกให้ถูกต้องนั่นเอง...
เห็นด้วยกับประโยชน์และวัตถุประสงค์หลักของการจัดแนวแขนให้ถูกต้อง แต่ไม่เห็นด้วยกับกุศโลบายในเรื่องการบอกให้บิดแขนกันสายธนูตี เนื่องจากสาเหตุที่สายธนูตีแขนเป็นปรากฏการณ์ตามธรรมชาติของธนู ไม่ได้เกิดจากการจัดแนวแขนผิดแต่เพียงอย่างเดียวครับ
ลองดูภาพสโลโมชั่นในคลิ๊ปนี้จะเห็นอาการแกว่งของสายธนูมาทางด้านข้าง (ท้องแขน)
http://www.youtube.com/watch?v=WzWrcpzuAp8
ในธนู Recurve ก็เช่นเดียวกัน
http://www.youtube.com/watch?v=TmtoEjjkgEA
ในธนู Compound ที่ใช้รีลิสต์ปล่อยสาย สายธนูก็มีอาการแหว่งตัวดังกล่าว
http://www.youtube.com/watch?v=Mn34MQ-Akrs
Hellsing
06-12-11, 02:48 PM
แว๊บมาเสริมให้ตามคำเชิญของพี่น้ำครับ
ในตำรายุคใหม่ เทคนิคการบิดแขนนี้จะขึ้นอยู่กับข้อจำกัดทางด้านสรีระของผู้ยิงครับ หากไม่มีปัญหาเรื่อง"แขนแอ่น"จนclearanceของสายไม่ดี(สายตีแขนนั่นแหละ) ก็ไม่มีความจำเป็นต้องฝืนทำให้ชีวิตลำบาก
การบิดแขนให้กระดูกส่วนUlnaกับRadiusแยกออกจากกันนั้นกล้ามเนื้อส่วนTricepsและBrachioradialisต้องทำงานหนักมากไปจนเกิดอาการหดเกร็ง ผลที่ตามมาคือจะทำให้แขนสั่นมากกว่าเดิม
ซำ้ร้ายก็คือ การใช้งาน+พัฒนากล้ามเนื้อในส่วนBrachioradialisมากเกินไปนั้นจะส่งผลเสียต่อเส้นประสาทหลักของแขนและระบบของWristและForearm flexorsที่ลากยาวจากคอไปจนถึงมืออีกครับ
http://t3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTV6YThR_9iO2G8o9Y5KvOSsrc-Arc7luliklDPbDt2xOPx7VHaxZci9YFI
http://jaffesportsmedicine.com/media/img/424/hand_guyon_canal_anat01.jpg
เราจะเห็นได้ว่านักยิงธนูที่ประสบความสำเร็จในยุคนี้ มีแนวโน้มที่จะไม่บิดแขนมากขึ้น
หากเราติดตามวงการตลอดจะเห็นได้ว่าขนาดทางฝั่งเกาหลีใต้เองก็ยังลดลงเลยล่ะครับ
http://latestchina.com/gallery/20090809/152_china-shanghai-archery-world_cup-recurve_mens_individual_1.jpg
http://www1.pictures.gi.zimbio.com/Olympics+Day+6+Archery+c56oQmv5dC6l.jpg
http://www.win-archery.com/files/attach/images/4017/187/004/big02.jpg
ส่วนเรื่องของหลักการและเหตุผลที่ช่วยเสริมทฤษฎีนี้ ตลอดจนถึงฟอร์ม,แนวคิดใหม่ที่เข้ามาแทนที่นั้น ว่างๆจะเข้ามาต่อให้ครับ(ช่วงนี้งานประจำค่อนข้างวุ่นอ่ะ)
หากใจร้อนรนไม่ไหวก็เชิญมานั่งคุยกันได้ที่AT.ครับ
ผมLoveKey Recurve ครับ ไม่ใส่อาร์มการ์ดไม่ได้ครับ เจ็บครับ
สายธนูตีบริเวณระหว่างข้อศอกกับข้อมือ เนื่องจากสายแกว่งตัวด้านข้างขอรับ :)
ตามที่เพื่อนสมาชิกนำมาให้ชมขอรับ
ส่วนเคลียร์แลนซ์ระหว่างสายกับแขน ของผมเกิดจากการเอียงมือและจุดที่มือสัมผัสคันไม่เกิน
เส้นชีวิตบนฝ่ามือ
หากบิดข้อศอกออกมากๆ(พยายามเลียนแบบโปรบางคน)จะเกิดอาการแปร๊บๆเหมือนไฟดูด
น่าจะตรงกับอาการที่ครูต้นบอกเกี่ยวกับเส้นประสาทขอรับ
ส่วนที่เด๊ด เทดดี้ ผมยิงคันเกาหลี(คันสั้นๆ) ไม่มีอะไรตีอะไรขอรับ :cool:
เอ... แต่กระทู้นี้ เรื่องแก๊ปชู้ทติ้งมิใช่รือ
Powered by vBulletin® Version 4.2.3 Copyright © 2025 vBulletin Solutions, Inc. All rights reserved.